บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กระเบนราหู ปลาปริศนา

วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6772 ข่าวสดรายวัน


กระเบนราหู ปลาปริศนา


นุเทพ สารภิรมย์






"กระเบนราหู" เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวใหญ่สุดสามารถหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม กว้างได้ถึง 3 เมตร พบครั้งแรกในแม่น้ำเจ้าพระยา จึงถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Himantura chaophraya"

จัดเป็นปลากระเบนที่อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) เป็นปลากระเบนชนิดที่มีหางเรียวยาวเหมือนแส้ (Whiptail StingRay)

ส่วนที่มาของชื่อ "ราหู" เกิดจากปลากระเบนมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กลม เหมือนความเชื่อของคนโบราณในเรื่องราหูกำลังอมดวงจันทร์

ลักษณะปลากระเบน ขอบด้านหน้าส่วนหัวคล้ายใบโพ ลำตัวเกือบเป็นรูปกลม กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ด้านบนของปีกและตัว เป็นสีเทาหรือน้ำตาล ส่วนหางยาวสีคล้ำ มีเงี่ยงแหลมที่โคนหาง 2 ชิ้น ด้านล่างของตัวมีสีขาวนวล ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ

ปลาชนิดนี้ พบในแม่น้ำสายใหญ่ ทั้งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำโขง หากินบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ

ส่วนเรื่องถิ่นอาศัยอยู่บริเวณใด การผสมพันธุ์เป็นอย่างไร ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงใด ตั้งท้องกี่เดือน ออกครั้งละกี่ตัว ผสมพันธุ์เมื่ออายุเท่าไหร่ ยังคงเป็นปริศนาสำหรับนักสัตวแพทย์มาจนถึงทุกวันนี้

ช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทีมงานคณะสัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญการ สามารถจับปลากระเบนได้ในแม่น้ำแม่กลอง ที่บริเวณหน้าวัดใหญ่ จ.สมุทรสงคราม



เนื่องจากแม่น้ำแม่กลองช่วงนี้มีความกว้าง และลึกที่สุด จึงเหมาะที่จะจับปลากระเบนราหู เมื่อมาถึงที่หมายได้จอดทอดสมอกลางแม่น้ำแม่กลองนานกว่า 1 ชั่วโมง ปลากระเบนราหูจึงเข้ามากินเหยื่อ แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าว เป็นช่วงที่น้ำลึกถึง 7 เมตร จึงเป็นเรื่องยากที่จะดึงปลากระเบนขึ้นมาโดยง่าย

ทีมงานตกปลา 4 คน ต้องสลับสับเปลี่ยนกัน ดึงเบ็ดสู้กับแรงของปลากระเบนราหู ใช้เวลา 1 ชั่วโมงกว่า จึงสามารถดึงปลากระเบนขึ้นมาบนผิวน้ำได้ หลังจากนั้นนำเรือไปจอดริมตลิ่ง เพื่อเก็บตัวอย่างข้อมูลจากปลากระเบนราหูตามขึ้นตอน

ดร.นันทริกา เล่าว่า สมัยก่อนเป็นเรื่องยากมาก ที่จะจับปลากระเบนราหูโดยการตกเบ็ด เพราะถ้าหากมีสิ่งแปลกปลอมเกี่ยว หรือดึงตัวมันขึ้นมา ปลากระเบนจะดูดติดกับพื้นแม่น้ำทันที บวกกับความใหญ่ของลำตัวที่มีรูปร่างคล้ายจานบิน จึงเป็นการยากที่จะตกปลากระเบนราหูได้จากแม่น้ำสายใหญ่ นอกเสียจากปลากระเบนราหูจะว่ายมาติดแหหรืออวนของชาวบ้านขึ้นมาเอง

แต่ในปัจจุบันการตกปลากระเบนราหูสามารถทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากได้ความรู้จาก นายริก ฮัมฟรีย์ส ผู้เชี่ยวชาญในการตกปลากระเบน มาแนะนำให้ความรู้ในการจับปลากระเบน สำหรับเหยื่อล่อที่ใช้ตกปลากระเบนคือ ปลาช่อน และปลาบู่



ดร.นันทริกา อธิบายว่า การจับปลากระเบนราหูในครั้งนี้ เพื่อนำผลมาศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีผลการศึกษาของปลากระเบนในไทย จึงไม่รู้ว่าปลาเหล่านี้มีวิถีชีวิตอย่างไร อพยพหรือว่ายไปไหนบ้าง เนื่องจากปลากระเบนราหูอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด

สำหรับปลากระเบนราหูที่ตกได้เป็นเพศเมีย ถือว่าใหญ่มาก แต่ยังไม่ใหญ่ที่สุด วัดจากส่วนหัวถึงปลายหางยาว 403 เซนติเมตร จากหัวถึงกระดูกเชิงกราน 188 เซนติเมตร กว้าง 201 เซนติเมตร น้ำหนัก 240 กิโลกรัม แข็งแรงสมบูรณ์

นอกจากนี้เรายังได้เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปศึกษา เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อตรวจดีเอ็นเอ ตรวจหาพยาธิ ปรสิต รวมถึงฝังไมโครชิพ รหัสหมายเลข 2820 หากมีนักวิจัยจับได้ จะได้รู้ว่ามีการเก็บข้อมูลไว้เบื้องต้นแล้ว

อีกทั้งยังเก็บตัวอย่างเมือกที่เป็นพิษมาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อหวังว่าจะทำเป็นเซรุ่มรักษาได้ในอนาคต เพราะขณะนี้ยังไม่มีที่ใดในโลกนี้คิดค้นทำเซรุ่มแก้พิษปลากระเบนราหูได้ หากใครถูกพิษปลากระเบนราหูแล้วมีอาการแพ้ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากสามารถทำได้จะถือว่าเป็นประเทศแรกของโลก ที่ผลิตเซรุ่มปลากระเบนได้

สภาพแวดล้อมของแม่น้ำแม่กลอง ที่ปลากระเบนอาศัยอยู่ยังคงความสมบูรณ์ของธรรมชาติ แต่หากอนาคตไม่รักษาสภาพแม่น้ำให้สะอาดอย่างทุกวันนี้ จะกระทบโดยตรงต่อปลากระเบนราหู เนื่องจากปลากระเบนจะซุกตัวอยู่ในโคลนใต้แม่น้ำ หากปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ ตะกอนพิษจะนอนอยู่ก้นแม่น้ำ ปลากระเบนจะได้รับสารพิษโดยตรง

สาเหตุและปัจจัยนี้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของปลากระเบนราหู เพราะขณะเราไม่รู้เลยว่า ปลากระเบนในประเทศไทยมีจำนวนเท่าไหร่ วงจรชีวิตพัฒนาอย่างไร จึงต้องเร่งศึกษาก่อนที่จะไม่มีปลากระเบนให้ศึกษา

ถือเป็นความโชคดีของปลากระเบนราหู ที่ยังคงมีอยู่ได้จนปัจจุบัน ส่วนหนึ่งความเชื่อแต่โบราณว่า หากใครพบเห็นปลากระเบนราหู หรือมันไปโผล่ขึ้นมาที่ท่าน้ำบ้านใคร ถือเป็นเรื่องที่ไม่ดี จะประสบพบพานแต่สิ่งไม่ดี ทำให้ไม่มีใครกล้าที่จะจับปลากระเบนขึ้นมา

แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ความเชื่อก็เปลี่ยนไปเช่นกัน มีไม่น้อยที่ถูกล่ามาเป็นอาหาร ประกอบกับสภาพแวดล้อมใต้ท้องน้ำเปลี่ยนไป จึงเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

หวังว่าการพบปลากระเบนราหูตัวล่าสุดนี้ จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้รู้จักวิถีชีวิตของมันมากขึ้น และนั่นจะส่งผลต่อไปว่า เราจะช่วยกันอนุรักษ์ให้มันรอดต่อการสูญพันธุ์ได้อย่างไร

หน้า 5
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNakUwTURZMU1nPT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdOaTB4TkE9PQ==

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน