บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ตะลึง!"ฟ้าผ่า"เดือนละ 1 แสนครั้ง "ร่มเหล็กแหลม"เป็นตัวล่อชั้นดี



Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
 
 
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11431 มติชนรายวัน


ตะลึง!"ฟ้าผ่า"เดือนละ 1 แสนครั้ง "ร่มเหล็กแหลม"เป็นตัวล่อชั้นดี




เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานเสวนาเรื่อง "ฟ้าผ่า ข้อเท็จจริงที่ควรรู้" โดยมี ดร.คมสัน เพ็ชรรักษ์ หัวหน้าห้องจำลองฟ้าผ่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสรรเสริญ ทรงเผ่า วิศวกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นายกิตติ เพ็ชรสันทัด หัวหน้ากองเทคโนโลยีสายส่งและการบิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ฯลฯ เข้าร่วมเสวนา

โดย ดร.คมสันกล่าวว่า ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้เมฆฝนฟ้าคะนอง และก่ออันตรายต่อมนุษย์ได้ สำหรับวัตถุที่เป็นตัวทำให้ฟ้าผ่าใส่มนุษย์มากที่สุด คือ วัตถุที่อยู่สูงเหนือจากศีรษะมนุษย์ขึ้นไป โดยเฉพาะสิ่งของที่มีปลายแหลม อาทิ ร่มที่ด้านปลายบนสุดเป็นเหล็กแหลม เป็นต้น ส่วนกรณีโทรศัพท์มือถือ ไม่นับว่าเป็นสื่อล่อฟ้า เพราะโทรศัพท์เวลาใช้งานจะอยู่ต่ำกว่าตัวคน ที่สำคัญพลังงานของสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่สามารถทำให้อากาศแตกตัวเป็นตัวนำได้ ดังนั้น โทรศัพท์มือถือจึงไม่ใช่สื่อล่อฟ้าผ่า แต่หากใช้ช่วงฝนฟ้าคะนอง ก็เสี่ยงเพราะน้ำเข้าทำให้แบตเตอรี่เกิดการลัดวงจร

นายสรรเสริญกล่าวว่า ประเด็นที่น่าสนใจและควรพึงระวังในขณะนี้คือ ประชาชนมีการติดตั้งจานดาวเทียมจำนวนมากโดยไม่มีการต่อสายดิน เมื่อเกิดฟ้าผ่าลงเสาไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียง จะทำให้เกิดสนามไฟฟ้าออกมาด้วย ซึ่งจานดาวเทียมหรือเสาอากาศทีวีที่อยู่ใกล้จะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามา และจะวิ่งเข้าสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต่อกับปลั๊กไฟส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเกิดความเสียหาย

นายกิตติ กล่าวว่า ข้อมูลช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีข้อมูลบ่งชี้ว่าสภาพการเกิดฟ้าผ่าค่อนข้างสูงขึ้นและรุนแรงมากขึ้น เครื่องเซ็นเซอร์จากระบบการตรวจวัดค่าการเกิดฟ้าผ่าและพายุฝนฟ้าคะนอง กฟผ.ตรวจจับจำนวนที่ฟ้าผ่าลงมาในประเทศไทยมีเฉลี่ย 100,000 ครั้งต่อเดือน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพอากาศแปรปรวนกลางวันร้อนสูง บวกกับช่วงกลางคืนที่ฝนตกหนักฟ้าคะนองทำให้กระแสฟ้าผ่ามีค่าความรุนแรงค่อนข้างสูงขึ้น และจะสูงขึ้นมากในช่วงมรสุม ช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูฝนที่มีลมมรสุมพัดผ่าน เป็นมรสุมในพื้นทวีปพาดผ่านประเทศไทย ทั้งนี้ พื้นที่เสี่ยงฟ้าผ่าคือพื้นที่สูงตามป่าเขาที่ฝนตกชุกและอยู่ระหว่าง 2 ฝั่งมหาสมุทรที่มีความชื้นของน้ำทะเลเป็นตัวนำให้เกิดฟ้าผ่า จ.จันทบุรี จ.ตราด ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ส่วนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จะพบเห็นฟ้าผ่าลงบริเวณต้นไม้สูง อาคารสูง และหอคอยสูง ซึ่งจุดเหล่านี้ถูกป้องกันโดยระบบล่อฟ้าไว้แล้วไม่ต้องกังวล

หน้า 5

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lif01270652&sectionid=0132&day=2009-06-27



check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน