ความตระหนักในทรัพย์สินทางปัญญาขยายกว้างออกไปทุกที จนเดี๋ยวนี้ ความรับรู้ ความต้องการให้ผลผลิตจากความคิด ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร เพื่อหาประโยชน์ทางการค้าและช่วยให้สังคมได้นำเอาไปใช้สร้างคุณค่าในด้านต่าง ๆ มีเยอะขึ้น
แต่การขอรับสิทธิบัตร ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เฉพาะการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หรือเป็นการประดิษฐ์ ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม รวมถึงการขอรับอนุสิทธิบัตร ซึ่งเป็นหนังสือสำคัญ ที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ สำหรับการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หรือเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาห กรรม มีกระบวนการขั้นตอนซึ่งต้องใช้เวลา ส่งผลให้การออกสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรล่าช้าไปด้วย
ประมาณว่ากว่าจะได้สิทธิบัตรงานประดิษฐ์ ก็ต้องรอกันอย่างน้อยสามปี
ส่วนที่เสียเวลามากที่สุด คือการขอตรวจสอบไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ว่างานที่มาขอรับสิทธิบัตรทุกรายเคยมีผู้ขอหรือมีใครถือสิทธิบัตรไว้แล้วบ้าง
กรมทรัพย์สินทางปัญญา พยายามแก้ปัญหาเพื่อลดเวลาการออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ซึ่งระบบไอทีจะช่วยลดความยุ่งยาก แก้ปัญหาความซับซ้อนของเอกสารได้เป็น อย่างดี แต่การจะเอามาใช้ ก็ต้องคำนึงถึงเอกสารสิทธิบัตรที่มีอยู่หนึ่งแสนห้าหมื่นเรื่อง และเรื่องที่ยื่นขอใหม่ปีละเป็นพัน แต่ก็พยายามทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งก็ได้หน้าเว็บเพจสำหรับการสืบค้นสิทธิบัตรที่มีอยู่แล้วจาก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลี และอียู ทั้งสามารถสืบค้นเปเตนท์แมปปิ้ง หรือแผนที่ สิทธิบัตร หรือสิทธิบัตรอื่นที่เกี่ยวข้องได้ เช่นในรถยนต์หนึ่งคันจะมีสิทธิบัตรของชิ้นส่วน ต่าง ๆ จำนวนมาก
ขณะนี้ การปรับปรุงฐานข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศ มาถึงขั้นตอนที่ 3 เป็นการแปลงเอกสารสิทธิบัตรต่าง ๆ จากกระดาษเป็นไฟล์ข้อมูลดิจิทัล และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
ครรชิต นิงสานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอินโนวาซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นผู้รับงานพัฒนาระบบสารสนเทศของกรมทรัพย์สินทางปัญญาอธิบายการทำงานว่า โจทย์ของงานมีสองอย่างคือ เทคโนโลยีกับระบบ เนื้องานครึ่งหนึ่งเป็นการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ดิจิทัลและนำเข้าสู่ระบบจัดเก็บ มีระยะเวลาทำงาน 10 เดือนที่จะคัดสิทธิบัตรห้าหมื่นชุดมาแปลง โดยมีพนักงาน 60 คน ใช้สแกนเนอร์ 14 เครื่องช่วยกันทำ เมื่อได้ไฟล์แล้วจึงนำเข้าระบบซึ่งจะเป็นเว็บเบส หรือการทำงานแบบเว็บ ส่วนซอฟต์แวร์ เลือกใช้ดอตเนต กับ จาวา และอื่น ๆ ประกอบกัน
เมื่อโครงการนี้เสร็จในอีกสิบเดือนข้างหน้า จะลดคนทำงานเอกสารลงได้หรือไม่ ครรชิตบอกว่า คงตอบไม่ได้ เพราะขณะนี้เจ้าหน้าที่ของกรมก็มีไม่มากอยู่แล้ว แต่จะลดเวลาการทำงาน และลดความยุ่งยากในการหาไฟล์เอกสาร ที่เมื่อผู้ขอรับสิทธิบัตรมาทวงถามตามเรื่องที่ยื่นไว้ เจ้าหน้าที่จะเสียเวลาค้นเอกสาร แต่ระบบดิจิทัลก็จะลดเวลาได้ และประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้าของเอกสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
แต่ต้องไม่ลืมว่าการขอรับและการออกสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร เป็นกระบวนการที่มีกฎหมายวางหลักเกณฑ์วิธีการไว้ โดยทุกอย่างต้องเป็นเอกสารกระดาษ และผู้ยื่นคำขอต้องเขียนคำร้องที่กรม หรือพาณิชย์จังหวัด เสียก่อน ขั้นตอนการพัฒนาสารสนเทศครั้งนี้ จึงยังไปไม่ถึงขั้นให้ยื่นคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
แต่ถึงอย่างไร กรมฯ ก็แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะนำระบบไอทีมาสู่ระบบสิทธิบัตรซะที
คราวนี้ปัญญาที่เป็นทรัพย์สินของเราคงจะดูกระฉับกระเฉงทันสมัย ไม่น้อยหน้าใครแล้วล่ะ…
แต่การขอรับสิทธิบัตร ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เฉพาะการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หรือเป็นการประดิษฐ์ ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม รวมถึงการขอรับอนุสิทธิบัตร ซึ่งเป็นหนังสือสำคัญ ที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ สำหรับการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หรือเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาห กรรม มีกระบวนการขั้นตอนซึ่งต้องใช้เวลา ส่งผลให้การออกสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรล่าช้าไปด้วย
ประมาณว่ากว่าจะได้สิทธิบัตรงานประดิษฐ์ ก็ต้องรอกันอย่างน้อยสามปี
ส่วนที่เสียเวลามากที่สุด คือการขอตรวจสอบไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ว่างานที่มาขอรับสิทธิบัตรทุกรายเคยมีผู้ขอหรือมีใครถือสิทธิบัตรไว้แล้วบ้าง
กรมทรัพย์สินทางปัญญา พยายามแก้ปัญหาเพื่อลดเวลาการออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ซึ่งระบบไอทีจะช่วยลดความยุ่งยาก แก้ปัญหาความซับซ้อนของเอกสารได้เป็น อย่างดี แต่การจะเอามาใช้ ก็ต้องคำนึงถึงเอกสารสิทธิบัตรที่มีอยู่หนึ่งแสนห้าหมื่นเรื่อง และเรื่องที่ยื่นขอใหม่ปีละเป็นพัน แต่ก็พยายามทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งก็ได้หน้าเว็บเพจสำหรับการสืบค้นสิทธิบัตรที่มีอยู่แล้วจาก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลี และอียู ทั้งสามารถสืบค้นเปเตนท์แมปปิ้ง หรือแผนที่ สิทธิบัตร หรือสิทธิบัตรอื่นที่เกี่ยวข้องได้ เช่นในรถยนต์หนึ่งคันจะมีสิทธิบัตรของชิ้นส่วน ต่าง ๆ จำนวนมาก
ขณะนี้ การปรับปรุงฐานข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศ มาถึงขั้นตอนที่ 3 เป็นการแปลงเอกสารสิทธิบัตรต่าง ๆ จากกระดาษเป็นไฟล์ข้อมูลดิจิทัล และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
ครรชิต นิงสานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอินโนวาซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นผู้รับงานพัฒนาระบบสารสนเทศของกรมทรัพย์สินทางปัญญาอธิบายการทำงานว่า โจทย์ของงานมีสองอย่างคือ เทคโนโลยีกับระบบ เนื้องานครึ่งหนึ่งเป็นการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ดิจิทัลและนำเข้าสู่ระบบจัดเก็บ มีระยะเวลาทำงาน 10 เดือนที่จะคัดสิทธิบัตรห้าหมื่นชุดมาแปลง โดยมีพนักงาน 60 คน ใช้สแกนเนอร์ 14 เครื่องช่วยกันทำ เมื่อได้ไฟล์แล้วจึงนำเข้าระบบซึ่งจะเป็นเว็บเบส หรือการทำงานแบบเว็บ ส่วนซอฟต์แวร์ เลือกใช้ดอตเนต กับ จาวา และอื่น ๆ ประกอบกัน
เมื่อโครงการนี้เสร็จในอีกสิบเดือนข้างหน้า จะลดคนทำงานเอกสารลงได้หรือไม่ ครรชิตบอกว่า คงตอบไม่ได้ เพราะขณะนี้เจ้าหน้าที่ของกรมก็มีไม่มากอยู่แล้ว แต่จะลดเวลาการทำงาน และลดความยุ่งยากในการหาไฟล์เอกสาร ที่เมื่อผู้ขอรับสิทธิบัตรมาทวงถามตามเรื่องที่ยื่นไว้ เจ้าหน้าที่จะเสียเวลาค้นเอกสาร แต่ระบบดิจิทัลก็จะลดเวลาได้ และประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้าของเอกสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
แต่ต้องไม่ลืมว่าการขอรับและการออกสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร เป็นกระบวนการที่มีกฎหมายวางหลักเกณฑ์วิธีการไว้ โดยทุกอย่างต้องเป็นเอกสารกระดาษ และผู้ยื่นคำขอต้องเขียนคำร้องที่กรม หรือพาณิชย์จังหวัด เสียก่อน ขั้นตอนการพัฒนาสารสนเทศครั้งนี้ จึงยังไปไม่ถึงขั้นให้ยื่นคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
แต่ถึงอย่างไร กรมฯ ก็แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะนำระบบไอทีมาสู่ระบบสิทธิบัตรซะที
คราวนี้ปัญญาที่เป็นทรัพย์สินของเราคงจะดูกระฉับกระเฉงทันสมัย ไม่น้อยหน้าใครแล้วล่ะ…
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น