วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11412 มติชนรายวัน ยุทธศาสตร์"กัลกัตตา" และ" 8 รัฐอีสาน"ของอินเดีย ลู่ทางการค้าที่"ไทย"ไม่ควรมองข้าม
แม้ในปลายปีที่แล้วจนถึงปีนี้ทั้งจีนและอินเดียจะประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่อินเดียก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ยังสามารถรักษาการเติบโตเศรษฐกิจเอาไว้ในแดนบวกเช่นเดียวกับจีนเพราะการที่ขนาดการบริโภคภายในประเทศมีสูง พึ่งพาการส่งออกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ จึงได้รับแรงกระแทกจากโลกภายนอกน้อยกว่า อินเดียเป็นหนึ่งในตลาดที่ไทยจำเป็นต้องรุกอย่างจริงจังเพราะโอกาสยังมีอีกมาก โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีการตั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศครบในทุกภาคของอินเดียแล้ว โดยภาคกลางตั้งอยู่กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ภาคตะวันตกตั้งอยู่ที่เมืองมุมไบ ภาคใต้ตั้งอยู่ที่เมืองเชนไน แต่ยังขาดอยู่ภาคเดียวที่ไทยยังไม่ได้ไปตั้งสำนักงานส่งเสริมการค้า นั่นก็คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งมีอยู่ 8 รัฐ ธราดล ทองเรือง ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี อินเดีย ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยควรมีการตั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าใน 8 รัฐภาคอีสานของอินเดียมาก โดยยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมที่ไทยจะตั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าก็คือเมืองกัลกัตตา เมืองหลวงเก่าของอินเดีย (อยู่ในรัฐเวสต์เบงกอล) เพราะเหมาะสมที่จะใช้เป็นศูนย์กลางเชื่อมไปยัง 8 รัฐอีสานของอินเดีย เนื่องจากกัลกัตตามีสาธารณูปโภคพื้นฐานพร้อมมาก ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือ สนามบินนานาชาติ หากบินจากกรุงเทพฯไปกัลกัตตาจะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงครึ่ง หรือประมาณเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับบินไปยังนิวเดลี ที่สำคัญไปกว่านั้น กัลกัตตายังเป็นชัยภูมิเหมาะสำหรับการเชื่อมการค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านของอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ เนปาล ภูฐาน เจ้าหน้าที่ที่นั่นของไทยเคยผลักดันมาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่รัฐบาลก่อนในการตั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าในเมืองกัลกัตตา แต่เรื่องยังเงียบไป ทั้งที่สถานกงสุลไทยในเมืองกัลกัตตาก็ยินดีจะให้ยืมสถานที่ทำเป็นสำนักงาน ไม่แน่ใจว่าเรื่องไปติดขัดอยู่ที่ใด โดยกิจกรรมสุดท้ายในการขยายการค้ากับ 8 รัฐในอินเดีย เกิดขึ้นสมัยนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นำนักลงทุนไปเยือนเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว กล่าวสำหรับ 8 รัฐอีสานของอินเดีย ดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย 1.อรุณาจัลประเทศ 2.อัสสัม 3.มณีปุระ 4.เมฆกัลยา 5.มิโซรัม 6.นากาแลนด์ 7.สิกขิม 8.ตรีปุระ นั้นมีความน่าสนใจในการลงทุน เนื่องจากคนในภูมิภาคนี้หน้าตาคล้ายคนไทย นิยมรับประทานอาหารและใช้สินค้าไทย เพราะในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะรัฐอัสสัมมีชนพื้นเมืองอินเดียที่เรียกว่ากลุ่มคนไท อยู่ 4-5 กลุ่ม เช่น ไทอาหม ไทคำตี่ ไทคำยัง ที่ภาษาบางส่วนคล้ายคลึงกับภาษาไทย สินค้าไทยที่คนในภาคอีสานของอินเดียชื่นชอบ นอกจากอาหารแล้วยังมีเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ ภาคอีสานของอินเดียยังเป็นประตูไปสู่ตลาดเอเชียตะวันออกคือจีนผ่านประเทศพม่าสู่ตลาดอาเซียน และตลาดเอเชียใต้สู่บังกลาเทศและภูฏาน ในส่วนของการเชื่อมจากภาคอีสานของอินเดียไปยังพม่านั้น สามารถทำได้โดยทางบกหรือทางถนนซึ่งสามารถทะลุถึงเมืองมัณฑะเลย์หรือเมียววดีได้ ขณะนี้สินค้าจากไทยก็ถูกลำเลียงเข้าสู่ภาคอีสานของอินเดียโดยผ่านประเทศพม่าอยู่แล้ว นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ภาคอีสานของอินเดียถือว่ามีศักยภาพและปัจจัยเกื้อหนุนที่จะรองรับการลงทุนของต่างชาติ เพราะมีความมั่งคั่งทางทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายโดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ มรดกและวัฒนธรรม มีแรงงานราคาถูกจำนวนมาก รัฐบาลกลางประเทศประกาศให้เป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรม โดยปลอดภาษีเป็นเวลา 10 ปี รัฐบาลให้การช่วยเหลือด้านการขนส่ง เงินลงทุน รับประกันความเสี่ยงเป็นต้น และทุกรัฐมีสายการบินเชื่อมต่อกับเมืองกัลกัตตา สินค้าไทยที่เข้าไปเปิดตลาดในภาคอีสานของอินเดียแล้วก็อย่าง เช่น แบตเตอรี่ยัวซ่า ล่าสุด เครือสหพัฒนพิบูล จะไปเปิดร้าน 108 ช็อป ในรัฐนากาแลนด์ เดือนมิถุนายนนี้ หน้า 18 |
บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ยุทธศาสตร์"กัลกัตตา" และ" 8 รัฐอีสาน"ของอินเดีย ลู่ทางการค้าที่"ไทย"ไม่ควรมองข้าม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ผู้ติดตาม
คลังบทความของบล็อก
-
▼
2009
(408)
-
▼
มิถุนายน
(54)
- 'เขื่อนพลังลม'
- ภาพสีน้ำ ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน
- อุตสาหกรรมชมวาฬ
- ดีเอสไอจับนายหน้านำโรฮิงยาขึ้นทะเบียนต่างด้าว
- เกาะหนูที่ไร้หนู
- สัมมนา:ทิศทางใหม่ในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านสิ...
- ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ (8)
- กรมจัดหางาน เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า...
- มหัศจรรย์ 'สามพันโบก' แห่งบ้านสองคอน
- ตะลึง!"ฟ้าผ่า"เดือนละ 1 แสนครั้ง "ร่มเหล็กแหลม"เป็...
- 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน เที่ยวไทยในมุมมหัศจรรย์
- เปิดฟ้า อุตรดิตถ์
- กังหันน้ำ"คีรีวง" พลังชุมชนพึ่งตนเอง
- "ไก่ฟ้าหลังขาว" ยาจกอุดร (แสนสวย)
- นับแกะ...ชิมกีวี ที่...เบย์ ออฟ เพลนตี้...นิวซีแลนด์
- คลื่นกระทบฝั่งที่เกาะเหลา และการหายไปของ"นายจีจั๊ด"
- ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ (7)
- สีสันในภาษา คำ 'จีน-ล้านนา' ความหมายดี
- ทรัพย์สินทางปัญญา สู่ระบบไอที...ซะที
- กรมส่งเสริมการเกษตรคัดเลือกหมู่บ้านกล้วยไม้ไทย
- คนงานอู่เรือเสี่ยงโรคพิษตะกั่ว แนะปรับพฤติกรรมการใ...
- ฉลองนกกระเรียนตัวที่ 100 พันธุ์ไทยแท้-แท้ ที่โคราช
- กระเป๋าไทยดีไซน์การ์ตูนญี่ปุ่น พลิกกลยุทธ์เปลี่ยนผ...
- กระเบนราหู ปลาปริศนา
- ป่ากับชุมชน อุทยานคลองวังเจ้า
- ลีลา"พญาลอ"
- รอยสัมผัส "อุตรดิตถ์ วรวรรษ รักวงษ์....
- หุ่นยนต์เล่นยิม
- ชาวบ้านเทือกเขาบรรทัดโอด ถูกฟ้องทำให้โลกร้อน-หน.เข...
- กระแสใหม่ Voluntourism สร้าง "นักท่องเที่ยวอาสาสมัคร"
- Thailand Guide เวอร์ชั่นอังกฤษ
- อย่าแตกตื่น 'เสียงลือ!' '22ก.ค.-ตะวันดับ' 'สึนามิ'...
- ไบโอเทคใช้ชีวินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงลาย อนามัยโลกรับ...
- ปลุกชีพข้าวหมากตลาดน้ำ เติมความรู้เจาะคนรุ่นใหม่
- "โลบะ(แม่ย่านาง)"ภูเก็ต รสเด็ด เจ้าเก่า
- อะเมซิ่ง "เมืองโบราณ" แดนอีสาน
- "12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน" มหัศจรรย์เมืองไทย ไม่ไปไม...
- ประมงเตรียมเดินสาย สร้างความเข้าใจ กฏเหล็กอียูต่อต...
- เสนอยุทธศาสตร์ 'พัฒนายางพารา' แก้ปัญหาราคาไม่มีควา...
- คนไทยทำได้
- กับแกล้มการเมือง:รู้จัก "คาร์บอนเครดิต"
- วิถี 'วัฒนธรรมสีเขียว' เยียวยาโลก ตามแบบฉบับ...แดน...
- กรรมของหมี
- Bhutan 2 : ก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงในภูฏาน
- Bhutan 2 : ก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงในภูฏาน
- ยุทธศาสตร์"กัลกัตตา" และ" 8 รัฐอีสาน"ของอินเดีย ลู...
- พบใบเสมาโบราณ100ปี เชื่อให้โชคลาภ!
- ผลิตภัณฑ์สีเขียว มิตรสิ่งแวดล้อม
- ภาคสองของ"นกฮูกควาย"
- วันที่ 23 - 24 มิถุนายน 2552 ณ บริเวณลาน ส.ว.ป มหา...
- นักข่าวพลเมือง: กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงและคณาจารย์ ม...
- 'สวนธนบุรีรมย์' แหล่งโอโซนชานเมือง
- โลกใต้ทะเลผ่านเลนส์ของ 'โลรองต์ บาเลสต้า'
- ททท.โหมบุกท่องเที่ยวรักสิ่งแวดล้อม จับกลุ่มนักท่อง...
-
▼
มิถุนายน
(54)
เกี่ยวกับฉัน

- sundara
- ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น