บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ป่ากับชุมชน อุทยานคลองวังเจ้า

 
วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6772 ข่าวสดรายวัน


ป่ากับชุมชน อุทยานคลองวังเจ้า





มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทำโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม ในผืนป่าตะวันตก เพื่อให้เกิดรูปธรรมการมีส่วนร่วมระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่อุทยาน

เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยโครงการมุ่งเน้นการรักษาผืนป่า การส่งเสริมให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานรู้จักรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่ทำลายป่า และสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่อุทยาน กับชาวบ้านในชุมชน

มูลนิธิสืบฯ จึงเข้ามาเป็นคนกลางในการสำรวจแนวเขตพื้นที่ใช้ประโยชน์ของชาวบ้าน และแนวเขตป่าอุทยานฯ เพื่อให้ได้ข้อมูลแนวเขตที่ชัดเจนและเป็นปัจจุบัน

นายวสันต์ โพธิ์เนียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จ.กำแพงเพชร กล่าวว่า อุทยานคลองวังเจ้า มีเนื้อที่ทั้งหมด 466,875 ไร่ มีทั้งป่าดิบแล้ง ดิบเขา เบญจพรรณ ป่าสนเขา ถือเป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญ แต่ขณะนี้ภายในอุทยานฯ ประสบปัญหา เนื่องจากมีชาวเขาเผ่าม้ง และกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ 3,000 คน กระจายอยู่ในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน คือบ้านโละโคะ บ้านป่าหมาก บ้านป่าคา บ้านผาผึ้ง บ้านปางสังกะสี และบ้านมุ้งกระสัง จึงถางป่าในอุทยานฯ ทำไร่ข้าวโพด กะหล่ำปลี และพริก ต้นไม้ใหญ่ถูกโค่นไปเป็นจำนวนมาก

ต่อมาในปีพ.ศ.2537 เจ้าหน้าที่เข้าไปปักหมุดแยกแนวเขตอุทยานฯ กับแนวเขตทำกินชาวบ้าน แต่เมื่อผ่านไป 10 ปี เข้าไปสำรวจอีกครั้งพบว่า ชาวบ้านถางป่าขยายไปอีกจำนวนมาก ย้ายหลักเขตออกไปจากเดิม เรียกว่า "หลักเดินได้" พอเจ้าหน้าที่ชี้แจงกับชาวบ้านก็ถูกต่อต้าน



ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวบ้านถางป่าไปมากกว่าที่เป็นอยู่ อุทยานฯ จึงร่วมมือกับมูลนิธิสืบฯ ให้เป็นตัวกลางทำความเข้าใจกับชาวบ้าน เพื่อปักหมุดแนวเขตป่าใหม่ทั้งหมด หลังจากนั้นอุทยานฯ จะทำรายงานสรุปส่งไปยังผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจพิจารณา เพื่อหาทางออก และหาข้อยุติในเรื่องนี้อย่างเป็นขั้นตอนต่อไป

"ทำงาน 1 ปี เหมือนทำมา 10 ปี ต้องใช้ความอดทนสูงมากในการเจรจากับชาวบ้าน บางครั้งชาวบ้านไม่เข้าใจ จะให้ไปไล่ชาวบ้านออกมาจากป่า คงทำอะไรมากไม่ได้ เจ้าหน้าที่มีน้อยกว่าชาวบ้านในอัตรา 1 ต่อ 100 คงอยากต่อการปฏิบัติงาน" หัวหน้าอุทยานฯ คลองวังเจ้า กล่าว

ขณะที่ นายตะวันฉาย หงษ์วิลัย หัวหน้าภาคสนามมูลนิธิสืบฯ ทำงานรับผิดชอบในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ และจ.กำแพงเพชร เล่าว่า มูลนิธิสืบฯ มีหน้าที่ภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันผืนป่าภาคตะวันตกของประเทศไทย อุทยานฯ คลองวังเจ้าเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรักษาป่า

อุทยานฯ แห่งนี้เดิมชาวกะเหรี่ยง เผ่าม้ง อาศัยทำกินมานาน แต่ปัจจุบันมีผู้อพยพเข้ามาจับจองที่ดินทำกินอีกจำนวนมาก มีการถางป่าบนภูเขา จะไปขับไล่ออกคงเป็นเรื่องที่ลำบาก ดังนั้น จึงต้องทำให้ชาวบ้านอยู่ร่วมกับป่าโดยไม่ทำลายป่าเพิ่ม ส่วนอนาคตจะดำเนินการอย่างไรขึ้นอยู่กับภาครัฐ



โดยเมื่อต้นปี ทางมูลนิธิฯ ส่งนายโกสินธิ์ กายะบูรณ์ เจ้าหน้าที่ภาคสนาม ลงพื้นที่บ้านโละโคะ บ้านป่าหมาก และบ้านป่าคา เข้าไปเกาะติดกับชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านรู้สึกคุ้นเคย ทำให้เห็นว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของชาวบ้าน แสดงความจริงใจที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ได้ผลเป็นอย่างดี

จากนั้นทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ถึงเรื่องแนวเขตทำกินกับแนวเขตป่า ปรากฏว่าชาวบ้านทั้ง 6 หมู่บ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงตั้งคณะกรรมการแต่ละหมู่บ้านขึ้นมา ฝึกอบรมการอ่านเครื่องจีพีเอส จากนั้นเป็นขั้นตอนความร่วมมือของทั้ง 3 ฝ่าย คือเจ้าหน้าที่อุทยานฯ กรรมการหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบฯ เพื่อปักหมุดและทำสัญลักษณ์กำหนดแนวเขตป่าอุทยานฯ กับแนวเขตที่ทำกินของชาวบ้าน

ตลอดระยะเวลา 5 เดือน สามารถเก็บข้อมูล ปักหมุด ทำสัญลักษณ์กั้นแนวเสร็จเรียบร้อย กำหนดแผนที่ของหมู่บ้านในอุทยานฯ ชัดเจน หลังจากนี้จะทำประชาคมในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อทำข้อตกลงให้ชัดเจนว่า จะไม่ตัดป่าขยายที่ทำกิน จากนั้นจะทำสรุปโครงการเสนอให้อุทยานฯ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของทางราชการต่อไป

นายซ่า แสนซุ้ง ผู้ใหญ่บ้านโละโคะ เล่าว่า เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่อยู่มาก่อนจะตั้งเป็นอุทยานฯ ปัจจุบันมีประชากร 736 คน ทำไร่ทำนา พื้นที่ทำกินที่ผ่านมาก็ตกทอดตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ช่วงปี 2537 เจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจที่ทำกินของชาวบ้าน แต่สำรวจไม่ครบทุกคน อ้างว่างบประมาณสำรวจหมด พื้นที่ใดที่ชันและลำบากไม่เข้าไปตรวจวัด ให้ชาวบ้านเข้าไปปักหมุดเอง ส่วนการอ้างว่า เราตัดไม้ใหญ่ก็ไม่จริง เพราะเมื่อปีพ.ศ.2508 และปีพ.ศ.2529 รัฐบาลให้สัมปทานไม้กับบริษัทเอกชน ช่วงนั้นตัดไม้ใหญ่มีค่าไปจนหมด

"ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับชาวบ้าน ไม่มองหน้า ไม่พูดคุยกัน ชาวบ้านปลูกพืชอยู่ในพื้นที่ของชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจ นึกว่าเราถางป่า จึงเกิดปัญหากระทบกระทั่งกันมาโดยตลอด จนมูลนิธิสืบฯ เข้ามาทำโครงการกำหนดแนวที่ทำกินกับแนวป่าอุทยานฯ ทำให้ชาวบ้านเกิดความพอใจ จะได้รู้แนวเขตที่ชัดเจน ชาวบ้านจะได้อยู่ร่วมกับป่าได้" ผู้ใหญ่บ้านโละโคะ กล่าว

ปัญหาชาวบ้านอยู่ร่วมกับป่า พื้นที่ป่าอนุรักษ์ทับซ้อนกับที่ทำกินของชาวบ้าน ที่ป่าคลองวังเจ้า กำแพงเพชร ทุเลาไปเปลาะหนึ่ง เมื่อมีคนกลางเข้ามาไกล่เกลี่ย ทำความเข้าใจ

ไม่ใช่ที่คลองวังเจ้าเท่านั้น ที่มีปัญหาลักลั่นทับซ้อนของพื้นที่ป่าอนุรักษ์กับที่ดินทำกิน แต่ยังมีอยู่อีกหลายแห่งเกือบทั่วประเทศ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้านอยู่บ่อยๆ


หน้า 5
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNekUwTURZMU1nPT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdOaTB4TkE9PQ==

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน