บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กระแสใหม่ Voluntourism สร้าง "นักท่องเที่ยวอาสาสมัคร"

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11414 มติชนรายวัน


กระแสใหม่ Voluntourism สร้าง "นักท่องเที่ยวอาสาสมัคร"


โดย เพทาย อรรถศิลป์




(ซ้าย) การตกแต่งศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยว (ขวา) ศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยว มุมหนึ่งในความรู้เรื่องการย้อมคราม
การเดินทางท่องเที่ยวทุกวันนี้ บทบาทของนักเดินทางกำลังจะเปลี่ยนไป จาก "ผู้รับ" สู่ "ผู้ให้"

เป็นอีกมิติหนึ่งของการท่องเที่ยวแบบ Voluntourism เป็น การท่องเที่ยวเรียนรู้สู่ชุมชน ที่ทั้งผู้ให้และผู้รับได้มีโอกาสเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดรอยยิ้มและมิตรภาพที่น่าจดจำ

"โครงการท่องเที่ยวเรียนรู้สู่ชุมชน" การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดทำขึ้นเพื่อจุดประกายการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่มุ่ง ส่งเสริมการท่องเที่ยวในมิติของการเรียนรู้ ใช้แนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ ขณะเดียวกันยังช่วยพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวแต่ยังขาดปัจจัยด้านอื่นๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวได้อย่างสมบูรณ์และเข้มแข็ง

นางอรุณศรี ศรีเมฆานนท์ ศาสตรานิติ ผู้อำนวยการภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "การดำเนินโครงการในระยะแรกนั้น ตั้งเป้าหมายไปยังกลุ่มนิสิต นักศึกษา โดยประสานความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อคัดเลือกเยาวชนที่สนใจและมีความถนัดตามความต้องการของชุมชน โดยมีเป้าหมายให้เยาวชนสามารถเดินทางท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ตลอดจนนำความรู้ของตนเองเสริมสร้างศักยภาพสินค้าทางการท่องเที่ยวของชุมชน ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งด้านแหล่งท่องเที่ยว ภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อม สินค้าหัตถกรรม ฯลฯ การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ททท. ชุมชน และสถาบันการศึกษา ซึ่งชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจะพัฒนาเป็นชุมชนที่มีศักยภาพด้านการตลาด รวมทั้งสามารถเติบโตด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน

สมคิด พรมจักร์ ผู้ใหญ่บ้าน กับสินค้าชุมชนยี่ห้อ "ใต้ตำหนัก"


นอกจากนี้ การท่องเที่ยวในรูปแบบอาสาสมัครยังสามารถขยายไปยังกลุ่มเป้าหมายกลุ่มต่างๆ ได้อีกด้วย"

บ้านถ้ำเต่า หมู่บ้านของชุมชนไทญ้อ ในอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เป็นค่ายแรกของการจัดกิจกรรมโครงการในครั้งนี้

ชาวบ้านที่นี่ยังมีวิถีชีวิตเรียบง่าย เลี้ยงชีพด้วยการทำไร่ ทำนาและทอผ้าเป็นอาชีพเสริม ก้าวแรกที่มาเยือนบ้านถ้ำเต่าเราจึงได้ยินเสียงขยับกี่ทอผ้า แว่วสลับกับเสียงหัวเราะและบทสนทนาภาษาอีสานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านถ้ำเต่า 7-8 คน ที่กำลังง่วนกับการทอ "ผ้าฝ้ายย้อมคราม" งานหัตถกรรมขึ้นชื่อที่ได้รับการถ่ายทอดเป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่น โดดเด่นทั้งกรรมวิธีและลวดลายผ้า จนได้รับการคัดสรรเป็นสินค้าโอท็อประดับห้าดาว

นางสมคิด พรมจักร์ ผู้ใหญ่บ้านถ้ำเต่า เล่าว่า แม้ในชุมชนจะมีสินค้าชุมชนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น และได้รับการคัดสรรเป็นสินค้าโอท็อป แต่สิ่งที่ชุมชนยังขาดคือ ขาดการจัดการที่ดี

"ชาวบ้านยังต้องการคำแนะนำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด การพัฒนาลวดลายผ้าและบรรจุภัณฑ์ ที่จะนำมาผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ เพื่อให้สินค้าของบ้านถ้ำเต่าได้รับความนิยมในสังคมวงกว้าง รวมไปถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่บ้านถ้ำเต่า ด้วยการจัด เทศกาลตีคราม ที่จะมีขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม 2552"

ภารกิจที่บ้านถ้ำเต่านี้ ได้รับความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ส่งนักศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถ ตรงกับความต้องการของชุมชน เพื่อมาร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเรียนรู้ ศึกษาวิถีชีวิตชุมชน พร้อมๆ กับบำเพ็ญประโยชน์ให้กับชุมชน ภายใต้การดูแลของชาวบ้านถ้ำเต่า ตลอดระยะเวลา 15 วัน

ผลิตภัณฑ์จากผ้าย้อมคราม


นายกษม อมันตกุล อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น ขยายความถึงภารกิจในชุมชนครั้งนี้ว่า "การทำงานเริ่มจากสำรวจพื้นที่ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านเพื่อสำรวจความต้องการของชุมชนรวมถึงร่วมกันหาแนวทางเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยนักศึกษาที่มาร่วมกิจกรรมมาจาก 3 กลุ่ม แบ่งบทบาทรับผิดชอบตามความถนัด

กล่าวคือ กลุ่มศิลปกรรมทำหน้าที่สร้างแบรนด์สินค้า กลุ่มคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ออกแบบอุตสาหกรรม ทำหน้าที่สร้างโครงสร้างและสื่อวัตถุ และกลุ่มจิตรกรรมทำหน้าที่ออกแบบลายเครื่องใช้และหัตถกรรมเสื้อผ้า ไอเดียที่ได้พัฒนามาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งเป็นรากเหง้าของชุมชน"

ทั้งนี้ ภารกิจของนักศึกษาเริ่มจากการร่วมกันคิดรูปแบบของโลโก้ และวางแผนการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น แผ่นพับ, โปสการ์ด, ป้ายสินค้า, นามบัตร, กระดาษเขียนจดหมาย ฯลฯ

ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผ้าที่เหลือจากกกหูกก่อนทอขึ้นลาย ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ประดิษฐ์เป็นกระเป๋าใส่เศษสตางค์ พวงกุญแจ ปกออกาไนเซอร์ ฯลฯ ผสมผสานกับวัสดุหนัง กระดุม ซิป เพิ่มมูลค่าให้เศษผ้าทอเหลือใช้ น่าหยิบจับขึ้นมาทันตา

รวมทั้งการพัฒนาลวดลายผ้าในรูปแบบร่วมสมัยรวม 5 ลาย ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในสถานที่ท่องเที่ยวอันงดงามภายในจังหวัดสกลนครและนครพนม ได้แก่ ลายออนซอนถ้ำเต่า, สะออน, มอดินแดง ดวงดอกมันปลา เงาพระธาตุทอง และกระหย่องบวงสรวง

ตลอดระยะเวลาครึ่งเดือนนักศึกษา 2 สถาบัน ได้รับการดูแลเสมือนลูกหลานจากแม่ๆ บ้านถ้ำเต่า ที่ประทับใจกับความแข็งขัน ทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างเต็มเปี่ยม

จุรีรัตน์ ราชพัฒน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปกรรม ม.ขอนแก่น บอกว่า "การได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมบ้านกับพ่อ แม่ พูดคุยแลกเปลี่ยน สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบครอบครัวใหญ่ ความเอื้อเฟื้อและความเป็นกันเองที่ท่านมีให้ ทำให้คลายความกังวลไปได้มาก

สิ่งที่ได้รับกลายเป็นความสนุกที่ได้ทำอะไรใหม่ๆ ตื่นเช้าทำกับข้าว เตรียมของสำหรับใส่บาตร เรียนรู้วิถีชีวิต ประเพณีพื้นบ้าน การทอผ้าย้อมคราม ฯลฯ ตั้งใจว่าตอนเรียนปี 4 จะทำธีซีสสานต่อเรื่องราวชุมชนบ้านถ้ำเต่า เพราะว่าได้ความรู้และความประทับใจจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้"

อีกหนึ่งสมาชิกที่ได้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ นายแสงจันทร์ เคนไชยวงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารธุรกิจ ม.ราชธานี ซึ่งรับหน้าที่จัดทำป้ายต้อนรับเข้าสู่หมู่บ้านถ้ำเต่า แทนป้ายเดิมที่ทรุดโทรมตามกาลเวลา แสงจันทร์เป็นเยาวชนที่เกิดและเติบโตในชุมชนแห่งนี้ ได้เล่าถึงการร่วมกิจกรรมว่า

"การที่เพื่อนๆ นักศึกษาได้มาใช้ชีวิตที่นี่เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนและนำความรู้ใหม่ๆ มาแลกเปลี่ยนเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นประสบการณ์ที่ดีครั้งหนึ่งของชีวิต ได้เห็นแนวคิด การทำงานของเพื่อนๆ เป็นการเปิดโลกทรรศน์ เปิดมุมมองใหม่ๆ จากเพื่อนต่างสถาบัน"

หลายเสียงของนักศึกษาที่บอกเล่าความประทับใจจากการเดินทางท่องเที่ยว แบบ Voluntourism ณ บ้านถ้ำเต่า เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่เพียง "ใช้ใจสัมผัสใจ" การแบ่งปันความสุขแบบเรียบง่ายก็บังเกิดขึ้นรายรอบตัวเรา


หน้า 21
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra02100652&sectionid=0131&day=2009-06-10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน