บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Bhutan 2 : ก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงในภูฏาน

รายงานโดย :ปวีณา สิงห์บูรณา:
วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552
ก่อนหน้านี้ใครๆ ก็ทราบกันดีว่า ประเทศภูฏานนั้นปกครองกันด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั่นก็คงจะมาจากเหตุผลหลักๆ เรื่องเดียว คือ กระแสชื่นชมเจ้าชายจิกมีนั่นเอง
หลัง จากนั้นข่าวคราวของภูฏานก็ได้รับความสนใจจากคนไทยเพิ่มมากขึ้น จนเมื่อไม่นานมานี้มีอีกข่าวหนึ่งที่ได้รับการตีแผ่ไปทั่วโลก คือการประกาศสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 พระบิดาของเจ้าชายจิกมี ทำให้เจ้าชายจิกมีจึงขึ้นครองราชสมบัติแทนพระราชบิดาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2549 กลายเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก
อันที่จริงแล้วถ้าใครมีโอกาสไปที่ภูฏานแล้วถามถึงเจ้าชายจิกมี คนภูฏานคงจะทำหน้างงๆ กันสักหน่อย เพราะพระราชบิดาของพระองค์ก็ทรงมีพระนามต้นว่า จิกมี เช่นเดียวกัน คือสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก ส่วนเจ้าชายจิกมีที่เรารู้จักกันนั้น ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ดังนั้นคนภูฏานจะเรียกพระบิดาของพระองค์ว่า เดอะโฟร์ทคิง (The 4th king) และเรียกเจ้าชายจิกมีว่า เดอะฟิฟท์คิง (The 5th king) อันนี้ก็ให้รู้เผื่อไว้ก็แล้วกัน ส่วนเรื่องราวที่เราจะนำมาเล่ากันในวันนี้เป็นเรื่องของก้าวย่างแห่งการ เปลี่ยนแปลงของประเทศภูฏาน ว่ากันด้วยประเด็นของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์มาสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่งมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และมีสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย จะประกอบไปด้วยสมาชิก 161 คน (สมาชิก 106 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน+สมาชิก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์)
กล่าวกันว่า จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศนั้นมาจากสายพระเนตรอันยาวไกล ของสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 ที่ทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์อันใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ จึงทรงริเริ่มการเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารราชการแผ่นดิน จากเดิมที่พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ให้เปลี่ยนรูปแบบเสียใหม่ โดยให้มีหัวหน้ารัฐบาลดูแลบริหารประเทศแทน และกำหนดให้มีสภาคณะมนตรีขึ้นมาประกอบการบริหารประเทศร่วมด้วย เพื่อเป็นการกระจายอำนาจการปกครองและลดการรวมศูนย์ไว้ที่พระมหากษัตริย์ เพียงพระองค์เดียว
สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก (The 4th king) ทรงประกาศสละราชสมบัติให้แก่มกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 เนื่องจากทรงเห็นว่าภูฏานกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบอบการปกครอง ประเทศแบบเดิม ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ดังนั้น จึงจำเป็นที่มกุฎราชกุมาร (ในตอนนั้นเจ้าชายจิกมียังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร) ทรงจะต้องเรียนรู้ประสบการณ์ที่แท้จริงในการบริหารประเทศ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในฐานะพระประมุขของประเทศ
ในช่วงแรกๆ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ประชาชนชาวภูฏานไม่ค่อยเต็มใจยอมรับสักเท่าไร เนื่องจากยังขาดความเข้าใจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และเห็นว่าการปกครองเดิมที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็ทำให้ประชาชนมีความ สุขดีอยู่แล้ว ทำให้สมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 และมกุฎราชกุมารจิกมี (ในตอนนั้น) ทรงเสด็จพระราชดำเนินออกชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนว่า การเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ประเทศยังสงบและประชาชนมีความสุข ย่อมได้ผลดีกว่าในช่วงที่ประเทศประสบปัญหา เนื่องจากจะได้มีเวลาปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่างๆ ด้วยความรอบคอบ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วประชาชนชาวภูฏานก็มีความเข้าใจและยอมรับในการเปลี่ยนแปลง นี้
การ เลือกตั้งครั้งแรกของภูฏานเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2550 ที่ผ่านมา เป็นการเลือกตั้งวุฒิสภาครั้งแรกของประเทศ และวันที่ 24 มี.ค. 2551 ก็มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศเช่น กัน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสู่ความเป็น ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ และผลการเลือกตั้งทำให้ประเทศภูฏานได้นายกรัฐมนตรีคนแรกภายใต้ระบอบ ประชาธิปไตยที่ชื่อว่า เลียนเชน จิกมี วาย ทินเลย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเป็นอดีตรัฐมนตรีอีก หลายกระทรวง และที่สำคัญยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ Gross National Happiness (GNH) อันเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศที่ริเริ่มในสมัยสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 แห่งภูฏาน
หลังจากที่การเปลี่ยนแปลงเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ทางรัฐบาลภูฏานจึงได้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 และงานฉลองครบรอบ 100 ปี ราชวงศ์วังชุก ระหว่างวันที่ 68 พ.ย. 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการเผยแพร่พระราชพิธีในพระราชสำนักภูฏานให้สาธารณชน ได้รับทราบกันทั่วโลก โดยโอกาสนี้ทางรัฐบาลไทย นำโดยสถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรภูฏาน และกรมเอเชียใต้ฯ เป็นแม่งานหลักในการจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นในวันที่ 2025 พ.ย. 2551 พร้อมกันนี้ก็ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอีกหลายหน่วย งาน อาทิ สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (TICA) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิษณุโลก โดยถือเอาโอกาสนี้เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้น มากยิ่งขึ้น มีการนำการแสดงศิลปวัฒนธรรมของไทยไปเผยแพร่ให้คนภูฏานได้ชื่นชมกัน รวมถึงทีมงานโลก 360 องศาของเราก็ได้มีโอกาสไปร่วมในงานนี้ด้วยเช่นกัน
ย้อนกลับไปถึงงานบรมราชาภิเษกที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 68 พ.ย. 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่บรรยากาศของภูฏานทั้งประเทศเต็มเปี่ยมไปด้วยสีสันสดใสของชุด แต่งกายแบบพื้นเมืองปนกับรอยยิ้มแห่งความปีติยินดีของคนทั้งชาติ กับโอกาสครั้งสำคัญที่จะได้ชื่นชมพระบารมีของกษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของ พวกเขาถึง 2 พระองค์พร้อมๆ กัน โดยพระราชพิธีวันแรกจัดขึ้นที่ Tashichho Dzong ในเมืองหลวงทิมพู มีพระบรมวงศานุวงศ์ และแขกบ้านแขกเมืองคนสำคัญมาร่วมในพระราชพิธีกันอย่างคับคั่ง ภาพความประทับใจที่คงอยู่ในความทรงจำของคนทั้งประเทศเห็นจะเป็นภาพที่ กษัตริย์ทรงสวมมงกุฎให้กับกษัตริย์ ซึ่งไม่ค่อยจะมีปรากฏให้เห็นมากนักในประวัติศาสตร์
อีก ภาพความประทับใจที่มีการกล่าวขานกันไปทั้งประเทศ คือ ช่วงที่เสร็จพระราชพิธีการด้านในห้องบัลลังก์ทอง ขณะเสด็จออกเพื่อไปยังห้องบัลลังก์พิธีอีกห้องหนึ่ง ในระหว่างที่จะเสด็จออกนั้น สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงทูลเชิญสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก เสด็จนำ แต่พระราชบิดาทรงปฏิเสธ และทรงให้พระองค์เสด็จนำ เสมือนหนึ่งจะยืนยันว่า พระราชบิดาทรงมอบพระราชอำนาจให้ทั้งหมดอย่างแท้จริง แม้สมเด็จพระราชาธิบดีที่ 5 จะทรงยืนยันถวายพระเกียรติ พระราชบิดาก็ไม่ทรงรับ สุดท้ายสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 5 ก็ตัดสินพระทัยเสด็จนำ เสมือนหนึ่งว่าทรงเข้าพระทัยและยอมรับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่บนเส้นทางของ การขึ้นสู่ตำแหน่งประมุขแห่งราชอาณาจักรภูฏานเป็นอย่างดี
ในช่วงบ่ายของวันเดียวกันนั้น พระราชาธิบดีที่ 5 เสด็จออกพบประชาชนหลายหมื่นคนที่มารอเฝ้าชมพระบารมี หลังจากทรงรับผ้าถวายพระพรจากพสกนิกรที่มาเข้าเฝ้า จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนทีละแถวจนครบถ้วนทุกคน สร้างความปีติยินดีให้กับประชาชนชาวภูฏานเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกเขาสัมผัสได้ด้วยหัวใจว่า กษัตริย์ของพวกเขาทรงเห็นความสำคัญของประชาชนเท่าเทียมกันทุกชนชั้น
วันที่ 2 และ 3 ของพระราชพิธี จัดขึ้นที่สนามกีฬากลางแจ้งในเมืองทิมพู โดยพสกนิกรจากทั่วทุกสารทิศยังคงหลั่งไหลมาร่วมในพิธีกันตั้งแต่เช้าตรู่ พิธีการในวันนี้เป็นการสวนสนามของเหล่าทัพ ประกอบกับพิธีการอื่นตามโบราณราชประเพณี ช่วงหนึ่งของพระราชพิธีที่สะกดทุกหัวใจของชาวภูฏานให้สงบนิ่งฟังอย่างประทับ ใจ เห็นจะเป็นความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 5 ที่มีใจความว่า
"ใช่ว่าเราเป็นกษัตริย์แล้วเราจะขอสิ่งเหล่านี้จากพวกท่าน เป็นชะตาลิขิตที่นำพาเรามาอยู่ตรงนี้ เรารู้สึกขอบคุณอย่างมาก และด้วยความรู้สึกต่ำต้อยเป็นที่ยิ่งในความอ่อนวัยของตัวเอง เราคิดว่าหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของเราก็คือการรับใช้ประชาชนและประเทศชาติ ที่แสนพิเศษของเรา
"ตลอดการปกครองของเรา เราจะไม่ปกครองท่านเยี่ยงเจ้าชีวิต แต่เราจะปกป้องพวกท่านเยี่ยงบิดา มารดา ห่วงใยท่านดังพี่ชาย และรับใช้ท่านดังบุตรชาย เราจะมอบทุกอย่างให้พวกท่าน และเราจะไม่เก็บอะไรไว้เลย เราจะใช้ชีวิตเยี่ยงมนุษย์ที่ดีคนหนึ่ง ที่พวกท่านอาจจะเห็นว่าพอจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับบุตรหลานของท่านได้ เราไม่มีจุดมุ่งหมายส่วนตัวอื่นใด นอกเสียจากความปรารถนาของพวกท่าน เราจะรับใช้พวกท่านเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกลางวัน กลางคืน ด้วยความเมตตา ยุติธรรม และเท่าเทียมกัน"
ภูฏานในวันนี้ ผ่านพ้นก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงมาเต็มรูปแล้ว และเป็นการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด การปกครองรูปแบบใหม่ และกษัตริย์หนุ่มพระองค์ใหม่ที่ทรงพระเยาว์ที่สุดในโลก แถมยังทรงพระปรีชาสามารถ และเป็นที่เคารพรักของประชาชนทั้งประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ประเทศอื่นๆ จะวุ่นวายและวิตกกังวลกันทั่วหน้าด้วยพิษเศรษฐกิจ ในขณะที่คนภูฏานยังยิ้มกันได้อย่างทั่วหน้า โดยมิได้สะทกสะท้านอะไรกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในระบบทุนนิยม นั่นอาจจะเป็นเพราะว่า พวกเขามี GNH เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และพวกเขามีศูนย์รวมจิตใจถึง 2 พระองค์
http://www.posttoday.com/travel.php?id=28146



What can you do with the new Windows Live? Find out

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน