บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

'เขื่อนพลังลม'


'เขื่อนพลังลม'


      จีนกำลังจะสร้างแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแห่งใหม่   ไม่ใช่เขื่อน  แต่เป็นกังหันลมที่ให้พลังงานได้เท่ากับเขื่อนสามผาอันโด่งดัง

     ทุ่งกังหันลมนี้จะถูกสร้างขึ้นที่มณฑลกั่นซูทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนภายในปี  ค.ศ.2020

     เฟิงเจียนเฉิน  รองผู้ว่าการมณฑลกั่นซู  บอกว่า  มณฑลนี้จะเพิ่มกำลังผลิตติดตั้งของพลังงานลมขึ้นเป็นกว่า  20  กิกะวัตต์  ในอีก  11  ปีข้างหน้า

     "กั่นซูจะสร้างเขื่อนสามผาบนบก"  เขาเอ่ยถึงเขื่อนที่สร้างด้วยเงิน  23,000  ล้านดอลลาร์กั้นแม่น้ำแยงซี

     เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้  มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  26  ตัว  มีกำลังผลิต  18.2  กิกะวัตต์  ซึ่งจะเพิ่มเป็น  22.4  กิกะวัตต์  หลังจากติดตั้งเครื่องปั่นไฟเพิ่มขึ้นอีก  6  ตัว

     จีนเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดในโลกควบคู่กับสหรัฐ   เวลานี้จีนใช่ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงาน  70%  ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศ

     รัฐบาลจีนบอกว่า  ต้องการค้นหาวิธีผลิตพลังงานที่สะอาดมากขึ้น  พลังงานลมนับเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่ง

     ทางการปักกิ่งตั้งเป้าที่จะผลิตพลังงานลม  100  กิกะวัตต์  ภายในปี  ค.ศ.2020  ซึ่งถ้าทำได้จริงก็จะถือเป็นตลาดเทคโนโลยีพลังงานลมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

     จางกว๋อเปา  ผู้อำนวยการการพลังงานแห่งชาติของจีน  บอกเมื่อปีที่แล้วว่า  รัฐบาลจะสร้าง  "เขื่อนสามผาพลังลม"  ขึ้นอีกหลายแห่งตามมณฑลต่างๆ  เช่น  มองโกเลียใน  ซินเจียง  กั่นซู  และเจียงซู





check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages

ภาพสีน้ำ ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน

คุณ ภาพสีน้ำ ได้เข้าเวบ www.oknation.net และส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน : อ่านเรื่อง คลิ๊กที่นี่ http://www.oknation.net/blog/smile-andaman/2009/06/30/entry-1 ....................................................................... ผู้ส่ง ภาพสีน้ำ

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อุตสาหกรรมชมวาฬ


วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6787 ข่าวสดรายวัน


อุตสาหกรรมชมวาฬ


รุ้งตัดแวง

สปาย-กลาส



ปัญหาการล่า "วาฬ" จนกระทั่งทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกมีจำนวนร่อยหรอลงทุกที จนถึงขั้นเฉียดๆ จะสูญพันธุ์นั้น มีผู้พยายามจะเสนอแนวทางต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาเอาไว้มากมาย

แต่ก็ยังไม่สำเร็จ

ประเด็นเรื่องว่าล่าตามประเพณีของชาวประมงญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกองเรือล่าวาฬที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น ยังเป็นเรื่องรองลงไป

เมื่อเทียบกับประเด็นรายได้จากการล่าและชำแหละขายวาฬ ที่ล่อใจเป็นอย่างยิ่ง

แต่วันนี้โอกาสที่จะจูงใจให้คณะล่าวาฬลดการล่าลงเริ่มมีความเป็นไปได้ขึ้นมาบ้างแล้ว

เมื่อคณะกรรมการวาฬนานาชาติ (ไอดับเบิลยูซี) รายงานว่า ปัจจุบันรายได้จากการนำนักท่องเที่ยวหรือผู้นิยมธรรมชาติไปชมวาฬกลางมหาสมุทร แซงหน้ารายได้จากการล่าวาฬไปแล้ว

โดยในปีที่ผ่านมารายได้จากการนำชมวาฬทั่วโลกรวมกันแล้วสูงถึง 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ

เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

เฉพาะปี 2008 มีคน 13 ล้านคนยอมจ่ายเงินลอยคอไปดูวาฬกลางมหาสมุทร

โดยในจำนวนนี้กลุ่มที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดก็คือประชากรชาวเอเชีย

แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนจำนวนมากในช่วงพริบตา

ยกตัวอย่างเช่นที่ไอซ์แลนด์ ซึ่งทำอุตสาหกรรมล่าวาฬเป็นล่ำเป็นสัน พอๆ กันกับญี่ปุ่นและนอร์เวย์

แม้ล่าสุดประกาศว่าจะเพิ่มจำนวนล่าวาฬครีบเพิ่มขึ้นเป็น 150 และล่าวาฬมิงค์อีก 100 ตัว แต่ก็จะขยายธุรกิจเรื่องการนำชมวาฬกลางมหาสมุทรมากขึ้น เพราะ

"วาฬที่ยังอยู่ มีค่ากว่าวาฬที่ตายแล้ว"

ทำให้กลุ่มต่อต้านการล่าวาฬรุกเข้าไปหาไอซ์แลนด์ทั้งเพิ่มชักชวน และเสนอประโยชน์มากขึ้น

ในขณะที่ยังตั้งแง่อยู่กับญี่ปุ่นและนอร์เวย์

เป็นข่าวดีไม่กี่เรื่องของนักนิยมธรรมชาติทั้งหลาย

หน้า 7

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TURObWIzSXdOVEk1TURZMU1nPT0=&sectionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBd09TMHdOaTB5T1E9PQ==
 

Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com




Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!

ดีเอสไอจับนายหน้านำโรฮิงยาขึ้นทะเบียนต่างด้าว

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 12:35 น.  ข่าวสดออนไลน์


ดีเอสไอจับนายหน้านำโรฮิงยาขึ้นทะเบียนต่างด้าว

    เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ต.อ.ณรัชต์  เศวตนันท์ รองอธิบดีดีเอสไอ ในฐานะโฆษกดีเอสไอ แถลงข่าวการจับกุมนายการีม หรือกาเอ็ม ยาเซ็ม ชาวโรฮิงยา อายุ 63 ปี นายหน้าซึ่งรับเป็นตัวกลางในการรับรองรายการทะเบียนประวัติบุคคล และจัดทำบัตรบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน (คนต่างด้าว) โดยมิชอบให้กับชาวโรฮิงยา โดยเจ้าหน้าที่จับกุมตัวนายการีมได้พร้อมของกลาง ขณะรับรองรายการทะเบียนประวัติบุคคล ไม่มีสถานะทางทะเบียนจำนวน 4 ราย    ที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร จึงได้แจ้งข้อหาจับกุมตัวฐานเป็นนายหน้าหรือตัวการร่วมกันจัดทำบัตรคนต่างด้าวให้กับชาวโรฮิงยาและคนต่างด้าวอื่นในเขตพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนำตัวไปฝากขังต่อศาลอาญาในวันนี้ (29 มิ.ย.)

     พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวอีกว่า สำหรับคดีนี้ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.)ร่วมกับดีเอสไอ พบว่า กลุ่มชาวโรฮิงยาหลบหนีเข้ามาประเทศไทยและตั้งตัวเป็นผู้มีอิทธิพลเป็นตัวกลางนายหน้านำชาวพม่า โรฮิงยาเข้ามาในประเทศไทยนานหลายปี  เป็นสาเหตุของกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์และความมั่นคงในประเทศไทย โดยมีการจัดบัตรประจำตัวบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนของคนต่างด้าวโดยไม่ถูกต้องร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบางหน่วยงาน  พฤติการณ์ของนายการีม ได้กระทำการเป็นตัวกลางรับทำบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนโดยมิชอบที่อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยเรียกรับเงินจำนวน 22,000 บาท จากผู้ขอทำบัตรเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจูงใจให้เจ้าพนักงานที่ว่าการอำเภอทำบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนโดยมิชอบ ซึ่งจากการสืบสวนสอบสวนพบว่า มีการทำบัตรบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนให้กับชาวโรฮิงยาและคนต่างด้าวอื่นตั้งแต่พ.ศ. 2550 –ปัจจุบัน รวม  7,089 ราย ในพื้นที่3 อำเภอ ได้แก่ อ.ทับสะแก อ.บางสะพานและอ.บางสะพานน้อย ซึ่งดีเอสไออยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานขยายผลนำผู้กระทำผิดอื่นๆมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
 
      "นายหน้านำคนต่างด้าวเข้ามาขึ้นทะเบียนจะเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อน  และจะมีพฤติกรรมเป็นผู้มีอิทธิพล รับจัดการตั้งแต่นำคนต่างด้าวเข้าเมืองจนถึงการประสานให้เจ้าหน้าที่รับรองการออกบัตรคนต่างด้าว โดยผู้ที่เป็นนายหน้ามักจะเปิดร้านค้าขายหรือธุรกิจเล็กๆ เพื่อบังหน้า เมื่อได้รับเงินจากนายจ้างที่ต้องการแรงงานต่างด้าวก็จะนำมาแบ่งให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการออกเอกสารทางราชการ "โฆษกดีเอสไอกล่าว


Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com  


 


See all the ways you can stay connected to friends and family

เกาะหนูที่ไร้หนู



Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com  


รายงานโดย :เรื่อง แบมบี bambi_eyes1870@yahoo.com / ภาพ คลังภาพโพสต์ทูเดย์:
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แรตไอส์แลนด์ (Rat Island) หรือเกาะหนู ในอะแลสกาตอนนี้ต้องเสียชื่อ เนื่องเพราะกลายเป็นเกาะที่ไร้หนูไปเสียนี่ หลังจาก 229 ปี

ที่เกิดเหตุการณ์เรือญี่ปุ่นขับชนหินโสโครกล่ม ทำให้สัตว์กัดแทะพวกนี้ทะลักลงมาจากเรือดังกล่าว ลงสู่เกาะที่ห่างออกไปจากเกาะอะเลอเชียน ไอส์แลนด์ เกาะใหญ่ของอะแลสกา

หนูได้ยึดครองเกาะแห่งนี้ (ที่เดิมไม่มีชื่อ) เอาไว้ตั้งแต่ปี 1780 หลังจากพวกมันกระโดดหนีตายออกจากเรือสินค้าญี่ปุ่น ทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ เว้นแต่บรรดานกท้องถิ่นต่างๆ ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของเกาะ ซึ่งภายหลังเริ่มได้รับผลกระทบจากเจ้าสัตว์กัดแทะนี้ โดยมีจำนวนลดลงอย่างน่าใจหาย

รัฐบาลอะแลสกาจึงตั้งโครงการกำจัดหนู 2.5 ล้านตัวทิ้ง เพราะมันเป็นสิ่งแปลกปลอมมาแต่แรก

ข้อมูลจากศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์ปลาของอเมริกา รายงานว่า หลังจากที่นำสารเคมีไปพ่นจากเฮลิคอปเตอร์เมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว ก็ไม่มีหนูหน้าไหนกลับมาที่เกาะเลย มีเพียงนกบางชนิดเท่านั้นที่บินกลับมา และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อไร้หนู

ประชากรนกที่กลับมาแล้ว ประกอบด้วย ห่านอะเลอเชียน นกทาร์มิแกน เหยี่ยวพีรีกริน และนกออยสเตอร์แคตเชอร์ดำ จากการสังเกตเห็นรังของพวกมัน

บรูซ วูดส์ โฆษกของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์ปลาของอเมริกา บอกว่า อาจจะเร็วไปที่จะบอกว่าแรตไอส์แลนด์ไม่มีหนูแล้ว "เราอาจจะต้องจับตาดูกันไปอีก 2 ปีเต็ม เพราะเราไม่รู้หรอกว่า ช่วงนี้มันอาจจะไปมุดรูซ่อนตัวอยู่ที่ไหนก็ได้ ถ้าชะล่าใจเดี๋ยวเจ้าหนูพวกนี้ก็อาจจะขยายประชากรมาคุมเกาะอีกก็ได้"
 
 
http://www.posttoday.com/lifestyle.php?id=54352
 
 



See all the ways you can stay connected to friends and family

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัมมนา:ทิศทางใหม่ในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม



Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com  

สัมมนา:ทิศทางใหม่ในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม

by : http://worldround.ngo.in.th
IP : (124.120.146.27) - เมื่อ : 23/06/2009 11:29 AM

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ชาวอาสาทุกท่าน

ในช่วงวันหยุดยาวๆ มีโปรแกรมไปไหนกันบ้างหรือยังคะ หลายๆ คนอาจจะวางโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับเพื่อนๆ ชาวอาสาที่ยังไม่มีโปรแกรมที่จะไปไหน อยากจะเชิญชวนคนที่มีความสนใจเดินทางไปร่วมกิจกรรมนี้ ในโครงการอาสาทำดีตามรอยเท้าพ่อ "สานฝันเพื่อน้อง" โครงการค่ายอาสาเพื่อการพัฒนาโรงเรียน ปรับปรุงห้องสมุดและเสริมสร้างกิจกรรมการเรียนรู้แด่น้องในถิ่นไกล ในวันที่ 4 - 7 กรกฎาคม 2552 ณ โรงเรียนบ้านเกาะช้าง ต.เกาะพยาม อ.เมืองระนอง จ.ระนอง ซึ่งเป็นโครงการของเปิ้ลเองค่ะเพื่อทำให้กับน้องๆ ที่นั่น (ดูรายละเอียดของกิจกรรมได้ตามเอกสารแนบ)

โครงการนี้จะเป็นการไปปรับปรุงห้องสมุดให้โรงเรียนบ้านเกาะช้าง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เป็นการเรียนร่วมกันของเด็กหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งมีสัญชาติและไม่มีสัญชาติ อันประกอบด้วยเด็กไทย เด็กพม่า เด็กมอญ และเด็กมอแกน เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็กๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่งเสริมการรักการอ่าน รู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อการได้ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง และยังเป็นการแบ่งปันความสุขจากคนกลุ่มหนึ่งสู่คนอีกกลุ่มหนึ่ง ตลอดจนเป็นการสร้างมิตรภาพความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาสาสมัครกับคนในชุมชนที่มาร่วมแรงร่วมใจกันปรับปรุงห้องสมุด

ค่าใช้จ่าย

เป็นค่าเดินทางจากระนองไปเกาะช้าง พร้อมประกันการเดินทาง ค่าอาหาร รับเพียง 30 คนเท่านั้น (เดินทางจากกรุงเทพฯ ไประนอง คืนวันที่ 3 ก.ค. เดินทางไปเองนะคะ) คนละ 1,500 บาท (ค่าใช้จ่ายนี้เป็นค่าใช้จ่ายโดยประมาณ)
(หากมีผู้สมทบกิจกรรมเพิ่มเติม เราจะแจ้งให้ทราบต่อไป)
ชื่อบัญชี นางสาวกาญจนา ลีลาเลิศโสภณ
เลขที่บัญชี 079-0-04930-8
บัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ
สาขา ย่อยสยามแม็คโคร สามเสน

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจอยากจะเข้าร่วมโครงการนี้สามารถสมัครได้จนถึง 26 มิ.ย. 52 (จะปิดก่อนกำหนดหากมีผู้สมัครเต็มแล้ว)

โดยแจ้งได้ที่

นภัทร์ มหาสิทธิลาภ (เปิ้ล) โทร. 089-125-1790
E-Mail : lovelove_apple009@hotmail.comกาญจนา ลีลาเลิศโสภณ (กานต์) โทร. 089-138-9383
E-Mail : nanorkan@hotmail.com***โปรดส่ง E-Mail หรือโทรแจ้งเพื่อ Confirm ยืนยันการสมัคร พร้อมแจ้งรายละเอียด สแกนสลิปหรือแจ้งวันที่พร้อมจำนวนที่โอนเงินมาด้วยนะคะ

เตรียมตัวและเตรียมใจ
ถามตัวเองก่อนว่าพร้อมลุยหรือไม่ ควรนำถุงนอนหรือผ้าห่มไปเอง มีหมอนให้ กินอยู่แบบชาวบ้าน นอนแบบเรียบง่าย อย่าลืมไฟฉาย เสื้อคลุมกันฝน (จำเป็นมาก) ยากันยุง (จำเป็นมาก) ผ้าถุง/ผ้าขาวม้า สำหรับอาบน้ำแบบชาวบ้าน
รองเท้าแตะ หมวก ยา (กรณีมีโรคประจำตัว)
**ขอความร่วมมืองดของมึนเมาและอบายมุขทุกชนิด

กำหนดการ

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2552

6.00 น. เจอกันที่บขส.ระนอง
6.30 น. แวะรับประทานอาหารเช้า
8.00 น. สักการะศาลหลักเมือง จ.ระนอง
9.00 น. เดินทางไปเกาะช้างที่ท่าเทียบเรือกรมศุลฯ
11.00 น. ถึงโรงเรียนบ้านเกาะช้าง

แบ่งบ้านให้เด็กเลือกครู

กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

ประชุมจัดเตรียมงาน แบ่งกลุ่มการทำงาน

15.00 น. เดินทางไปหมู่บ้านมอแกน
19.00 น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
21.00 น. พักผ่อนหลับนอน

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม 2552

8.00 น. เดินทางไปโรงเรียน
9.00 น. แบ่งกิจกรรมแยกตามกลุ่มต่างๆ (เช้า-บ่าย)

กลุ่มที่ 1 ทาสี + ตกแต่งห้องสมุด
กลุ่มที่ 2 แบ่งประเภท + จัดเรียงหนังสือ
กลุ่มที่ 3 ประกอบตู้
กลุ่มที่ 4 กิจกรรมสำหรับเด็ก

16.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย หรือไปเล่นน้ำทะเลที่อ่าวใหญ่
19.00 น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม 2552

8.00 น. แบ่งกิจกรรมแยกตามกลุ่มต่างๆ (เช้า-บ่าย) (ต่อ)
16.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย หรือไปเล่นน้ำทะเลที่อ่าวใหญ่
19.00 น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ พร้อมการแสดงของเด็กๆ ร่วมกับคุณครูอาสา

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม 2552

9.00 น. ส่งมอบห้องสมุดให้กับผอ.โรงเรียนบ้านเกาะช้าง
10.30 น. เดินทางออกจากโรงเรียนไปส่งเด็กๆ ที่หมู่บ้านมอแกน
12.00 น. ออกจากหมู่บ้านมอแกน
13.30 น. ถึงท่าเทียบเรือกรมศุลฯ
13.45 น. รับประทานอาหารกลางวันที่ร้านดู๋ดี๋
14.30 น. ไปบ่อน้ำพุร้อนรักษะวารินทร์
18.30 น. ส่งทุกคนขึ้นรถที่บขส.ระนอง

หมายเหตุ กิจกรรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


**หากเพื่อนๆ อาสาท่านใดสนใจสามารถมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการนี้ได้ ทั้งลงแรงและทุนในการปรับปรุงห้องสมุด เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นแรงผลักดันให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วง ให้เด็กๆ ได้มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ได้เติบโตเป็นอนาคตของชาติที่ดีต่อไป สามารถนำของมาบริจาคและใช้ทำกิจกรรมเพื่อมอบให้โรงเรียนบ้านเกาะช้างได้ เช่น อุปกรณ์การเรียน กีฬา สื่อการเรียนการสอน ซีดีสารคดีความรู้ต่างๆ ยารักษาโรค หนังสือดีๆ ขั้นวางหรือตู้ใส่หนังสือ เป็นต้น

แม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ จุดหนึ่งในสังคมแต่เราก้อสามารถมาร่วมกันสรร ร่วมกันสร้าง คนละไม้คนละมือ แบ่งปันสิ่งดีดีแก่น้องๆ ในถิ่นที่อยู่ห่างไกลได้ ร่วมกันต่อขยายจากจุดเล็กๆ ให้เป็นจุดใหญ่ ให้สังคมนี้เป็นสังคมที่น่าอยู่และเป็นสังคมที่รู้จัก "ให้" กันเถอะค่ะ

ครูเปิ้ล

ลายละเอียดเพิ่มเติม
http://sorsoarsar.multiply.com
http://arsartamdee.blogspot.com



What can you do with the new Windows Live? Find out

ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ (8)

 
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11432 มติชนรายวัน


ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ (8)


คอลัมน์ ประสานักดูนก

โดย น.สพ.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว



 

ภูมิประเทศ หรือสถานที่ที่สื่อถึงแหล่งอาศัยทั้งเพื่อหากินหรือทำรังวางไข่ สื่อนัยยะอย่างกว้างๆ ว่านกแต่ละชนิด แต่ละสกุลต่างกันอย่างไรในเชิงเปรียบเทียบ ช่วยให้การเริ่มดูนก ที่อาจจะยังไม่คุ้นชื่อนกนานาชนิดกว่า 998 ชนิดทั่วไทย คุ้นเคยและง่ายต่อการจดจำ

อีกทั้งยังช่วยจัดนกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้มองเห็นภาพใหญ่ หรือหากในสกุลเดียวกัน เพื่อเน้นย้ำความแตกต่างของแหล่งอาศัย เช่น นกกระทาทุ่ง และนกกระทาดง ล้วนหากินบนพื้นดิน ไม่ต่างจากไก่แม้แต่น้อย แต่นกกระทาทุ่งเลือกอาศัยอยู่ในพื้นที่โล่ง เช่น ทุ่งหญ้า หรือป่าโปร่ง ส่วนนกกระทาดงอีกหลายชนิด เลือกใช้ชีวิตในป่าดงรกเรื้อ เช่น ป่าดิบชื้นบนดอยสูงของภาคเหนือและภาคตะวันตก หรือป่าดิบที่ราบต่ำในภาคใต้

คำไทยสั้นๆ ห้วนๆ แต่กระชับชวนให้จับใจความได้ง่าย เช่น ทุ่ง ดง พง โคก และสวน ล้วนถูกใช้สื่อนัยยะของชื่อนก เน้นย้ำความแตกต่างของแหล่งอาศัยได้ชัดเจน

"ทุ่ง" หมายถึง "ทุ่งนา ทุ่งหญ้ากินบริเวณกว้างขวาง ทัศนียภาพอันชินตาของคนเราประสาชาวบ้าน" เช่น นกตะขาบทุ่ง นกเด้าดินทุ่ง เหยี่ยวทุ่ง

ดง คือ ป่าทึบ จะเป็นป่าดิบบนภูสูง หรือที่ราบต่ำก็แล้วแต่ เช่น นกตะขาบดง นกกางเขนดง (ย่อมไม่ใช่นกกางเขนบ้าน)

"พง" สื่อ "ลักษณะพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของพืชพรรณที่แยกต่างจากทุ่ง" เช่น นกพง นกแอ่นพง (หรือ "นกแอ่นพุง" ชื่อเล่นในแวดวงดูนก พบนกทีไร จะเกาะสายไฟแอ่นอกโชว์พุง)

"โคก" เป็น "พื้นที่สูงที่น้ำท่วมไม่ถึงหรือที่ดอน แต่ยังไม่สูงเทียมฟ้าแบบภูเขาหรือดอย" เช่น นกตบยุงป่าโคก

"สวน" หมายรวมถึง "เรือก สวน ไร่แต่ไม่รวมทุ่งนา" หากพบเห็นอยู่ใกล้กันในชุมชนที่มีคนอยู่ เช่น นกปรอดสวน สัญลักษณ์ของนกบ้าน นกสวน หนึ่งในนกสามถิ่น "นกสวน นกท้องนาและนกป่าดง" ของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุล

"แต่ละคำสื่อความหมาย บ่งบอกลักษณะภูมิประเทศ สะท้อนวิถีเดิมของชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทย และเมื่อเอื้อนเอ่ยชื่อแต่ละชื่อแล้วชวนให้รู้สึกคุ้นเคยความเป็นท้องถิ่นหรือชุมชนในแต่ละภูมิภาค"

"ชื่อนกบางชื่อบ่งบอกเชิงเปรียบเทียบของพื้นที่การแพร่กระจายพันธุ์ในระดับภาค" ว่านกแต่ละชนิดพบเฉพาะบางภาคเท่านั้น ไม่พบทั่วประเทศ เช่น นกทึดทือพันธุ์เหนือ พบในภาคเหนือ ตะวันตกและอีสาน แต่นกทึดทือพันธุ์มลายูพบในภาคใต้และภาคตะวันออก

แม้ชื่อลักษณะนี้จะไม่ถูกต้องตรงข้อเท็จจริงข้างต้นอย่างเต็มเหยียด หากสื่อความอย่างกว้างๆ และก็ไม่ผิดแบบสุดลิ่มทิ่มประตู นอกจากคำว่า ""พันธุ์มลายู"" อันหมายถึง "คาบสมุทรมลายู กอปรด้วยภาคใต้และประเทศมาเลเซีย" นั้น คำอื่นหรือคำพ้อง (synonym) ที่สื่อความเหมือนกัน สำหรับภาคใต้ ที่พบได้ในชื่อนก คือ "ปักษ์ใต้" เช่น นกปากกบปักษ์ใต้

ในกลุ่มนกชายเลน หลายชนิดใช้แหล่งอาศัยเด่นๆ ที่แผกต่างระหว่างชนิดช่วยสื่อความในชื่อนกบ่อยๆ แม้ว่าในความเป็นจริง นกชนิดนั้นไม่ได้ยึดติดอยู่กับถิ่นอาศัยตามชื่อแบบโงหัวไม่ขึ้น หากอย่างที่แจงไว้แล้วว่าเป็นการขมวดความให้เป็นภาพกว้างๆ เช่น นกชายเลนบึง หรือนกชายเลนน้ำจืด มักพบในทุ่งนาหรือแหล่งน้ำจืด มักไม่พบหากินตามแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำทะเล นกทะเลขาเขียวหรือนกทะเลขาแดง มักพบตามชายทะเล หาดเลนหรือหาดโคลนปากแม่น้ำ

และใช่ว่านกชายเลนทุกชนิดจะผูกพันกับหาดเลนตามรอยต่อของชายทะเล จนกลายเป็นชื่อนกกลุ่มนี้ว่า "ชายเลน" นอกเหนือจากแหล่งน้ำจืด เช่น ทุ่งนา หนองหรือบึงแล้ว อาจพบนกชายเลนบางชนิดในป่าดิบ หรือพงรก เช่น นกปากซ่อมดงบนดินแฉะในป่าดิบชื้น หรือนกปากซ่อมพงที่หลบลี้กลางพงหรือทุ่งหญ้า

นกยางควาย ช่างฉลาดเรียนจากแวดล้อมรอบตัว รู้ว่ายามย่ำเยาะตามเจ้าทุยลุยกินหญ้า จนเหยียบย่ำบนกองฟาง จะมีแมลงเล็กๆ บินว่อนหรือสัตว์ตัวน้อยวิ่งเพ่นพ่านจากการเหยียบหรือแรงสะเทือนจากรอยตีนของเจ้าเขาโง้งยาว หาเหยื่อที่แตกตื่นหนีตายเพราะเกรงควายเหยียบได้ไม่ยาก

"ดังนั้น ถ้านึกถึงนกยางควาย มโนภาพของท้องทุ่งนาย่อมผุดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ มิใช่ท้องทะเล แหล่งอาศัยของนกยางทะเล ญาติสนิทของเจ้ายางควาย ที่ไม่หากินบนแผ่นดินแต่ใช้โขดหินชายฝั่งเป็นแหล่งอาหาร"

หมายเหตุ : ภาพนกในตอนที่แล้ว คือ นกชายเลนน้ำจืด ไม่ใช่นกยางกรอกพันธุ์ชวา

หน้า 21

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กรมจัดหางาน เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา 1 ก.ค.นี้

 
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552 13:01
กรมจัดหางาน เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา 1 ก.ค.นี้

นายพิชัย เอกพิทักษ์ดำรง อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 เห็นชอบให้มีการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา เป็นครั้งสุดท้ายเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานระดับล่าง จำนวนกว่า 400,000 คน อยู่ในราชอาณาจักรไทยเพื่อรอการส่งกลับไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจะได้เร่งรัดให้มีการพิสูจน์สัญชาติเพื่อปรับเปลี่ยนสถานะให้เป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในตำแหน่งกรรมกรและผู้รับใช้ในบ้านครั้งนี้ ในกิจการประมง กิจการเกษตรและปศุสัตว์ กิจการก่อสร้าง  กิจการต่อเนื่องประมงทะเล ผู้รับใช้ในบ้าน กิจการอื่นในตำแหน่งกรรมกรจำนวน 19 กิจการ

สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียน มีดังนี้ 1. รับรายงานตัวที่กรมการปกครอง ตั้งแต่วันที่ 1-30 ก.ค. 52 (30 วัน) พร้อมชำระค่าถ่ายรูปทำบัตร 60 บาท รับรองสำเนารายการทะเบียนประวัติ (ท.ร.38/1) จำนวน 20 บาท รวม 80 บาท ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเขตฯ 2.ตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพ ณ สถานพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-14 ส.ค.52 (45 วัน) พร้อมชำระค่าตรวจสุขภาพ 600 บาท ค่าประกันสุขภาพ จำนวน 1,300 บาท รวม 1,900 บาท และ  3. รับแบบคำขอใบอนุญาตทำงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. - 29 ส.ค.52 (60 วัน) พร้อมชำระค่ายื่นคำขอ 100 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานไม่เกิน 1 ปี จำนวน 1,800 บาท รวม 1,900 บาท กรุงเทพฯ ณ สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 ต่างจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัดที่เป็นท้องที่การทำงาน

กรมการจัดหางาน จึงประชาสัมพันธ์การเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา ให้กับนายจ้าง /สถานประกอบการได้ทราบ หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด กรุงเทพฯ สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โทร 0-2354-1767-8 สายด่วน 1694

http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=54369

มหัศจรรย์ 'สามพันโบก' แห่งบ้านสองคอน



Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com


มหัศจรรย์ 'สามพันโบก' แห่งบ้านสองคอน

วันเสาร์ ที่ 27 มิถุนายน 2552 เวลา 0:00 น

Bookmark and Share

ถึงชะตากรรมเมืองไทยในยามนี้จะเปรียบเสมือนถูกผูกอยู่ปลายเส้นด้าย อันเนื่องมาจากแรงฉุดของเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ และถึงบ้านเราจะไม่มีพลังงานใต้พิภพเพื่อขุดเจาะขึ้น  มาเป็นเชื้อเพลิงเหมือนประเทศเศรษฐีบ่อน้ำมัน
   
แต่ก็น่าภูมิใจที่เรายังมี ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งเหนือ พื้นพิภพและใต้ท้องน้ำอยู่ทั่วทุกภูมิภาคสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบ เพื่อผ่านระบบการพัฒนาขึ้นเป็นสินค้าได้ แล้วก็เรียกมันว่า "สินค้าทางการท่องเที่ยว"
   
สินค้าดังกล่าวสามารถขายให้กับคนไทย แล้วก็ส่งไปขายให้กับคนต่างชาติแดนไกล โดยจุดเด่นของมันคือผู้บริโภคทุกคนจะต้องเดินทางไปยังแหล่งอันเป็นที่ตั้ง จึงจะมีสิทธิบริโภค นี่คือข้อแตกต่างจากสินค้าชนิดอื่น ๆ
   
เมืองไทยเรามีการนำสินค้าที่ว่านี้ออกมาขายกันนานกว่า 48 ปี จนจะย่างเข้าสู่ทศวรรษที่ 5 ในปีหน้านี้อยู่แล้ว แต่น่าเสียดาย... สินค้าเหล่านี้แม้จะยังคงเสน่ห์ ทว่าวันนี้เพื่อนร่วมโลกจำนวนไม่น้อยต่างกำลังหมางเมิน เพราะไม่มั่นใจในแหล่งบริโภคว่าจะมีความปลอดภัย จากการกระทำของกลุ่มคนบางกลุ่มที่แย่งชิงเวทีแห่งอำนาจ จนกระทบผู้เป็นเจ้าของสินค้าตัวจริงทั้งประเทศ
   
หนทางเดียวที่เชื่อว่าพอจะขายถ่ายเทสินค้าเหล่านี้เข้าสู่วงจรธุรกิจยามย่ำแย่ได้ ก็คือ การชักชวนคนไทยเรากันเองนี่แหละ ให้หันมาบริโภคเพื่อสร้างบรรยากาศด้านการท่องเที่ยวขึ้นมาทดแทนผู้บริโภคจากต่างประเทศ ที่จำต้องหดหายไปตามวิกฤติการณ์
   
ปัจจุบันหากเราหยิบปากกาจิ้มลงไปบนแผนที่แสดงแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ใน พ.ศ.นี้ ก็พอจะนับเป็นตัวเลขอย่างผิวเผินได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 แห่ง ทั้งที่เป็นธรรมชาติ ประวัติศาสตร์โบราณสถาน กระทั่งถึงแหล่งซึ่งมนุษย์สร้างมันขึ้นมา
   
กระนั้นก็ตามที...นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะหยุดค้นหา   แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ๆ ขึ้นมาเป็นสินค้าเสริมจากที่เคยเสนอขายกันมานาน ตัวอย่างที่เห็น ล่าสุดในช่วงขณะท้องฟ้าเหนือแผ่นดินไทยกำลังหมองหม่น แต่ผู้คนในท้องถิ่นกลับไม่ย่อท้อต่อการนำเอาทรัพยากรจากถิ่นเกิดออกมาเสนอขาย แล้วก็สามารถสร้างความฮือฮากันได้ในขณะนี้
   
แหล่งที่ว่านี้ก็คือ ดินแดนแห่ง "สามพันโบก" ในเขตบ้านสองคอน อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราช ธานี ซึ่งถือ เป็นปรากฏการณ์ปกติทางธรรมชาติ อันเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกลงเมื่อหลายหมื่นหลายพันปีที่ผ่านมาจนทำให้พื้นผิวบางส่วนกลายเป็นที่ราบ ขณะบางส่วนสูงต่ำเป็นภูผาหิน
   
สามพันโบกก็เช่นกัน ที่เกิดขึ้นเพราะการยุบตัวของเปลือกโลกลงมาจนเหลือแต่แก่งหิน และต่อมาเมื่อมีน้ำท่วมถึงกระแสน้ำที่พัดกระทบแก่งวันแล้ววันเล่า จึงมีอิทธิพลต่อการกัดกร่อนหินแต่ละแก่ง แต่ละก้อนให้เกิดลักษณะโค้งเว้า โดยไม่จำเป็นต้องมีประติมากรลงไปออกแบบตกแต่งแต่อย่างใด
   
ครั้นเมื่อถึงฤดูแล้งแห่งปี กระแสแห่งสายน้ำที่เรียกกันว่า   "แม่น้ำโขง" ได้เวลาลดระดับลงห่างฝั่ง ทำให้บรรดาแก่งหินที่ว่านั้นกลับกลายเป็นภาพอีกภาพหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่บนทางเดิน ของแม่น้ำโขงในช่วง 4 เดือน  ระหว่างเมษายนถึงกรกฎาคม
   
ปรากฏการณ์ที่ผู้คนในท้องถิ่นได้พบเห็นกลางสายน้ำในยามแห้งเหือดเช่นนี้ ทำให้พวกเขาเชื่อกันว่าบริเวณพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 2 ตารางกิโลเมตร มีโบกหินประดุจแอ่งน้ำอยู่ตรงนั้นประมาณสามพันโบก ที่สุดพวกเขาจึงพร้อมใจกันเรียกแก่งที่ธรรมชาติมอบให้ตรงนี้ว่า "สามพันโบก"
    อันที่จริงสถานที่แห่งนี้เดิมทีถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น ที่คนจากพื้นที่ใกล้เคียงพากันเดินทางเข้าไปสัมผัสกับความมหัศจรรย์ของมันกันมานาน แต่พอการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) งัดเอากลยุทธ์กระตุ้น    คนไทยเที่ยวในประเทศออกมาใช้ ด้วยการจัดทำสปอตโทรทัศน์ชุด "เบิร์ดชวนเที่ยว" โดยใช้ซูเปอร์สตาร์ ธงไชย แมคอินไตย์ เป็นพรีเซ็นเตอร์ ออกเผยแพร่ทั่วประเทศมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
   
และหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่ถูกบรรจุอยู่ในภาพยนตร์โฆษณา ชุดดังกล่าว ก็คือ "สามพันโบก" ซึ่งพี่เบิร์ดกำลังสนุกสนานในการถ่ายรูปอยู่กับเด็ก ๆ ตรงนั้น จึงบันดาลให้แก่งหินสามพันโบก กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกภูมิภาคต่างถามถึง แล้วก็พากันเดินทางไป     สู่จุดหมายแห่งนั้นทันที!
   
การเดินทางไปแก่งหินมหัศจรรย์สามพันโบกออกจะเป็นเรื่องง่าย เพราะสถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางท่องเที่ยวหลักของ จ.อุบลราชธานี อันได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2112 ซึ่งเชื่อมระหว่างด่านชายแดนไทย-ลาวที่ช่องเม็ก โดย มีแหล่ง  ท่องเที่ยวเครือข่ายอยู่รายทางมากมาย อาทิ แม่น้ำสองสี ที่ อ.โขงเจียม อุทยานแห่งชาติผาแต้ม น้ำตกและทุ่งดอกไม้ป่าสร้อยสวรรค์แห่งป่าดงนาทาม น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกลงรู) และเถาวัลย์ยักษ์ ที่อยู่คู่กันกับ น้ำตกทุ่งนาเมือง
   
ส่วน แก่งหินสามพันโบกจะอยู่ตรงระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร จากตัว อ.โขงเจียมบนเส้นทางสายดังกล่าว จนเข้าเขตบ้านสองคอน อ.โพธิ์ไทร ให้เลี้ยวขวาเข้าไปตามทางดินลูกรังอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงยังริมฝั่งแม่น้ำโขง ตรง "ไร่เขียวสด" ซึ่งมีทั้งมะขามหวาน และลำไยพันธุ์ "อีดอ" กำลังออกดอกออกผลอยู่ยามนี้
   
ไร่ที่ว่านี้จะเป็นจุดชุมนุมนักท่องเที่ยวมากหน้าหลายตาในวันที่ แม่น้ำโขงแห้งขอดจนเห็นแก่ง โดยเฉพาะวันหยุดเทศกาลต่อเนื่องกันหลายวันนั้น จะมีนักท่องเที่ยวตามกระแส "เบิร์ดชวนเที่ยว" เดินทางเข้าไปไม่ต่ำกว่า           วันละ 2,000 คน กับจำนวนรถขนาดเล็กใหญ่วนเวียนเข้า-ออกอีกวันละไม่ต่ำกว่า 100 คัน
   
ตรงนี้แหละที่เท่ากับเร่งรัดให้ทั้งคนที่เป็นเจ้าของไร่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ต้องรีบเข้าไปจัดระเบียบพื้นที่ให้เหมาะกับการส่งเสริมขึ้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติแบบยั่งยืนต่อไปในอนาคต
   
ด้วยสภาพปัจจุบันกระแสของการเดินทางเข้าไปค่อนข้าง จะฉับพลันทันใด บริเวณภายในไร่เขียวสดซึ่งเป็นที่ดินส่วนบุคคล ก็เริ่มเปิดโอกาสให้ชาวบ้านนำสินค้าตลอดจนอาหารและเครื่องดื่มเข้าไปจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว บางรายลงทุนถึงขนาดเปิดร้านอาหาร ตั้งโต๊ะ เก้าอี้ลงมือปิ้งย่างกันตรงนั้น
   
ในส่วนที่เป็นลานกว้างของแก่งหินแต่ละโบก จะเห็นผู้คนลงไปเลือกใช้เป็นสถานที่พักผ่อนกันเต็มไปหมด และตรงส่วนโค้งเว้าของโบกหินที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน จะถูกจำลองเป็นอ่างน้ำธรรมชาติให้ใครต่อใครลงไปว่ายเล่น มีเหมือนกันที่สู้อุตส่าห์หาเอาเรือหงส์ซึ่งให้บริการกันตามสวนสนุก มาบริการเช่าขี่กันถึงตรงนี้?
   
เฉพาะตรงส่วนทางเดินของสายน้ำโขง เห็นมีเรือยนต์รับจ้างของชาวบ้านแถบนั้นประมาณ 15 ลำ มาคอยบริการนำเที่ยวตามเส้นทางแม่น้ำโขง ขึ้นไปสู่ตอนเหนือบริเวณ "หาดสลึง" ซึ่งใช้เวลาในการเดินทางไปและกลับประมาณ 1 ชั่วโมง คิดค่าเช่าเที่ยวละ 1,000 บาท โดยสามารถนั่งได้เที่ยวละ 10 คน
   
สามพันโบกนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่จะรับคนได้แค่ 4 เดือนต่อปี โดยบรรดาแก่งหินทั้งสามพันโบก จะจมหายไปกับกระแสน้ำโขงทันทีที่ย่างเข้าสู่ ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี
   
หลังจากนั้นคงต้องรอให้ถึงแล้งหน้า...จึงจะได้เห็นแก่งหินครบทั้งสามพันโบกอีกครั้งหนึ่ง!!.

บริสุทธิ์  ประสพทรัพย์

 
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=486&contentID=5316


See all the ways you can stay connected to friends and family

ตะลึง!"ฟ้าผ่า"เดือนละ 1 แสนครั้ง "ร่มเหล็กแหลม"เป็นตัวล่อชั้นดี



Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
 
 
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11431 มติชนรายวัน


ตะลึง!"ฟ้าผ่า"เดือนละ 1 แสนครั้ง "ร่มเหล็กแหลม"เป็นตัวล่อชั้นดี




เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานเสวนาเรื่อง "ฟ้าผ่า ข้อเท็จจริงที่ควรรู้" โดยมี ดร.คมสัน เพ็ชรรักษ์ หัวหน้าห้องจำลองฟ้าผ่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสรรเสริญ ทรงเผ่า วิศวกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นายกิตติ เพ็ชรสันทัด หัวหน้ากองเทคโนโลยีสายส่งและการบิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ฯลฯ เข้าร่วมเสวนา

โดย ดร.คมสันกล่าวว่า ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้เมฆฝนฟ้าคะนอง และก่ออันตรายต่อมนุษย์ได้ สำหรับวัตถุที่เป็นตัวทำให้ฟ้าผ่าใส่มนุษย์มากที่สุด คือ วัตถุที่อยู่สูงเหนือจากศีรษะมนุษย์ขึ้นไป โดยเฉพาะสิ่งของที่มีปลายแหลม อาทิ ร่มที่ด้านปลายบนสุดเป็นเหล็กแหลม เป็นต้น ส่วนกรณีโทรศัพท์มือถือ ไม่นับว่าเป็นสื่อล่อฟ้า เพราะโทรศัพท์เวลาใช้งานจะอยู่ต่ำกว่าตัวคน ที่สำคัญพลังงานของสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่สามารถทำให้อากาศแตกตัวเป็นตัวนำได้ ดังนั้น โทรศัพท์มือถือจึงไม่ใช่สื่อล่อฟ้าผ่า แต่หากใช้ช่วงฝนฟ้าคะนอง ก็เสี่ยงเพราะน้ำเข้าทำให้แบตเตอรี่เกิดการลัดวงจร

นายสรรเสริญกล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจและควรพึงระวังในขณะนี้คือ ประชาชนมีการติดตั้งจานดาวเทียมจำนวนมากโดยไม่มีการต่อสายดิน เมื่อเกิดฟ้าผ่าลงเสาไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียง จะทำให้เกิดสนามไฟฟ้าออกมาด้วย ซึ่งจานดาวเทียมหรือเสาอากาศทีวีที่อยู่ใกล้จะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามา และจะวิ่งเข้าสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต่อกับปลั๊กไฟส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเกิดความเสียหาย

นายกิตติ กล่าวว่า ข้อมูลช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีข้อมูลบ่งชี้ว่าสภาพการเกิดฟ้าผ่าค่อนข้างสูงขึ้นและรุนแรงมากขึ้น เครื่องเซ็นเซอร์จากระบบการตรวจวัดค่าการเกิดฟ้าผ่าและพายุฝนฟ้าคะนอง กฟผ.ตรวจจับจำนวนที่ฟ้าผ่าลงมาในประเทศไทยมีเฉลี่ย 100,000 ครั้งต่อเดือน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพอากาศแปรปรวนกลางวันร้อนสูง บวกกับช่วงกลางคืนที่ฝนตกหนักฟ้าคะนองทำให้กระแสฟ้าผ่ามีค่าความรุนแรงค่อนข้างสูงขึ้น และจะสูงขึ้นมากในช่วงมรสุม ช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูฝนที่มีลมมรสุมพัดผ่าน เป็นมรสุมในพื้นทวีปพาดผ่านประเทศไทย ทั้งนี้ พื้นที่เสี่ยงฟ้าผ่าคือพื้นที่สูงตามป่าเขาที่ฝนตกชุกและอยู่ระหว่าง 2 ฝั่งมหาสมุทรที่มีความชื้นของน้ำทะเลเป็นตัวนำให้เกิดฟ้าผ่า จ.จันทบุรี จ.ตราด ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ส่วนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จะพบเห็นฟ้าผ่าลงบริเวณต้นไม้สูง อาคารสูง และหอคอยสูง ซึ่งจุดเหล่านี้ถูกป้องกันโดยระบบล่อฟ้าไว้แล้วไม่ต้องกังวล

หน้า 5

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lif01270652&sectionid=0132&day=2009-06-27



check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน เที่ยวไทยในมุมมหัศจรรย์

รายงานโดย :ร้อยตะวันพันดาว:
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เพราะการเดินทางคือศาสตร์และศิลป์คุณว่าไหม?...เดินทางเพื่อสร้างการเรียนรู้ เดินทางเพื่อสั่งสมประสบการณ์ เดินทางเพื่อตามหาบางสิ่งที่ขาดหาย ฯลฯ

นางพญาเสือโคร่ง จ.เชียงใหม่
ร้อยแปดพันเก้าประการที่ปลุกชีพจรตรงฝ่าเท้าของคุณให้เต้นระรัวพร้อมพาคุณออกเดินทาง ทุกสิ่งอย่างล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของชีวิตมนุษย์

การเดินทางที่ปราศจากความรู้ก็คงไม่ต่างอะไรจากคนตาบอดเดินคลำทางสะเปะสะปะ...หลายคนเดินทางเพียงเพื่อไปให้ถึง ไปแล้วสิ่งที่ได้รับกลับมาคือความว่างเปล่า แต่ทำไมอีกหลายคนเดินทางไปถึงแล้ว พวกเขาได้ความประทับใจกลับมาเต็มหัวใจ

ฝรั่งยังมีคำคมๆ เลยว่า Put the man to the right job...ถ้าพูดในภาษาของคนเดินทางก็น่าจะเป็น Put your trip to the right time เดินทางให้ “ถูกที่ ถูกเวลา” แล้วคุณจะพบความมหัศจรรย์ที่อาจไม่เคยสัมผัสมาก่อน

ที่เกริ่นมาเสียยืดยาวเพื่อจะเล่าให้ฟังว่าเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาหมาดๆ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เปิดตัวแคมเปญกระตุ้นไทยให้เที่ยวไทย โดยหยิบเอาสถานที่ท่องเที่ยว 40 แห่งในเมืองไทยมานำเสนอผ่านมุมมองที่น่าสนใจภายใต้ชื่อว่า “12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน” มหัศจรรย์เมืองไทยที่ต้องไปสัมผัส งานนี้มีวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และจุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการด้านการสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมกับผู้สนับสนุนหลัก อาทิ ธนาคารไทยพาณิชย์ เบียร์สิงห์ น้ำมันบางจาก มาร่วมกันไขรหัสของ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน ให้สื่อมวลชนและแขกเหรื่อได้ร้องอ๋อ และเชื่อว่าแคมเปญนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่า 5%

แหลมพรหมเทพ จ.ภูเก็ต
12 เดือน...คือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ททท.คัดมาแล้วแบบเน้นๆ ว่าสวยที่สุด น่าดูที่สุด ครั้งหนึ่งในชีวิตใครไม่ไปสัมผัสอาจจะถือว่าเสียชาติเกิดกันไปเลย และการเดินทางไปชื่นชมสถานที่เหล่านี้ ควรจะรู้ด้วยว่าเวลาใด ตำแหน่งใด แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้จะเผยความงดงามออกมาให้คุณเป็นปลื้ม โดยททท.ได้คัดแหล่งท่องเที่ยวเฉพาะในแต่ละเดือนตามปีปฏิทินเดือนละ 2 แห่ง ที่ให้คุณได้เลือกเดินทางไปชมความมหัศจรรย์นั้นได้ตลอดปี

7 ดาว...คือความงดงามในยามค่ำคืนที่น่าสนใจที่อุบัติขึ้นในเมืองไทย

9 ตะวัน...คือสุดยอดแห่งปรากฏการณ์แห่งดวงอาทิตย์ในยามที่เผยโฉมเหนือผืนฟ้า ความงดงามนี้อาจเกิดขึ้นปีละครั้ง พลาดแล้วต้องอดใจรอไปถึงปีหน้า

“บางคนเคยไปแล้วแต่ไม่เคยเห็นมุมนี้ แคมเปญนี้เราจะนำเสนอความมหัศจรรย์ของเมืองไทยให้นักท่องเที่ยวได้เห็น” วีระศักดิ์ กล่าวในงานวันนั้น

แคมเปญ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน เป็นหนึ่งในแคมเปญอีกมากมายภายใต้ร่มเงาใบใหญ่ของโปรเจกต์ “เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก” ซึ่งสถิติปีที่ผ่านมาระบุว่า คนไทยเที่ยวเมืองไทยสร้างรายได้ 3.85 แสนล้านบาทต่อปี และปีนี้ตั้งเป้าว่าจะสูงถึง 4 แสนล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว

ม.หินขาว จ.ชัยภูมิ
สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจมุมมหัศจรรย์เมืองไทยแบบถูกที่ถูกเวลาและอยากไปสัมผัส สามารถขอหนังสือคู่มือท่องเที่ยวของ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน ได้ฟรี!! ซึ่งเขาพิมพ์มาเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้อ่านเป็นความรู้ก่อนเดินทาง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท. Call Center 1672 หรือ www.tourismthailand.org
แคมเปญนี้ไม่เพียงจะทำให้คุณเพิ่มดีกรีการเป็นนักเดินทางด้วยความรู้...รู้ว่าควรไปตอนไหน ชมตอนไหน ดูเมื่อไหร่ อย่างไรแล้ว บางทริปโดยเฉพาะทริปที่ทำให้คุณได้ชื่นชมดวงตะวันทั้งยามเช้าและยามเย็น ยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย เพราะตามหลักอายุรเวท ระบุว่า การตื่นนอนแต่เช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจะดีต่อสุขภาพ และคนเราก็ควรตื่นยามตอนอาทิตย์ขึ้นแล้วมองดวงอาทิตย์ที่กำลังโผล่พ้นขอบฟ้าขึ้นมานั้นวันละ 5 นาที รวมถึงการมองดวงอาทิตย์ตกทุกวันยังจะช่วยให้สายตาดีอีกด้วย

เที่ยวไทย ได้ช่วยชาติ แถมยังได้สุขภาพดี...กำไรสองต่ออย่างนี้ รีบเที่ยวไทยกันเถอะค่ะ ได้โปรด!!!

 

http://www.posttoday.com/travel.php?id=50956

เปิดฟ้า อุตรดิตถ์

รายงานโดย :วัชราวุธ ลีภาคภูมิพานิชย์:
วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ผืนน้ำทอประกายเป็นสีทองอร่าม ยามเมื่ออาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า

ตัดสลับกับเขาที่วางตัวเป็นแนวยาวสุดลูกหูลูกตา ภาพของความประทับใจตลอดเส้นทางการล่องเรือชมเขื่อนสิริกิติ์ยังคงดังเป็นระยะจากผู้ร่วมเดินทางกว่า 100 ชีวิต ที่มาร่วมงานเปิดฟ้าการท่องเที่ยว จ.อุตรดิตถ์ ในครั้งนี้

เขื่อนสิริกิติ์ ถือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ที่ทางจังหวัดจัดโปรแกรมไว้ต้อนรับในวันแรกของการเดินมาเยี่ยมเยือน ซึ่งก็เรียกความสนใจจากพวกเราไปเต็มๆ เพราะด้วยทิวทัศน์ของทะเลสาบขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ขวางกั้นลำน้ำน่าน ทำให้ภายในอ่างเก็บน้ำเกิดเป็นเกาะแก่งอยู่มากมาย บางเกาะที่ถูกน้ำกัดเซาะจะปรากฏเป็นขั้นบันได ทำให้เกิดเป็นผลงานทางธรรมชาติที่ดูแปลกตา นอกจากนั้นระหว่างสองข้างทางจะพบเห็นอุปกรณ์ดักปลาของชาวบ้านในละแวกนั้นวางตัวอยู่อย่างกระจัดกระจายตลอดสายน้ำ วิถีชีวิตของคนริมน้ำแสดงให้เห็นว่าสายน้ำแห่งนี้ยังมีชีวิต และยังคงดำรงต่อไปตราบที่ยังมีแหล่งหากิน

คืนนี้คณะเราแยกพักผ่อนกันตามบ้านบนเขื่อนสิริกิติ์ที่เขาตั้งชื่อไว้อย่างน่ารัก ทั้งรังนกกระเต็น รังนกกระจอก รังนกนางนวล ส่วนผมอยู่ในรังนกกระจิบ ซึ่งเป็นบ้านพักหลังเดี่ยวตั้งรวมกันอยู่บนเนินเขา หน้าบ้านจัดสวนไว้อย่างสวยงาม รถยนต์สามารถขึ้นมาจอดได้ ส่วนในรังนอนแบ่งออกเป็น 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และ 1 ห้องโถง พร้อมด้วยเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น และโทรทัศน์ แต่ต้องขอแอบกระซิบนิดหนึ่งว่า สภาพรังของผมร้อนเอาเรื่องเลย เพราะเครื่องปรับอากาศมันไม่ค่อยเต็มใจทำงานสักเท่าไหร่ งานนี้กว่าจะทำให้ใจเย็นและตัวเย็นก็เกือบเที่ยงคืน

อรุณสวัสดิ์รับเช้าวันใหม่ ก่อนออกเดินทางเราเติมพลังกันที่ร้านอาหารระเบียงน่าน ซึ่งเป็นร้านอาหารของทางเขื่อนที่จัดไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยวท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติริมแม่น้ำน่าน พออิ่มท้องกันแล้ว เรามุ่งหน้าสู่แอร์ธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามหมายที่ได้รับ งงใช่มั้ยครับ ผมก็งงเหมือนกันว่าอะไรคือแอร์ธรรมชาติ

ก่อนที่รถจะมาจอดที่วนอุทยานต้นสักใหญ่ ถึงได้รู้ถึงคำตอบว่าที่แท้แอร์ธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือต้นสักใหญ่ ตั้งอยู่ในบ้านปาง นาเกลือ ต.น้ำใคร้ อ.น้ำปาด ซึ่งก็ได้รับความกระจ่างจากพี่เจ้าหน้าที่ว่า ต้นสักใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ถูกค้นพบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 ซึ่งแต่เดิมป่าบริเวณนี้ถูกสัมปทาน ทำให้มีต้นสักถูกตัดไป ซึ่งต้นที่เหลืออยู่นั้นเป็นโพรง ทำให้ไม่สามารถทำเป็นสินค้าได้ จึงรอดพ้นจากการทำไม้

อายุต้นสักใหญ่วัดได้โดยอาศัยเทียบเคียงขนาดและจำนวนวงปี ซึ่งต้นที่เหลืออยู่ประมาณอายุได้ไม่ต่ำกว่า 1,500 ปี ส่วนความสูงวัดโดยการทิ้งดิ่งตลับเมตรสูงประมาณ 38.5 เมตร ความโต 1,015 เซนติเมตร (18 มิ.ย. 2551)

จากนั้นเราเดินทางไปยังบ่อเหล็กน้ำพี้ ที่ อ.ทองแสนขัน บ่อเหล็กน้ำพี้เป็นโบราณสถานซึ่งมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งเหล็กกล้าที่นำมาทำพระแสงดาบตั้งแต่สมัยโบราณ โดยบ่อขุดสินแร่เหล็กที่เรียกว่าบ่อพระแสงและบ่อพระขรรค์ เป็นบ่อเหล็กที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณแหล่งแร่เหล็กน้ำพี้ และเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ซึ่งสงวนไว้ใช้ทำพระแสงดาบและพระขรรค์ถวายพระมหากษัตริย์

เหล็กน้ำพี้ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นโลหะมหัศจรรย์ มีพลังในตัวสามารถป้องกันคุณไสยและสิ่งเลวร้ายได้ ปัจจุบันแร่เหล็กน้ำพี้ถือว่าเป็นวัตถุมงคลอันเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ครอบครอง นอกจากนี้ภายในบริเวณมีพิพิธภัณฑ์ บ่อเหล็กน้ำพี้นมีการจัดแสดงและจำลองให้เห็นถึงขบวนการการตีเหล็กน้ำพี้ ตั้งแต่การขุดแร่เหล็กจนตีเป็นดาบที่มีความแข็งแกร่งและความคมเป็นเลิศ ดาบน้ำพี้จึงเป็นอาวุธคู่กายของขุนศึกและนักรบไทยในสมัยโบราณ ตลอดมา

อีกหนึ่งไฮไลต์ที่ทางจังหวัดนำเสนอคือ เส้นทางแอดเวนเจอร์ ชมเส้นทางคาราวานขนทุเรียน ที่ชาวบ้านใช้ขนทุเรียนลงเขา ซึ่งเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเปิดใหม่ให้ขาลุยได้ท้าพิสูจน์กัน ระหว่างเส้นทางขึ้นเขาจะเห็นต้นทุเรียนทั้งพันธุ์หมอนทอง หลงลับแล และหลินลับแล (เขาบอกว่าสองพันธุ์หลังนี้ราคาสูงมาก และหาทานไม่ได้ง่ายๆ) สลับกับต้นมะไฟที่ออกลูกเต็มต้น เมื่อขึ้นมาถึงยอดเขาบริเวณจุดชมวิวสวนป้าสมเด็จ จะมองเห็นเมืองอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียง โดยทางอบต.บอกว่าสามารถมองเห็นได้ถึงห้าเมือง แต่เท่าที่ผมขึ้นไปก็ไม่รู้ว่ามีเมืองไหนอยู่ตรงไหน เขาชี้ให้ผมดูก็ไม่เห็นจะแตกต่างกัน เพราะมีแต่ต้นไม้กับท้องฟ้า แถมหน้าตาก็คล้ายๆ กันอีก แต่รับรองว่าต้องประทับใจในความสวยงามของทัศนียภาพแน่นอน

เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองอุตรดิตถ์ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะด้วยจังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน จากหลักฐานการค้นพบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา และสมัยธนบุรี วัดวาอารามในเมืองนี้จึงมีอายุกว่าร้อยปีอยู่หลายวัด เช่น วัดดงสระแก้ว ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของความเชื่อเกี่ยวกับการรอดโบสถ์ไม้สักทองว่าจะเป็นมงคลต่อชีวิต

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ลักษณะเด่นมีพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซึ่งมีความเก่าแก่ เป็นที่เคารพสักการะนับถือชาวเมือง เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ภายในวิหารของวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวพุทธประวัติตอนมารผจญ อยู่ที่ผนังด้านบนตอนล่างเป็นภาพเรื่องสังข์ทองซึ่งมีการลบเลือนไปมากแล้ว

นอกจากนี้ยังมีวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด แต่ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์เมื่อปี พ.ศ. 2283 ได้แสดงว่า พระแท่นศิลาอาสน์ได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว จนเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง จนพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จไปนมัสการ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าอุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงาม และมีประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ แต่หลายคนกลับใช้เมืองนี้เป็นเพียงทางผ่านเพื่อมุ่งสู่ภาคเหนือ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่พร้อมเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ และไม่เหมือนที่ใด ลองแวะมาอุตรดิตถ์ เมืองน่ารักๆ แห่งนี้รอต้อนรับคุณอยู่

http://www.posttoday.com/travel.php?id=51957

กังหันน้ำ"คีรีวง" พลังชุมชนพึ่งตนเอง

วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6779 ข่าวสดรายวัน


กังหันน้ำ"คีรีวง" พลังชุมชนพึ่งตนเอง





ใครที่มีโอกาสมาเยือนหมู่บ้านคีรีวง อ.ลานสกา จ.นคร ศรีธรรมราช จะได้สัมผัสถึงความอุดมสมบูรณ์ และความเข้มแข็งของชุมชนแห่งนี้

ชาวคีรีวงเป็นที่รู้จักกันดีถึงความเป็นชุมชนพึ่งตนเอง แม้จะเคยประสบอุทกภัยและป่าน้ำถล่มครั้งใหญ่เมื่อปีพ.ศ.2531 แต่จากความร่วมมือร่วมใจ จึงทำให้คนที่นี่ก่อร่างสร้างชุมชน จนกระทั่งยืนได้อย่างมั่นคงถึงทุกวันนี้

บ้านคีรีวง ไม่ได้โดดเด่นเฉพาะเรื่องการจัดการท่องเที่ยว กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ และผ้ามัดย้อมเท่านั้น การพึ่งตนเองในเรื่องพลังงานเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านคีรีวงลุกขึ้นมาจัดการด้วยตัวเองตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

โดยการทดลองประดิษฐ์กังหันน้ำขึ้นใช้เพื่อดึงน้ำเข้าสู่พื้นที่สวนผลไม้ และ "สวนสมรม" บนภูเขา เป็นสวนผลไม้ที่ปลูกผสมผสานกัน ไม่แยกแปลงไม้และชนิด อาศัยธรรม ชาติให้พืชแต่ละชนิดเกื้อกูลพึ่งพากันเอง ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน มังคุด ลางสาด และสะตอ

อีกทั้งน้ำยังสามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้ที่ "ขนำ" ขณะขึ้นไปเฝ้าสวน เพราะไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึงพื้นที่บนภูเขา

"ลุงส่อง" หรือ นายส่อง บุญเฉลย แห่งบ้านคีรีวง เป็นคนแรกที่ลองผิดลองถูกในการประดิษฐ์กังหันน้ำแบบง่ายๆ จากแกนล้อรถจักรยาน และกระป๋อง



จากนั้นเพื่อนบ้านอีก 2 คน คือ "ค้างคาว" หรือ นายสุภักดิ์ หัตถิ และ "การุณ ขุนทน" ได้เริ่มประดิษฐ์กังหันน้ำในแบบของตัวเองขึ้นเช่นกัน ด้วยเทคโนโลยีแบบชาวบ้าน แม้จะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็นำไปใช้ประโยชน์ได้

"การุณ" เล่าว่า ถ้าเราอยากพัฒนาทุกเรื่องเราต้องลงมือทำเอง แต่ที่ผ่านมาไม่มีทุนมากนักเลยไปไม่ได้ไกล ตอนที่เริ่มต้นลงมือประดิษฐ์กังหันน้ำ ตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ.2541 นั้น ครั้งแรกที่เห็นไฟฟ้าสว่างขึ้นจากกังหันน้ำที่ผลิตเองรู้สึกดีใจมาก หายห่วงแล้วเวลาที่ขึ้นมาทำสวนบนเขา เพราะมีน้ำรดต้นไม้ และมีไฟทำงานได้สะดวกขึ้น

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กังหันน้ำคีรีวงได้รับการต่อยอดขยายผลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่เข้ามาคิดค้นร่วมกับชาวบ้าน ในการปรับปรุงกังหันน้ำ พัฒนารูปแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เป็นการต่อยอดจากนวัตกรรมท้องถิ่นเดิม โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและราคาถูก

นายอุสาห์ บุญบำรง นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เล่าว่า เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว เข้ามาศึกษาเรื่องแนวคิดในการทำกังหันน้ำของชาวคีรีวง และวัดกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันน้ำที่ชาวบ้านประดิษฐ์ขึ้น แต่ยังมีสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุง เนื่องจากคีรีวงเป็นพื้นที่สูง ฉะนั้น จึงคุยกันว่าเทคโนโลยีที่ใช้จะต้องเหมาะสมกับพื้นที่ และต่อยอดจากสิ่งที่ชาวคีรีวงได้คิดกันไว้แล้ว



หลังจากนั้นจึงเริ่มปรับปรุงรูปแบบของกังหันน้ำร่วมกัน และให้การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ในการสร้าง แต่ละชุดใช้เงินประมาณกว่า 10,000 บาท ขณะนี้ติดตั้งเสร็จแล้ว 3 ชุด เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา และหวังว่าในอีก 6 เดือนน่าจะขยายผลติดตั้งกังหันน้ำของชาวคีรีวงเพิ่มขึ้น

"ตอนนี้ที่บ้านคีรีวงก่อตั้งกลุ่มกังหันน้ำคีรีวงขึ้นมามีสมาชิก 20 คน ต่างสนใจที่จะผลิตกังหันน้ำไว้ใช้ และรอดูต้นแบบจากทั้ง 3 คนที่ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้วว่ามีประสิทธิภาพดีแค่ไหน ทุกบ้านจึงติดตั้งท่อรอไว้แล้ว เพียงแต่นำตัวกังหันน้ำที่ปรับให้เข้ากับท่อที่มีอยู่เข้ามาติดตั้งเท่านั้น ชาวคีรีวงจะเป็นผู้ทำกันเอง และถ้ามีปัญหาก็สามารถแก้ปัญหาร่วมกันได้" นายอุสาห์กล่าว

หลังจากติดตั้งกังหันน้ำทั้ง 3 เครื่องแล้ว ทำให้วันนี้พื้นที่สวนสมรม 21 ไร่ ของ "ลุงส่อง" มีกังหันน้ำที่สามารถดึงน้ำมารดต้นไม้ได้อย่างพอเพียง แถมพลังงานน้ำอีกส่วนหนึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน 450 วัตต์ใช้เองได้ โดยที่กำลังไฟไม่ตก และไม่เป็นอันตรายกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

ขณะที่กังหันน้ำของ "ค้างคาว" สามารถนำน้ำมาใช้ในพื้นที่สวนสมรม 15 ไร่ได้ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 310 วัตต์

ส่วนกังหันน้ำของ "การุณ" สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 1,400 วัตต์แล้ว สำหรับพื้นที่สวนสมรม 50 ไร่

ทั้ง 3 เกลอแห่งคีรีวงบอกว่า ทุกวันนี้ทำสวนได้อย่างสบาย ซึ่งทั้งหมดเป็นผลมาจากการพึ่งตัวเอง ที่พวกเขาลงมือสร้างร่วมกัน

นี่คือความตระหนักในเรื่องของการใช้พลังงานหมุนเวียนจากพลังน้ำ ที่ชาวบ้านร่วมมือกันพึ่งตนเองในเรื่องของพลังงาน และนำไปสู่การจัดการทรัพยากรน้ำในหมู่บ้าน

แม้คีรีวงจะเป็นเพียงชุมชนเล็กๆ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงการคิดค้นเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ด้วยภูมิปัญญาของคนในชุมชน และฐานทรัพยากรที่มีอยู่เดิม โดยลดการพึ่งพาจากพลังงานภายนอกที่เหลือน้อยลงทุกวัน

หน้า 6
 
 
 
 
 

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

"ไก่ฟ้าหลังขาว" ยาจกอุดร (แสนสวย)

วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6779 ข่าวสดรายวัน


"ไก่ฟ้าหลังขาว" ยาจกอุดร (แสนสวย)


คอลัมน์ ทัวร์ทโมน

ปริญญา ผดุงถิ่น pui@tourtamoan.com www.tourtamoan.com




ไก่ฟ้าหลังขาวแห่งเขาใหญ่

หลังจากสอยภาพถ่ายของไก่ฟ้าพญาลอ (Sia- mese Fireback) ได้แล้ว ผมก็ดำเนินการเป้าหมายต่อไปทันที...ไก่ฟ้าหลังขาว (Siver Pheasant)

เพราะธรรมชาติของไก่ฟ้านั้น จะมีช่วงฮอตออกมาเดินเพ่นพ่านตามถนนแค่ช่วงสั้นๆ

ต้องรีบฉวยโอกาสทองนี้ไว้เท่านั้น ก่อนจะสายเกินไป

ผมเลยกลับไปซ้ำที่เดิม ถนนขึ้นยอดเขาเขียวบนอุทยานฯเขาใหญ่ อันถือเป็นถนนสายพิเศษที่เราจะเห็นไก่ฟ้าพญาลอกับไก่ฟ้าหลังขาว อาศัยร่วมถิ่นกัน

บางเวลาถึงกับรวมฝูงหากินด้วยกันด้วยซ้ำ

ข้อมูลล่าสุดที่ผมได้มาจาก"ไกด์เอ"แห่งเขาใหญ่ มีคนเจอไก่ฟ้าหลังขาวบนถนนเขาเขียวช่วงใกล้จะถึงยอดแล้ว ผมก็เลยไปตาม"หมาย"ที่ได้รับเบาะแสมา

โดยไม่ลืมเลือกเวลาดีที่สุดคือช่วงเช้า 7 โมงกว่า

ไปถึงก็เจอจริงๆ ไก่ฟ้าหลังขาว 1 ฝูง 5 ตัว ตัวผู้ 3 ตัวเมีย 2

แต่มันไม่เปิดโอกาสให้ผมพลิกแพลงเข้าไปถ่ายรูปได้ใกล้ๆ แบบไก่ฟ้าพญาลอเลย แม้แต่จะถ่ายรูปสักแชะเดียวก็ไม่ทันด้วยซ้ำ พากันคุมฝูงหนีเข้าป่าข้างทางไปอย่างรวดเร็ว

ผมไม่ย่อท้อตามไปล่าตัวซ้ำอีก คราวนี้เจอไก่ฟ้าหลังขาวตัวเดียวช่วงก.ม.ที่ 7 ต่ำกว่าจุดที่พบครั้งแรกมากทีเดียว มันยืนป้อกางปีกระรัวแบบเดียวกับไก่ฟ้าพญาลอ แล้วก็ฉากหลบเข้าข้างทางชั่วไม่ถึงนาที ผมยังไม่ได้รูปเช่นเดิม

จึงมีการกลับไปเป็นรอบที่สาม คราวนี้เจอฝูง 5 ตัวเดิม

เมื่อรู้ว่าไก่ฟ้าพวกนี้ค่อนข้างเปรียว ผมก็ไม่ยอมให้พลาดอีกต่อไปแล้ว รีบจอดรถแต่เนิ่นๆ แล้วพาดกล้องถ่ายผ่านหน้าต่างรถจากระยะไกลหน่อย ภาพอาจไม่แหล่มสุดๆ แต่ก็ไม่เสียเที่ยวอีกต่อไป

ความประหลาดของพวกไก่ฟ้าในเมืองไทย ก็คือในบรรดาไก่ฟ้าสกุลหางพุ่มที่มีอยู่ 4 ชนิดนั้น พวกมันแบ่งภาคกันอยู่ ราวกับยอดจอมยุทธ์ในนิยายจีน"มังกรหยก"

ไก่ฟ้าพญาลอ พบเฉพาะป่าซีกตะวันออก มันจึงเท่ากับเป็น"มารบูรพา" อึ้งเอี๊ยะซือ

ไก่ฟ้าหลังเทา (Kaij Pheasant) พบเฉพาะป่าตะวันตก จะเป็นอะไรได้ถ้าไม่ใช่ "พิษประจิม" อาว เอี๊ยงฮง

ไก่ฟ้าหน้าเขียว (Crested Fireback) อาศัยแต่ในป่าภาคใต้ ก็ต้องเป็น "ราชันย์ทักษิณ" อิดเต็งไต้ซือ

ส่วนไก่ฟ้าหลังขาว เป็นใหญ่ในภาคเหนือ เทียบได้กับ "ยาจกอุดร" อั้งชิกกง

เพียงแต่มีความพิเศษกว่าใคร จากภาคเหนือ ไก่ฟ้าหลังขาวยังกระจายเขตของตัวลามลงมายังภาคตะวันออกบางส่วนถึงเขาใหญ่ แล้วก็ลามลงมาทางภาคตะวันตกถึงกำแพงเพชรด้วย

มีคนตั้งคำถามเยอะ ในบรรดา 4 จอมยุทธ์ที่ว่านี้ใครสวยงามที่สุด?

ผมรู้แค่ว่าไก่ฟ้าหลังเทาจะรั้งบ๊วยเสมอ แต่ 3 ตัวที่เหลือ ใครเป็นหนึ่งในแผ่นดิน

อยู่ที่มุมมองของแต่ละคน

หน้า 7
 

นับแกะ...ชิมกีวี ที่...เบย์ ออฟ เพลนตี้...นิวซีแลนด์

วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11425 มติชนรายวัน


นับแกะ...ชิมกีวี ที่...เบย์ ออฟ เพลนตี้...นิวซีแลนด์


คอลัมน์ บันทึกเดินทาง

โดย สุทธาสินี จิตรกรรมไทย




อรุณรุ่งที่เชิงเขาเมาท์.เมาน์กานุย

ฝูงแกะแห่งเมาท์.เมาน์กานุย

"นึกถึงอะไรในนิวซีแลนด์?"

ถ้าไม่ใช่ภาพยนตร์ไตรภาคสุดฮิต "เดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์" ซึ่งใช้ความงามที่ธรรมชาติให้นิวซีแลนด์มาแบบเนื้อๆ เน้นๆ เป็นฉากถ่ายทำ ก็เป็นสารคดีที่ "เฮเลน คลาร์ค" ทุ่มสุดตัวเป็นไก๊ด์พาทัวร์ทั่วประเทศด้วยตนเองขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ยังมีประชากร "แกะ" ที่ว่ากันว่ามีถึง 45 ล้านตัว ส่วนวัวมีราว 9 ล้านตัว ขณะที่ประชากรมนุษย์มีเพียง 4 ล้านกว่าคน เท่านั้น จนชาวนิวซีแลนด์บอกกันขำๆ ว่า ปัญหามลพิษในนิวซีแลนด์เกิดจากก๊าซที่มาจากสัตว์มากกว่าก๊าซที่มาจากรถยนต์เสียอีก

"นิวซีแลนด์ยังมี "กีวี" เป็นเหมือนผลไม้ประจำชาติ"

มุ่งสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ๊อคแลนด์ ราว 3 ชั่วโมงนิดๆ ก็ถึง "เบย์ ออฟ เพลนตี้" หนึ่งในภูมิภาคของแดนกีวี

"ที่นี่สภาพภูมิอากาศดี ไม่ร้อนไม่หนาวจนเกินไป ดินก็เป็นดินภูเขาไฟ น้ำท่าก็อุดมสมบูรณ์ จึงไม่แปลกที่ในจำนวนกีวีที่นิวซีแลนด์ปลูกได้และส่งออกจำหน่ายทั่วโลก...80 เปอร์เซ็นต์ มาจากเบย์ ออฟ เพลนตี้"

"เมื่อก่อนผู้ปลูกกีวีเจอปัญหากีวีไม่ได้คุณภาพ ราคาก็ตกต่ำ แข่งกันเองไม่พอยังต้องแข่งกับกีวีประเทศอื่น เรียกว่าตกระกำลำบากมาก เจ้าของไร่กีวีทนไม่ไหวจึงรวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ รัฐบาลจึงตั้งบริษัทขึ้นในปี 1997 ให้ความรู้กับเกษตรกรเรื่องการปลูก ดูแลผลผลิตและหาตลาดให้ ตอนนี้กีวีนิวซีแลนด์ส่งออกไปมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกแล้ว" "แดเนียล แมธีสัน" ชายหนุ่มสายเลือดนิวซีแลนด์ เล่าให้ฟังอย่างภาคภูมิใจ ระหว่างเดินเที่ยวเล่นในไร่กีวี

ไร่กีวีที่มีอยู่มากมายในพื้นที่เบย์ ออฟ เพลนตี้



บริษัทที่รัฐบาลตั้งขึ้นก็คือ "เซสปรี อินเตอร์เนชั่นแนล" ที่แดเนียลทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาด ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่นั่นเอง

กีวีที่ปลูกในพื้นที่เบย์ ออฟ เพลนตี้ มีทั้งกีวีเขียวและกีวีทอง

เปลือกของกีวี 2 สีเหมือนๆ กันคือเป็นสีน้ำตาล แต่ถ้าสังเกตดีๆ กีวีเขียวจะมีขนที่ผลเยอะและมีเปลือกหนากว่ากีวีทอง

ใครที่ชอบรสเปรี้ยวนิดๆ อาจติดใจกีวีเขียว ส่วนใครที่ติดหวานหน่อยๆ ต้องกีวีทอง

ฤดูกาลเก็บกีวีอยู่ระหว่างเดือนเมษายน-สัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน ซึ่งค่าจ้างในการเก็บจะขึ้นกับความ "มือเบา" ในการเด็ดกีวีจากขั้วแบบไม่ให้ผลช้ำ

เพลินกับการเด็ดกีวี-ชิมกีวีจนหนำใจ ตกเย็นก็เข้าที่พักในเมือง "เมาท์.เมาน์กานุย" เป็น "เซิร์ฟ ซิตี้" เมืองสวรรค์ของนักโต้คลื่น

ถึงนักท่องเที่ยวจะเยอะ แต่ดูเหมือนว่าเมืองเมาท์.เมาน์กานุยจะเข้านอนเร็วผิดคาด เพราะเพียงแค่ความมืดโรยตัวเข้าห่มคลุม ร้านรวงส่วนใหญ่ในเมืองก็ปิดเสียแล้ว

เมาท์.เมาน์กานุยสูงเพียง 230 เมตรเท่านั้น ชาวเมืองจึงนิยมวิ่งออกกำลังกายขึ้น-ลง หรือไม่ก็เดินเล่นขึ้นไปถึงยอดเขาที่มองเห็นวิวได้เกือบทั้งเมือง

เมาท์.เมาน์กานุย

วัวที่เห็นได้ทั่วไปในนิวซีแลนด์



ตื่นแต่เช้าตรู่ ขยับเสื้อกันหนาวให้กระชับตัวพร้อมรับอุณหภูมิ 13 องศา สูดอากาศบริสุทธิ์เข้าเต็มปอด แล้วกึ่งเดินกึ่งวิ่งขึ้นเมาท์.เมาน์กานุย

ถึงจะไปไม่ถึงยอดเขาด้วยเงื่อนไขทางเวลา แต่ก็คุ้มที่ได้เห็นแสงอาทิตย์ยามเช้าแตะต้องผืนทะเลสีฟ้าครามเป็นประกายวิบวับจากระหว่างทางขึ้นเมาท์.เมาน์กานุย

สายๆ เดินทางไป ""สปริง โลดเด็ด ฟัน พาร์ค"" เมือง "เท ปูกี้" ขึ้นเฮลิคอปเตอร์-ลงเรือด่วน ชมธรรมชาติสวยๆ ของเบย์ ออฟ เพลนตี้

คิดค่านั่งเฮลิคอปเตอร์ 105 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (2,300 กว่าบาท) ต่อคน ส่วนค่าลงเรือด่วน หากเป็นผู้ใหญ่ตกคนละ 95 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ราว 2,100 บาท) เด็กอยู่ที่ 45 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ประมาณ 1,000 บาท)

รัดเข็มขัดนิรภัย ใส่ที่ครอบหูเรียบร้อย เฮลิคอปเตอร์ก็พาห่างจากพื้นดินไปเรื่อยๆ มองลงมาเห็นวัวเป็นแค่จุดขาวดำเล็กๆ เท่านั้น

พื้นที่สีเขียวที่เห็นสุดลูกหูลูกตาคือไร่กีวีเป็นแปลงๆ มีต้นไม้สูงปลูกเป็นแนวรั้วกั้นระหว่างไร่ ตอกย้ำความเป็นพื้นที่ปลูกกีวีใหญ่สุดของนิวซีแลนด์ให้น่าเชื่อถือเข้าไปอีก

ตื่นตาตื่นใจอยู่บนฟ้าเกือบ 10 นาที แล้วก็เปลี่ยนเป็นลงเรือยนต์ลำเล็กสีแดงสด เตรียมล่องแม่น้ำ "ไคทูน่า" ความยาวของแม่น้ำคือ 65 กิโลเมตร แต่เปิดให้ล่องไป-กลับ รวม 25 กิโลเมตร

ก่อนออกเรือ แดเนียล-พนักงานขับเรือบอกว่าจะทำ "สปิน" เล่นเอาใจเต้นตึกตัก เพราะไม่รู้ว่าจะเทใครลงแม่น้ำหรือเปล่า..ยิ่งหนาวๆ อยู่ด้วยสิ!!

แล้วเรือก็ทะยานออกจากท่าอย่างรวดเร็ว บางช่วงบางตอนแดเนียลก็หมุนพวงมาลัยให้เรือเลี้ยวเกือบ 360 องศา เพื่อทำสปิน แต่ละคนเลยจับราวไว้แน่น พร้อมปล่อยเสียงกรี๊ดแบบไม่เกรงใจใคร

2 ข้างทางของแม่น้ำไคทูน่าเป็นป่าทึบ มีต้นไม้เล็ก-ใหญ่ขึ้นหนาแน่นเบียดเสียด แต่ไม่วังเวงเพราะมีเสียงนกร้องประสานกันดังขึ้นเป็นพักๆ

"เชื่อมั้ยครับว่าป่าอยู่ในสภาพนี้มาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว คนนิวซีแลนด์ไม่เข้าไปยุ่มย่าม เพราะป่าเป็นต้นกำเนิดชีวิต" แดเนียลบอกระหว่างขับเรือ ก่อนชะลอความเร็วเรือลง ปล่อยเรือให้จอดนิ่งอยู่หน้าน้ำตกใหญ่สักพัก..

"แวบหนึ่งเผลอคิดไปว่าตัวเองเป็น "ฮอบบิท" ในเรื่อง "เดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์" กำลังท่องป่าในดินแดน "มิดเดิล เอิร์ธ""

เสียดายที่ไม่มีใครพกกล้องติดตัวไปด้วย เพราะแดเนียลเตือนไว้ตั้งแต่แรกว่าเวลาสปินน้ำอาจซัดขึ้นมาบนเรือได้ เลยไม่มีภาพเป็นหลักฐานว่าธรรมชาติที่เห็นสวยงามสมบูรณ์แค่ไหน

"เก็บเกี่ยวความประทับใจมาเพียบ!..กับทริปนิวซีแลนด์ครั้งแรกในชีวิต"

หน้า 23

คลื่นกระทบฝั่งที่เกาะเหลา และการหายไปของ"นายจีจั๊ด"

วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11425 มติชนรายวัน


คลื่นกระทบฝั่งที่เกาะเหลา และการหายไปของ"นายจีจั๊ด"


โดย ปราโมทย์ แสนสวาสดิ์




บรรยากาศบนเกาะเหลาแม้ผู้มีน้ำใจช่วยกันสร้างบ้านที่แข็งแรงให้แล้ว แต่ยังมีปัญหาเรื่องการทำมาหากิน

เสียงบ่นพึมพำบริกรรมคาถาด้วยภาษามอแกน ดังเล็ดลอดมาจากบ้านไม้ยกสูงริมหาดหลังหนึ่งในหมู่บ้านมอแกน เกาะเหลาหน้านอก ท่ามกลางสายฝนและเสียงฟ้าคำรามเป็นระยะๆ ภายในบ้านนั้นเต็มไปด้วยชาวบ้านที่นั่งอย่างสงบเสงี่ยม ใจจดจ่อเพื่อรอฟังคำทำนายจากหมอผีประจำหมู่บ้านถึงชะตากรรมของญาติพี่น้องบางคนที่หายไปในทะเลอย่างลึกลับเมื่ออาทิตย์ก่อนหลังจากออกเรือไปดำปลิงกับนายทุนที่หมู่เกาะนิโคบา ประเทศอินเดีย

พ่อเฒ่าวี หมอผีคนเดียวประจำหมู่บ้านและอาจเป็นคนสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ เพ่งมองไปยังจานสองใบที่วางลงตรงหน้า

จานหนึ่งคว่ำเพื่อวางไข่ไก่ในลักษณะตั้งซึ่งรองไว้ด้วยข้าวสาร มันตั้งนิ่งอย่างน่าอัศจรรย์ ขณะที่อีกจานวางหงายเพื่อรองรับบุหรี่ หมากพลู เหรียญบาท เหล้าขาว ส่วนตรงกลางมีเทียนไขและธูปถูกจุดขึ้นทำให้พิธีกรรมยิ่งเคร่งขรึม

ห้วงยามนั้นทุกสายตาทุกคู่ต่างจับจ้องไปยังร่างของหมอผีชราที่สั่นเทิ้ม ตาขว้าง และพูดเป็นภาษายาวีปนภาษามอแกน ยากแก่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ว่ามันหมายถึงอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่พอจะเดาได้นั่นคือ แกกำลังฉายภาพให้เห็นถึงชะตากรรมของมอแกนที่หายสาบสูญ ด้วยท่าทางหรือบางครั้งวาดเป็นรูปภาพ เพียงอึดใจคำทำนายก็เริ่มขึ้น

"มันตายแล้ว มันไปดีแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วงมัน" หมอผีชราเอ่ยขึ้น หลังจากวิญญาณออกจากตัวไม่นาน

"ผีพรายชวนมันไปอยู่ด้วย ก่อนตายมันบอกกูว่ามันเห็นผีในน้ำเต็มไปหมด ผีพวกนั้นบอกมันว่าเรือลำที่มันไปกำลังจะจม ให้รีบกระโดดลงน้ำ" แกเล่าพลางถอนหายใจพลาง ด้วยเหงื่อชุ่มเหมือนคนเพิ่งเสร็จจากกรำงานหนัก

พ่อเฒ่าหมอผีประจำหมู่บ้านกำลังทำพิธีกรรมสอบถามผีถึงการหายตัวไปของนายจีจั๊ด



"อีเอียด มันบอกให้มึงดูแลลูกๆ หลานๆ ด้วย มันไปสบายแล้ว ไม่ต้องห่วงมัน" แกบอกคำทำนายสุดท้ายโดยเฉพาะเน้นประโยค "ไม่ต้องห่วงมัน"

ส่วนอีเอียดที่พ่อหมอพูดด้วยคือเมียของผู้ที่จากไป ซึ่งคำทำนายนี้มันทิ่มแทงหัวใจนางเหลือเกิน แม้ผัวของนางจะไม่ใช่คนดีอะไรมากมาย แต่เขาก็ไม่เคยทำให้ใครเดือดร้อน นางได้แต่นั่งก้มหน้าน้ำตาเอ่อ และยอมรับชะตากรรมอันโหดร้ายอย่างเงียบๆ

ยิ่งดึกฝนยิ่งตกหนัก เสียงกัมปนาทของฟ้าแผดดังสะท้าน ชาวบ้านทยอยกันกลับบ้าน เหลือเพียงญาติสนิทของนางเอียดไม่กี่คนที่ยังนั่งปลอบโยนผู้สูญเสีย ท่ามกลางแสงตะเกียงริบหรี่

"มันหายไปเกือบอาทิตย์แล้ว" นางเอียดเปรยด้วยความเศร้าหมอง

ผัวของนางคือนายจีจั๊ด ประมงกิจ หายไปอย่างลึกลับ หลังออกเรือดำปลิง ย่านหมู่เกาะนิโคบา

"พวกลูกเรือที่ไปด้วยกันมันบอกว่า จีจั๊ดพลัดตกน้ำตายเพราะเมา ตอนตกมันนั่งอยู่ท้ายเรือไม่มีใครเห็น พวกเขาบอกว่าพยายามวนเรือค้นหาอยู่หลายรอบ แต่ไม่เจอ" นางรำพึงด้วยเสียงสั่นเครือ

นางเอียดไม่เคยเชื่อในข่าวร้ายที่ไต๋เรือนำมาแจ้ง เพราะดูมันง่ายเกินไปสำหรับชีวิตชาวเลที่เกิดและโตมากับทะเล "เป็นไปได้ไง ไม่เชื่อว่ามันจะตายแบบนั้นได้"

"มันบอกว่าจะไปครั้งสุดท้ายแล้ว อยากหาเงินก้อนมาเปิดร้านขายของเล็กๆ มันไม่อยากออกไปดำปลิงอีกแล้ว มันเข็ดตอนมันโดนจับที่อินเดียคราวก่อน เพราะต้องติดคุกเกือบ 3 เดือน ตอนนี้คนที่โดนจับพร้อมมัน ตายไปแล้ว 3 คน" นางเอียดถึงกับปล่อยโฮ เมื่อเล่ามาถึงช่วงนี้

นางร้องไห้จนแทบไม่มีน้ำตาจะไหลแล้ว ในใจนึกโทษตัวเองที่น่าจะห้ามผัวให้มากกว่านี้ ไม่งั้นมันคงไม่ตาย และครอบครัวก็คงไม่เจอชะตากรรมแบบนี้ ขณะที่ลูกของนางนิ่งเงียบและงุนงงกับอาการของผู้เป็นแม่เป็นอย่างยิ่ง

นางเอียดยังไม่กล้าบอกความจริงกับลูกเพราะอยากอธิบายให้เขาฟังเมื่อโตกว่านี้

หลังจากเรือประมงลำใหญ่กลับมา นายทุนได้เรียกนางเอียดขึ้นไปที่ระนอง และจ่ายเงินทดแทนชีวิตนายจีจั๊ด 2 หมื่นบาท แม้นางรู้สึกขมขื่นแต่ก็ต้องจำยอมรับเงินก้อนนั้น

ตอนแรกนางคิดจะเอาเรื่องนายทุนให้ถึงที่สุด แต่เมื่อคิดไปคิดมา นางก็ยอมจำนนกับความเป็นมอแกนของตัวเองที่ไม่เคยมีสิทธิมีเสียงใดๆ เลย อย่าว่าแต่ไปโรงพักเพื่อแจ้งความเลย ลำพังบากหน้าข้ามไปหานายทุนเพื่อขอเงินค่าจัดงานศพก็ยังหนักเอาเรื่อง นี่ยังไม่นับรวมความยุ่งยากและซับซ้อนที่จะตามมา

นางกลัวว่า หากยังยืนยันจะเอาเรื่อง ดีไม่ดีทั้งนางและครอบครัวนั่นแหละจะโดนจับเข้าตะรางเสียเอง สู้เลือกเอาเงินก้อนสุดท้ายมาเลี้ยงลูกดีกว่า

หลายวันต่อมาความจริงได้ปรากฏชัดขึ้น นายจีจั๊ดไม่ได้ตกน้ำตายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เขาถูกมัดมือมัดตีนโยนลงทะเล จากข้อกล่าวว่าเมาแล้วอาละวาด แถมยังด่าไต๋เรือ

"ตอนจะโยนลงน้ำ มันยังเรียกชื่อลูกมันอยู่เลย" เพื่อนชาวมอแกนที่อยู่ในเหตุการณ์ยืนยันข้อเท็จจริงด้วยเสียงรันทด

หลายคนบนเกาะเหลาต่างรู้ความจริงอันเจ็บปวดกันดี แต่ไม่มีใครบอกนางเอียด เพราะกลัวนางทำใจไม่ได้ และอาจเตลิดไปกันใหญ่ ทุกคนคิดเหมือนกันว่า เวลาคงเยียวยาบาดแผล ไม่นานก็ลืมเหมือนกับความตายของคนอื่นๆ บนเกาะนี้

ทุกวันนี้ชาวมอแกนเกาะเหลายังคงดำเนินชีวิตกับอาชีพที่สุ่มเสี่ยง เพราะไม่มีทางเลือก หากพวกเขาไม่ไปรับจ้างดำปลิง ก็ต้องไประเบิดปลาในฝั่งพม่า ซึ่งเป็นการลักลอบที่เป็นภัยไม่แพ้กัน

หลายคนที่ไม่ตายแต่ก็ต้องพิการ หรือไม่ก็ถูกนายทุนโกงซ้ำอีก เพราะพวกเขาถูกกดให้เป็นแค่พลเมืองชั้นต่ำในสังคมนี้

ปัจจุบันชาวมอแกนกว่า 700 คน ในพื้นที่เกาะเหลา เกาะช้าง เกาะพยาม จ.ระนอง และหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ยังไม่มีบัตรประชาชน พวกเขาเดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แม้กระทั่งสิทธิขั้นพื้นฐานใดๆ จากรัฐก็ไม่มี ต้องอยู่เสมือนคนเถื่อน

แม้กระทั่งการแจ้งเกิดก็ยังถูกปฏิเสธ พอไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน เขาก็บอกให้ไปที่อำเภอ พอไปอำเภอก็ให้กลับไปที่ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่รัฐต่างโยนกันไปมา

ฝนหยุดตกนานแล้ว มีเพียงลมและคลื่นทะเลที่พัดมากระทบฝั่งต่อเนื่อง เสียงสงบเงียบของผู้คนเพราะต่างหลับใหล เพื่อรออรุณรุ่งวันใหม่

ความตายของนายจีจั๊ดเป็นเพียงแค่โศกนาฏกรรมเล็กๆ ของพลเมืองชายขอบ เขาเป็นคนไร้ค่าและตัวเล็กเกินไปที่สังคมสืบสาวหรือบันทึกความทรงจำ


หน้า 9

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01way02210652&sectionid=0137&day=2009-06-21

 


 

ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ (7)

 
วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11425 มติชนรายวัน


ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ (7)


คอลัมน์ ประสานักดูนก

โดย นสพ.ไชยยันตร์ เกษรดอกบัว



 

 
การตั้งชื่อนกด้วยภูมิประเทศหรือสถานที่ ให้ความสำคัญต่อถิ่นอาศัยในฤดูร้อนหรือแหล่งทำรังวางไข่ มากกว่าถิ่นอาศัยในฤดูหนาว เช่น ประเทศไทย

ที่เป็นเช่นนี้เพราะในอดีตยุคต้นๆ ของการสำรวจ ก่อร่างสร้างตัวขององค์ความรู้ทางปักษีวิทยา เพราะวัฒนธรรมใฝ่รู้ของฝ่ายตะวันตกจะดั้นด้นค้นหาดินแดนใหม่ที่ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยศึกษามาก่อน ทำให้นกหลายชนิดที่เป็นนกอพยพ ถูกค้นพบในถิ่นอาศัยฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งมักจะเป็นประเทศในเขตอบอุ่น

เช่น Wood Sandpiper หรือนกชายเลนน้ำจืด ชื่อไทยบอกอยู่โต้งๆ ว่าเป็น "นกชายเลน" อาศัยอยู่และย่ำโคลนเลนหากินตามแหล่งน้ำจืด เช่น ทุ่งนาน้ำขัง หากชื่ออังกฤษอาจชวนให้งงงวย เพราะสื่อไม่ตรงกัน ใช้คำว่า wood หรือ "ป่าละเมาะ" อันเป็นถิ่นอาศัยฤดูร้อน

"นกจะทำรังวางไข่บนต้นไม้ในป่าละเมาะ เรียกว่าผิดฝาผิดตัว ไม่สมรูปนกชายเลนขายาวๆ เดินย่ำเลนเป็นว่าเล่น"

ชื่อนกทั่วโลกนับพันชนิด รวมทั้งนกไทยหลายสิบชนิด สื่อนัยยะของลักษณะภูมิประเทศ วัตถุตามธรรมชาติ หรือแม้แต่สิ่งก่อสร้างของมนุษย์ อาทิ ภูเขา เชิงผา แม่น้ำ หนองบึง หาดทราย โรงนา หรือแม้แต่ก้อนหิน!!!

"เน้นย้ำความแตกต่างของนกแต่ละกลุ่ม แต่ละสกุลตามลำดับทางอนุกรมวิธาน เพียงแค่ได้ฟังหรืออ่านชื่อนก ก็ช่วยให้เห็นภาพกว้างๆ ของวิถีชีวิตและพฤติกรรมของนกได้ง่ายๆ"

"นกนางแอ่นบ้าน" หรือ Barn Swallow เพราะนกจะทำรังด้วยดินเหนียวยึดเกาะตามผนังของสิ่งก่อสร้าง เช่น บ้าน ศาลาหรือโรงนา แต่นกนางแอ่นอีกสกุลที่มีขนาดเล็กและปีกสั้นกว่านางแอ่นบ้าน อีกทั้งเลือกทำรังตามเชิงผาของภูเขา จึงถูกเรียกว่า "นกนางแอ่นผา" หรือ Crag Martin

"นกแสก" เจ้านกเค้าหน้ารูปหัวใจจนดูไปดูมา หน้าเหมือนลิง! ชื่อว่า Barn Owl สื่อนัยยะทั้งสถานที่อยู่อาศัย ทำรังวางไข่แถมแนมด้วยว่าจอมล่าหนูตัวกลั่นในเวลากลางคืนชนิดนี้ พบเห็นได้ทั่วไป ตราบเท่าที่มีโรงนาหรืออาคารต่างๆ ที่เงียบสงัด

"นกพิราบ" ที่เราท่านพบเห็นจนชินตา เรียกว่า Rock Pigeon หรือ Rock Dove ก็เพราะว่าในอดีต สมัยที่นกพิราบชนิดนี้ยังไม่แพร่กระจายทั่วโลกตามเมืองใหญ่ๆ เช่นปัจจุบัน นกอาศัยอยู่ในป่าและมักเกาะบนก้อนหิน กระทั่งชื่อไทยแต่สมัยคุณหมอบุญส่งยังเคยเรียกนกพิราบว่า "นกพิราบป่า"

ถิ่นอาศัยหรือสภาพแวดล้อมที่มีรูปแบบเฉพาะของนกแต่ละชนิด เป็นผลจากวิวัฒนาการแบบแข่งขันเอาตัวรอดในระบบนิเวศของถิ่นอาศัยนั้นๆ กับนกชนิดอื่นที่อาจจะร่วมสกุล หรือห่างไกลสาแหรกทางสายเลือดโดยสิ้นเชิง

ดังนั้น จะพบว่ามีนกร่วมสกุลเลือกอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันไปแต่ละชนิด เช่น ถิ่นอาศัยที่เป็นภูเขาตามแนวเทือกเขาในภาคเหนือและภาคตะวันตก ทุ่งหญ้าหรือที่ราบต่ำในภาคกลาง หรือป่าดิบชื้นที่ราบต่ำในภาคใต้

นกบางสกุลที่มีหลายชนิด ชุดขนคล้ายคลึงแต่ถิ่นอาศัยต่างกัน เช่น นกพิราบป่าขนาดใหญ่ จำพวก Imperial Pigeon นกปรอด นกกระจิบ หรือนกมุ่นรก จึงเรียกชื่อนกบางชนิดในสกุลนั้นๆ ว่า Mountain Imperial Pigeon หรือนกมูม (ตั้งตามเสียงร้อง) นกปรอดภูเขา (Mountain Bulbul) นกกระจิบภูเขา (Mountain Tailorbird) นกมุ่นรกภูเขา (Mountain Fulvetta)

"นกเกาะคอน" ยอดนักร้องจำพวก warbler ตัวเล็กๆ มีชุดขนคล้ายกันมากจนบางชนิดต้องนับหรือวัดเส้นขน หรือต้นขา ก็ใช้ลักษณะของถิ่นอาศัยช่วยจำแนกสกุลได้

นกกลุ่มนี้ทำให้นักดูนกหลายคนเบือนหน้าหนีและชั่วชีวิตอาจจะไม่ยอมผินหน้ามาดูนกพวกนี้อีกเลย เพราะไล่ตามส่องดูนกไม่ทัน"

บางคนพยายามแล้วจนเกิดอาการ warbler neck จากกล้ามเนื้อต้นคออักเสบที่ต้องแอ่นและเอี้ยวคอส่องดูนกเป็นนานสองนาน แต่ก็หาข้อยุติว่าเจ้าตัวจิ๋วที่ส่องดูอยู่นานชื่อว่าอะไร

หากถ้าจดจำจากชื่อทั้งไทยและอังกฤษแล้วนับว่าเริ่มต้นง่ายๆ ก่อน เพราะในชื่อบ่งบอกเสร็จสรรพว่านกแต่ละสกุลจะพบได้ที่ไหนและอย่างไร อาจต่ำระดับสายตาในดงอ้อดงแขม เช่น Reed Warbler หรือนกพง แอบซุ่มพุ่มไม้สูงไม่เกินเอว อย่าง Bush Warbler คือนกกระจ้อย หรืออยู่สูงจนต้องแหงนคอตั้งบ่า

"เพราะนกจะบินไล่จิกแมลงกินบนใบไม้ ในกลุ่ม Leaf Warbler หรือนกกระจิ๊ด"

หน้า 21

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01sun03210652&sectionid=0120&day=2009-06-21

 

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สีสันในภาษา คำ 'จีน-ล้านนา' ความหมายดี

แต่ละภาษาต่างมีเอกลักษณ์ความโดดเด่น อีกทั้งมีเสน่ห์ความลึกซึ้งถ่ายทอดการดำเนินชีวิต เอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นพื้นที่
   
หลังจากที่ลูกแพนด้าตัวแรกที่เกิดในประเทศไทยนับแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงขณะนี้ ในความเคลื่อนไหวทั้งเรื่องราวความน่ารักเป็นขวัญใจของเด็ก ๆ นักท่องเที่ยวชาวไทยชาวต่างชาติที่ได้พบเห็นชื่นชม ที่ผ่านมายัง มีความคืบหน้าเกี่ยวกับสุขภาพความแข็งแรงสมบูรณ์ พัฒนาการที่ดีขึ้นของแพนด้าน้อยสมาชิกใหม่ของสวนสัตว์เชียงใหม่
   
การตั้งชื่อ ต้อนรับแพนด้าน้อยเป็นอีกกิจกรรมที่ได้รับการตอบรับมีความคึกคักเป็นที่สนใจกว้างขวางหลังจากหมดเขตปิด          รับการส่งชื่อผ่านไปเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน หลากหลายชื่อทั้งภาษาเหนือ ภาษาจีน ฯลฯ ที่ส่งมามากมายโดยเฉพาะทางไปรษณียบัตรนั้นจากข่าวที่ปรากฏมีกว่าแสนฉบับ 
   
จากนั้นชื่อทั้งหมดจะถูกรวบรวมและคัดเลือก ซึ่งในชื่อที่เหมาะสม ความหมายดี องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์และบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ร่วมกันจัดพิมพ์ไปรษณียบัตรใน “โครงการไปรษณียบัตรประกวดตั้งชื่อลูกหมีแพนด้า” พร้อมให้ประชาชนร่วมเลือกชื่อที่ต้องการตั้งให้กับลูกแพนด้าซึ่งชื่อที่ได้รับการโหวตมากสุดจะเป็นชื่อของแพนด้าน้อย
   
แต่ก่อนจะทราบกันนั้น ในความโดดเด่นของภาษาไม่ว่าจะเป็น คำจีน คำล้านนา ที่ปรากฏเป็นชื่อร่วมชื่นชมยินดีกับแพนด้าน้อย ในสีสันเอกลักษณ์ของภาษาจีน หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญภาษาจีน ให้ความรู้ว่า ถ้าจะมองภาษาจีนที่คนนอกมองมานั้น ความโดดเด่นความเป็นเอกลักษณ์ของภาษาน่าจะเป็นเรื่องของ  ตัวอักษรซึ่งตัวอักษรจีนเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง
   
ภาษาจีนอาจจะยากในเรื่องของการเขียน แต่ในภาษาพูดนั้นมีหลายคนที่สามารถพูดภาษาจีนได้โดยไม่ได้เรียนเขียน ภาษาและวัฒนธรรมของจีนเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องควบคู่กันอย่าง ผลไม้มงคลของจีน ชื่อเรียกไม่       ว่าจะเป็น ส้ม แอปเปิ้ล ฯลฯ ต่างก็มีความหมายดีเป็นมงคล ขณะที่ ทับทิม แม้จะไม่เกี่ยวกับเรื่องของเสียงภาษา แต่ลักษณะของทับทิมที่มีเม็ดมากก็ให้  ความหมายดี หมายถึง มีลูกมาก ฯลฯ
   
ส่วนคำที่มีความหมายชื่อที่เป็นมงคล พบว่ามีซ้ำกันอยู่ไม่น้อย อย่างถ้าเป็นผู้หญิงหากไม่มีคำว่า เหม่ย ก็ต้องมีคำว่า ลี่ ซึ่งแปลว่าสวยงาม หรือไม่ก็ต้องเป็นชื่อของดอกไม้ ก็จะคล้าย ๆ กับคนไทย หรือไม่ถ้าเป็นผู้ชายก็ต้องมีความหมายถึงความเฉลียวฉลาด ความแข็งแกร่ง ฯลฯ
   
“คำที่บ่งบอกถึงความเป็นมงคล คำมงคลนั้นจะดูที่ตัวอักษรซึ่งในภาษาจีนมีคำพ้องเสียงอยู่เยอะมาก ซึ่งในคำคำเดียวกัน เมื่อดูตัวอักษรความหมายดี อักษรตัวนี้มีความหมายเป็นกลาง แต่ในการออกเสียง เสียงเดียวกันหากเขียนต่างกันอาจจะมีความหมายที่ต่างกันไป อาจจะดีมาก ไม่ดีมากก็ได้ ดังนั้นจึงควรดูที่ตัวอักษรอีกทั้งบางเสียงอาจฟังดูแล้วเพราะ อย่าง หมิง แปลว่า แสงสว่าง หลิง ซึ่งก็มีหลายความหมายที่นำมาใช้ตั้งชื่อให้ความหมายในเชิงกระจุ๋มกระจิ๋มน่ารัก ฯลฯ”
   
ส่วนเรื่องของชื่อแพนด้าเท่าที่พอทราบ แพนด้า ส่วนใหญ่มีชื่อเรียก การตั้งชื่อที่ฟังดูน่ารักเป็นคำคำเดียว คำสั้นแต่มักจะซ้ำกันสองพยางค์ อย่าง ช่วง ช่วง, จิง จิง, หยวน หยวน ฯลฯ   ซึ่งเป็นคำเดียวกัน แต่เป็นคำซ้ำและขณะที่แพนด้าเป็นที่รักของเด็ก ในการตั้งชื่อเหล่านี้ยังมีความโดดเด่นเป็นที่จำได้ง่ายของเด็ก ๆ อีกด้วย
   
“ภาษาจีนแม้จะเป็นที่สนใจ แต่การเรียนรู้มักเป็นเพียงแค่เบื้องต้นจึงอยากฝากว่าควรศึกษาอย่างต่อเนื่องและไม่ว่าจะเป็นภาษาใด ทุกภาษาต่างมีเสน่ห์มีความยากง่าย ความซับซ้อนจึงควรหมั่นฝึกฝนต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการนำภาษาไปใช้นั้นควรจะศึกษาให้       รู้จริงและเข้าใจในภาษานั้น” ผู้รู้ภาษาจีน กล่าวทิ้งท้าย
   
ขณะที่อีกสีสันภาษาที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ภาษาเหนือ ภาษาถิ่นที่ถ่ายทอดให้ได้เห็นถึงวิถีชีวิตแก่นแท้ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ผศ.ดร.บุญเหลือ ใจมโน นักวิชาการด้านภาษาไทยและภาษาถิ่นเหนือ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ว่า แต่ละภาษาต่างมีเอกลักษณ์ ภาษาถิ่นเหนือมักเป็นคำโดดหรือ คำเดี่ยวแต่มักจะเติมคำเพิ่มเพื่อให้เกิดความสละสลวยขึ้น
   
ในความงามความหมายของภาษาเหนือคำบางคำใน  ต่างท้องที่อาจแตกต่างกันและบางคำอีกเช่นกันที่เหมือนมีความคล้ายคลึงกับภูมิภาคอื่น ภาษาจึงเป็นสิ่งสะท้อนวิถีชีวิต วัฒนธรรมเป็นมรดกของคนในท้องถิ่น ภาษาถิ่นเหนือมีทั้งตัวเขียนที่เรียกว่า ตัวเมือง (ตั๋วเมือง, ตั๋วธรรมเมือง) คัมภีร์ใบลานเขียนเป็นอักษรธรรมเหนือ ซึ่งพระเณรสมัยก่อนนั้น  จะอ่านกันได้ชัดเจน อีกทั้งในเสียง สำเนียงก็มีเอกลักษณ์ในตัวเอง
   
“คำที่มีความหมายดีที่นิยมนำมาตั้งเป็นชื่อมีหลากหลายและพบว่าคล้ายกับภูมิภาคอื่น อย่างคำว่า บุญ นั้นมีอยู่ไม่น้อยไม่ว่าจะเป็น บุญค้ำ บุญหนุน บุญเหลือ บุญหลาย บุญมา บุญมี ฯลฯ เป็นคำสั้น คำที่เรียกง่ายที่มีความหมายดีเป็นมงคล นอกจากนี้ในคำที่สื่อความหมายดีที่เกี่ยวกับแก้ว อาทิ แก้วคำ ก็มีให้เห็น เดือน ดาว รวมทั้งคำว่า เพชร ก็มีความเป็นมงคลพบไม่น้อยเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังพบว่ามีการนำ ชื่อวัน มาตั้งเป็นชื่อเรียกกันอีกด้วย”
   
เสน่ห์ของภาษาถิ่นเหนือในความเห็นจึงมองว่า ภาษาเหล่านี้นอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ถ่ายทอดถิ่นฐาน สำเนียงภาษาเมื่อนำมาสื่อสารกันจะเห็นว่ามีความชัดเจน เข้าถึงในสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอดบอกเล่า ภาษาถิ่นเหนือยังให้ภาพอรรถรสของเรื่องราวนั้น ๆ อย่าง กิ้งกือ จะเรียก แมงแสนตี๋น พริกชี้ฟ้า เรียก พริกก้นปลิ้น บอกเล่าให้เห็นลักษณะปลายพริกที่ชี้ขึ้น ขณะที่ต้นไม้อย่าง ไมยราพ เมื่อสัมผัสก็จะหุบยุบลง ภาษาถิ่นก็จะเรียกว่า ต้นหญ้าจิยอบ ซึ่ง จิ เป็นภาษาถิ่นบอกเล่าอากัปกิริยาการแหย่ ยุบตัวลงจะเรียกว่า ยอบ ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ต่างเป็นสีสันของภาษา
   
ขณะที่วิทยาการสื่อสมัยใหม่เข้ามามีบทบาท ภาษาไทยเหนือเริ่มห่างหายคำศัพท์บางคำอาจไม่ได้นำมาพูดกัน ความภาคภูมิใจในภาษาวัฒนธรรมประจำถิ่น รู้เข้าใจใช้ภาษาอย่างถูกต้องสิ่งนี้นั้นมีความหมายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาให้ภาษาถิ่นคงอยู่
   
จากสีสันเสน่ห์ของภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาใด ทุกภาษาต่างมีเอกลักษณ์ คุณค่า บอกความหมายเรื่องราวการสื่อสาร ส่วนชื่อแพนด้า หมีน้อยสมาชิกใหม่ที่กำลังกล่าวขานกันนั้น จะมีชื่อว่าอย่างไร คงต้องติดตามกันต่อไป.

พงษ์พรรณ บุญเลิศ

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=486&contentID=3885

ทรัพย์สินทางปัญญา สู่ระบบไอที...ซะที

 
ความตระหนักในทรัพย์สินทางปัญญาขยายกว้างออกไปทุกที จนเดี๋ยวนี้ ความรับรู้ ความต้องการให้ผลผลิตจากความคิด ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร เพื่อหาประโยชน์ทางการค้าและช่วยให้สังคมได้นำเอาไปใช้สร้างคุณค่าในด้านต่าง ๆ มีเยอะขึ้น
   
แต่การขอรับสิทธิบัตร ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เฉพาะการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หรือเป็นการประดิษฐ์  ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม รวมถึงการขอรับอนุสิทธิบัตร ซึ่งเป็นหนังสือสำคัญ ที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์  สำหรับการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หรือเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาห  กรรม มีกระบวนการขั้นตอนซึ่งต้องใช้เวลา ส่งผลให้การออกสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรล่าช้าไปด้วย
   
ประมาณว่ากว่าจะได้สิทธิบัตรงานประดิษฐ์ ก็ต้องรอกันอย่างน้อยสามปี
   
ส่วนที่เสียเวลามากที่สุด คือการขอตรวจสอบไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ว่างานที่มาขอรับสิทธิบัตรทุกรายเคยมีผู้ขอหรือมีใครถือสิทธิบัตรไว้แล้วบ้าง
   
กรมทรัพย์สินทางปัญญา พยายามแก้ปัญหาเพื่อลดเวลาการออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ซึ่งระบบไอทีจะช่วยลดความยุ่งยาก แก้ปัญหาความซับซ้อนของเอกสารได้เป็น อย่างดี แต่การจะเอามาใช้ ก็ต้องคำนึงถึงเอกสารสิทธิบัตรที่มีอยู่หนึ่งแสนห้าหมื่นเรื่อง และเรื่องที่ยื่นขอใหม่ปีละเป็นพัน แต่ก็พยายามทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งก็ได้หน้าเว็บเพจสำหรับการสืบค้นสิทธิบัตรที่มีอยู่แล้วจาก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลี และอียู ทั้งสามารถสืบค้นเปเตนท์แมปปิ้ง หรือแผนที่ สิทธิบัตร หรือสิทธิบัตรอื่นที่เกี่ยวข้องได้ เช่นในรถยนต์หนึ่งคันจะมีสิทธิบัตรของชิ้นส่วน ต่าง ๆ จำนวนมาก
   
ขณะนี้ การปรับปรุงฐานข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศ มาถึงขั้นตอนที่ 3 เป็นการแปลงเอกสารสิทธิบัตรต่าง ๆ จากกระดาษเป็นไฟล์ข้อมูลดิจิทัล และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
   
ครรชิต นิงสานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอินโนวาซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นผู้รับงานพัฒนาระบบสารสนเทศของกรมทรัพย์สินทางปัญญาอธิบายการทำงานว่า โจทย์ของงานมีสองอย่างคือ เทคโนโลยีกับระบบ เนื้องานครึ่งหนึ่งเป็นการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ดิจิทัลและนำเข้าสู่ระบบจัดเก็บ มีระยะเวลาทำงาน 10 เดือนที่จะคัดสิทธิบัตรห้าหมื่นชุดมาแปลง โดยมีพนักงาน 60 คน ใช้สแกนเนอร์ 14 เครื่องช่วยกันทำ เมื่อได้ไฟล์แล้วจึงนำเข้าระบบซึ่งจะเป็นเว็บเบส หรือการทำงานแบบเว็บ ส่วนซอฟต์แวร์ เลือกใช้ดอตเนต กับ   จาวา และอื่น ๆ ประกอบกัน
   
เมื่อโครงการนี้เสร็จในอีกสิบเดือนข้างหน้า จะลดคนทำงานเอกสารลงได้หรือไม่ ครรชิตบอกว่า คงตอบไม่ได้ เพราะขณะนี้เจ้าหน้าที่ของกรมก็มีไม่มากอยู่แล้ว แต่จะลดเวลาการทำงาน และลดความยุ่งยากในการหาไฟล์เอกสาร ที่เมื่อผู้ขอรับสิทธิบัตรมาทวงถามตามเรื่องที่ยื่นไว้ เจ้าหน้าที่จะเสียเวลาค้นเอกสาร แต่ระบบดิจิทัลก็จะลดเวลาได้ และประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้าของเอกสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
   
แต่ต้องไม่ลืมว่าการขอรับและการออกสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร เป็นกระบวนการที่มีกฎหมายวางหลักเกณฑ์วิธีการไว้ โดยทุกอย่างต้องเป็นเอกสารกระดาษ และผู้ยื่นคำขอต้องเขียนคำร้องที่กรม หรือพาณิชย์จังหวัด เสียก่อน ขั้นตอนการพัฒนาสารสนเทศครั้งนี้ จึงยังไปไม่ถึงขั้นให้ยื่นคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
   
แต่ถึงอย่างไร กรมฯ ก็แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะนำระบบไอทีมาสู่ระบบสิทธิบัตรซะที
   
คราวนี้ปัญญาที่เป็นทรัพย์สินของเราคงจะดูกระฉับกระเฉงทันสมัย ไม่น้อยหน้าใครแล้วล่ะ…
 

กรมส่งเสริมการเกษตรคัดเลือกหมู่บ้านกล้วยไม้ไทย

กรมส่งเสริมการเกษตรคัดเลือกหมู่บ้านกล้วยไม้ไทย

วันพฤหัสบดี ที่ 18 มิถุนายน 2552 เวลา 0:00 น

 

 
นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการจัดทำโครงการหมู่บ้านกล้วยไม้ไทยขึ้น โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า กล้วยไม้พื้นเมืองไทย และพัฒนาเกษตรกรในหมู่บ้านที่มีศักยภาพในการผลิตกล้วยไม้อย่างยั่งยืน
   
เป็นการสร้างรายได้เสริมแก่เกษตรกรในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังได้พิจารณาศักยภาพของพื้นที่และความพร้อมของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ด้วยนโยบายการบูรณาการร่วมกัน เพื่อดำเนินการเป็นจังหวัดนำร่อง เข้าร่วมโครงการจัดทำหมู่บ้านกล้วยไม้ไทย 5 จังหวัด 5 ภาค
   
“โครงการนี้ถือเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์กล้วยไม้ของไทยได้เป็นอย่างดี และยังสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกด้วย โดยมีจังหวัดที่ส่งเอกสารมาร่วมสมัครเป็นจำนวนมาก กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้คัดเลือก        หมู่บ้านกล้วยไม้ไทย ใน 5 จังหวัด 5 ภูมิภาคเพื่อเป็นการนำร่อง ในการร่วมกันอนุรักษ์กล้วยไม้ไทยต่อไป” นายอรรถ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว
   
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่นำร่องในการอนุรักษ์และผลิตกล้วยไม้ไทย ในโครงการหมู่บ้านกล้วยไม้ไทย ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ปลูกกล้วยไม้ หมู่ที่ 4 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ประวัติศาสตร์การผลิตกล้วยไม้แหล่งเดิมให้คงอยู่ในเขตกรุงเทพฯและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาดูงานต่อไป 2.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์เหลืองจันท์พันธุ์ไม้ตำบลฉมัน หมู่ที่ 8 ตำบลฉมัน อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อการอนุรักษ์กล้วยไม้ในพื้นที่อย่างยั่งยืน
   
3.กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์กล้วยไม้ป่าพื้นเมือง บ้านโนนคอกวัว ตำบลโคกพู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวของชุมชนให้มีการอนุรักษ์กล้วยไม้พื้นเมือง สามารถส่งเสริมให้เกิดรายได้เสริมและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ 4.บ้านน้ำกัด หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยดำเนินการบูรณาการร่วมกับโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูกล้วยไม้ท้องถิ่นของศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ 5.หมู่ที่ 5 ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โดยบูรณาการร่วมกับโครงการเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีในสภาพปลอดเชื้อ ของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง
   
“คาดว่าการดำเนินงานในโครงการนี้จะทำให้มีการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้กันมากขึ้น มีแหล่งอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า กล้วยไม้พื้นเมืองในท้องถิ่น และเกษตรกรมีความรู้ในการผลิตกล้วยไม้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้เสริมจากการเป็น      แหล่งท่องเที่ยวและจำหน่ายกล้วยไม้ต่อไป”      นายอรรถ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว.
 

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คนงานอู่เรือเสี่ยงโรคพิษตะกั่ว แนะปรับพฤติกรรมการใช้"เสน"ซ่อมเรือ

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11422 มติชนรายวัน


คนงานอู่เรือเสี่ยงโรคพิษตะกั่ว แนะปรับพฤติกรรมการใช้"เสน"ซ่อมเรือ





เตือนคนงานอู่ต่อเรือเสี่ยงโรคพิษตะกั่ว เหตุขาดความระวังในการใช้ "เสน" หากสะสมในร่างกายมากอาจถึงตาย นักวิจัยแนะปรับพฤติกรรมหมั่นดูแลตนเอง ช่วยลดความเสี่ยงปนเปื้อนสารตะกั่วสู่ครอบ ครัว

อุตสาหกรรมประมงมีสำคัญของไทยที่สร้างมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ ตลอดจนผลิตอาหารเลี้ยงดูคนไทยมานาน โดยชาวประมงอีกจำนวนมากที่ต้องอาศัยเรือไม้ในการจับสัตว์น้ำ เรือเหล่านี้เมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดรอยรั่วระหว่างแผ่นไม้กระดาน จึงจำเป็นต้องมีการซ่อมแซมทุก 1-2 ปี

ทั่วประเทศไทยมีอู่ซ่อมเรือกว่า 200 แห่ง และในภาคใต้มีทั้งสิ้น 63 แห่ง กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ยกเว้นจังหวัดพัทลุง ยะลา และนราธิวาส งานในอู่ซ่อมเรือเป็นลักษณะงานที่ปฏิบัติงานกลางแจ้ง ประกอบด้วยการทำงานหน้าที่ต่างๆ กัน เริ่มต้นจากคนงานทำหน้าที่นำเรือขึ้นคานเรือเพื่อซ่อมเรือ ขัดสีเก่าและเพรียงที่เกาะอยู่บนเรือออก เมื่อมีส่วนใดของเรือชำรุดก็ให้คนงานในหน้าที่นั้นๆ ซ่อมแซม ซึ่งประกอบไปด้วย ช่างกล, ช่างกลึง, ช่างไม้ และช่างหมัน ในส่วนของช่างไม้เมื่อมีการซ่อมแซมในส่วนของไม้ที่ผุพังหรือชำรุดแล้ว ช่างตอกหมันก็จะทำหน้าที่ในการอุดแนวรอยต่อของไม้เพื่อป้องกันไม้ผุ



ในขั้นตอนการตอกหมันนี่เอง พบว่าเป็นกระบวน การที่อาจเป็นเหตุให้คนงานหรือช่างซ่อมเรือสัมผัส "เสน" หรือปูนแดงซึ่งเป็นสารประกอบตะกั่วออกไซด์ และมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารตะกั่วและอาจเป็นโรคพิษตะกั่ว ซึ่งส่งอันตรายต่อชีวิตของคนงานและครอบครัวได้

จากผลการวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ของงานและพฤติกรรมต่อการปนเปื้อนสารตะกั่วของคนงานซ่อมเรือในอู่ต่อเรือและที่พักอาศัย" โดยอาจารย์ จำนง ธนภพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ดร.อลัน กีเตอร์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) แสดงให้เห็นว่าคนงานซ่อมเรือในอู่ต่อเรือเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะช่างเสนมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับพิษจากสารตะกั่ว โดยการปนเปื้อนจากกระบวนการทำงานซึ่งใช้ "เสน" ผสมกับน้ำมันยาง ชัน ในการอุดรอยต่อไม้กระดาน

การวิจัยพบว่า 48% ของคนงานทั้งหมด และ 67% ของช่างหมันในอู่ซ่อมเรือมีระดับสารตะกั่วในเลือดเท่ากับหรือสูงกว่าค่ามาตรฐาน นอกจากนี้คนงานยังมีพฤติกรรมที่อาจนำสารตะกั่วจากที่ทำงานกลับไปปนเปื้อนที่พักอาศัยโดยไม่รู้ตัว และจากการเก็บข้อมูลก็สามารถยืนยันได้ว่าในที่พักอาศัยของช่างหมันมีปริมาณสารตะกั่วสูง ซึ่งอาจทำให้คนในครอบ ครัวได้รับโลหะหนักนี้เข้าสู่ร่างกาย

"ปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจส่งผลต่อสุขภาพของคนงานในอู่ต่อเรือและครอบครัวไม่ใช่เพราะเขาไม่รู้ว่าสารตะกั่วเป็นอันตราย แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือเขาไม่รู้ว่า "เสน" ซึ่งช่างซ่อมเรือใช้ในขั้นตอนการอุดแนวรอยต่อของไม้กระดานเพื่อป้องกันไม้ผุนั้นมีส่วนผสมของสารตะกั่ว ซึ่งถ้าได้รับและสะสมในร่างกายเกินค่ามาตรฐานอาจมีผลต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายและเสียชีวิตได้ ดังนั้น คนงานเหล่านี้จึงขาดความระมัดระวังในการใช้เสน และที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นคือ การสัมผัสสารประกอบตะกั่วนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะในที่ทำงานเท่านั้น แต่คนงานอาจนำสารตะกั่วกลับไป ปนเปื้อนที่พักอาศัย หรืออาจติดไปกับยานพาหนะ เสื้อผ้าหรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย เนื่องจากไม่ได้อาบน้ำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนกลับบ้าน ทำให้สมาชิกในบ้าน โดยเฉพาะเด็กอาจสัมผัสสารตะกั่วและก่อให้เกิดโรค"

ดังนั้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและได้รับพิษจากสารตะกั่วของคนงาน อู่ซ่อมเรือจะต้องแบ่งโซนการทำงานที่มีเสนหรือตะกั่วแยกจากพื้นที่อื่นๆ พร้อมทั้งจัดเตรียมอ่างล้างมือ ห้องอาบน้ำ เครื่องมือป้องกัน อันตรายส่วนบุคคล เช่น หน้ากาก ถุงมือ ชุดปฏิบัติงาน รองเท้าบู๊ต แก่คนงานที่ต้องสัมผัสเสน และคนงานไม่ควรนำอาหาร-เครื่องดื่มเข้าไปรับประทานในขณะทำงาน และควรล้างมือ อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ก่อนกลับบ้านเมื่อเสร็จสิ้นจากการปฎิบัติงานในแต่ ละวัน

ที่สำคัญคือไม่ควรให้บุคคลภายนอก โดยเฉพาะเด็กเข้าเข้าไปในบริเวณที่มีการปนเปื้อนของสารตะกั่ว


หน้า 26
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01180652&sectionid=0147&day=2009-06-18

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน