บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไบโอเทคเล็งศึกษา "เห็ดพิษ" รวบรวมข้อมูลเห็ดห้ามกิน


ไบโอเทคเล็งศึกษา "เห็ดพิษ" รวบรวมข้อมูลเห็ดห้ามกิน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กรกฎาคม 2552 14:05 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล

ผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดราเผย  "ไบโอเทค" วางแผนจะร่วมกับ สธ. ศึกษาเห็ดพิษ รวบรวมข้อมูลตั้งแต่การบริโภคเห็ดของคนไทย ไปจนถึงการจำแนกชนิดเห็ดที่กินได้หรือไม่ได้ พร้อมศึกษาหาที่มาของพิษในเห็ด หวังได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และลดปัญหาผู้ป่วยจากเห็ดพิษ
       

       ในระหว่างการแถลงข่าวการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง "วิวัฒนาการของเห็ดรา นับจากยุคชาร์ลส ดาร์วิน" โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เมื่อวันที่ 1 ก.ค.52 ที่ผ่านมา ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล หัวหน้าห้องปฏิบัติการราวิทยา ของไบโอเทค เปิดเผยว่า ไบโอเทคมีแผนการจะร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดพิษ และให้ความรู้กับประชาชน เพื่อบรรเทาปัญหาผู้ป่วยและเสียชีวิตเนื่องจากการบริโภคเห็ดพิษ
       
       ดร.สายัณห์ เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ว่า จากข้อมูลทางสาธารณสุข มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากกินเห็ดพิษเป็นประจำทุกปีราว 7-8 คน ซึ่งชาวบ้านที่เก็บเห็ดจากในป่าอาจแยกแยะเห็ดพิษบางชนิดไม่ออก เพราะลักษณะที่คล้ายกับเห็ดที่เคยบริโภคกันอยู่แล้วมาก จึงอาจเก็บรวมมาโดยไม่รู้ว่าเป็นเห็ดพิษ เมื่อบริโภคเข้าไปก็เกิดอาการเจ็บป่วย และบางรายอาจเสียชีวิตได้
       
       "ที่ผ่านมาไบโอเทคได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการตรวจสอบชนิดของเห็ดพิษที่ผู้ป่วยบริโภคเข้าไป ซึ่งค่อนข้างยากลำบาก จึงมีโครงการจะร่วมมือกันศึกษาเกี่ยวกับเห็ดพิษ โดยจะศึกษาตั้งแต่วัฒนธรรมการบริโภคเห็ดของคนไทยในแต่ละท้องที่ แยกแยะชนิดเห็ดที่กินได้หรือไม่ได้"
       
       "ศึกษาพิษในเห็ดว่าเกิดจากเห็ดหรือเห็ดดูดซึมสารพิษเข้าไป รวมทั้งศึกษาอาการป่วยที่เกิดจากเห็ดพิษแต่ละชนิด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ช่วยบรรเทาปัญหาการบริโภคเห็ดพิษได้ และเป็นแนวทางศึกษาวิจัยต่อไป" ดร.สายัณห์ กล่าว
       
       ทั้งนี้ หลังจากได้ข้อมูลดังกล่าวแล้วจะมีการรวบรวมเป็นหนังสือเกี่ยวกับเห็ดพิษด้วย โดยดร.สายัณห์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวกับเห็ดจำนวนมาก โดยบอกว่าเห็ดชนิดใดกินได้บ้าง แต่ยังไม่พบว่ามีหนังสือที่เกี่ยวกับเห็ดพิษโดยเฉพาะ หรือหนังสือที่บอกว่าเห็ดชนิดไหนกินไม่ได้บ้าง ขณะที่ในต่างประเทศมีการศึกษาเรื่องเห็ดพิษกันค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นเห็ดคนละชนิดกับในประเทศไทย
       
       อย่างไรก็ดี ดร.สายัณห์จะไม่ใช่ผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้ด้วยตัวเอง แต่เป็นนักวิจัยด้านเห็ดราที่อยู่ในไบโอเทคซึ่งจะเริ่มดำเนินโครงการดังกล่าวเร็วๆ นี้
       
       นอกจากนี้ ดร.สายัณห์ บอกอีกว่า ห้องปฏิบัติการราวิทยายังเปิดให้บริการวิเคราะห์และจำแนกชนิดของเชื้อราที่สร้างความเสียหายในภาคอุตสาหกรรมเป็นปีแรก โดยเริ่มเปิดให้บริการเมื่อประมาณต้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งจะให้บริการพร้อมกับเก็บข้อมูลความเสียหายในภาคอุตสาหกรรมที่เกิดจากเชื้อรา เพื่อวิเคราะห์มูลค่าความเสียหายอย่างจริงจัง เพื่อหวังหาแนวทางแก้ปัญหาและลดมูลค่าที่ภาคอุตสาหกรรมต้องสูญเสียไปในส่วนนั้น.
http://www.manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000074564

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com




Make the most of what you can do on your PC and the Web, just the way you want. Windows Live

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน