วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11422 มติชนรายวัน คนงานอู่เรือเสี่ยงโรคพิษตะกั่ว แนะปรับพฤติกรรมการใช้"เสน"ซ่อมเรือ
อุตสาหกรรมประมงมีสำคัญของไทยที่สร้างมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ ตลอดจนผลิตอาหารเลี้ยงดูคนไทยมานาน โดยชาวประมงอีกจำนวนมากที่ต้องอาศัยเรือไม้ในการจับสัตว์น้ำ เรือเหล่านี้เมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดรอยรั่วระหว่างแผ่นไม้กระดาน จึงจำเป็นต้องมีการซ่อมแซมทุก 1-2 ปี ทั่วประเทศไทยมีอู่ซ่อมเรือกว่า 200 แห่ง และในภาคใต้มีทั้งสิ้น 63 แห่ง กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ยกเว้นจังหวัดพัทลุง ยะลา และนราธิวาส งานในอู่ซ่อมเรือเป็นลักษณะงานที่ปฏิบัติงานกลางแจ้ง ประกอบด้วยการทำงานหน้าที่ต่างๆ กัน เริ่มต้นจากคนงานทำหน้าที่นำเรือขึ้นคานเรือเพื่อซ่อมเรือ ขัดสีเก่าและเพรียงที่เกาะอยู่บนเรือออก เมื่อมีส่วนใดของเรือชำรุดก็ให้คนงานในหน้าที่นั้นๆ ซ่อมแซม ซึ่งประกอบไปด้วย ช่างกล, ช่างกลึง, ช่างไม้ และช่างหมัน ในส่วนของช่างไม้เมื่อมีการซ่อมแซมในส่วนของไม้ที่ผุพังหรือชำรุดแล้ว ช่างตอกหมันก็จะทำหน้าที่ในการอุดแนวรอยต่อของไม้เพื่อป้องกันไม้ผุ
ในขั้นตอนการตอกหมันนี่เอง พบว่าเป็นกระบวน การที่อาจเป็นเหตุให้คนงานหรือช่างซ่อมเรือสัมผัส "เสน" หรือปูนแดงซึ่งเป็นสารประกอบตะกั่วออกไซด์ และมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารตะกั่วและอาจเป็นโรคพิษตะกั่ว ซึ่งส่งอันตรายต่อชีวิตของคนงานและครอบครัวได้ จากผลการวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ของงานและพฤติกรรมต่อการปนเปื้อนสารตะกั่วของคนงานซ่อมเรือในอู่ต่อเรือและที่พักอาศัย" โดยอาจารย์ จำนง ธนภพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ดร.อลัน กีเตอร์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) แสดงให้เห็นว่าคนงานซ่อมเรือในอู่ต่อเรือเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะช่างเสนมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับพิษจากสารตะกั่ว โดยการปนเปื้อนจากกระบวนการทำงานซึ่งใช้ "เสน" ผสมกับน้ำมันยาง ชัน ในการอุดรอยต่อไม้กระดาน การวิจัยพบว่า 48% ของคนงานทั้งหมด และ 67% ของช่างหมันในอู่ซ่อมเรือมีระดับสารตะกั่วในเลือดเท่ากับหรือสูงกว่าค่ามาตรฐาน นอกจากนี้คนงานยังมีพฤติกรรมที่อาจนำสารตะกั่วจากที่ทำงานกลับไปปนเปื้อนที่พักอาศัยโดยไม่รู้ตัว และจากการเก็บข้อมูลก็สามารถยืนยันได้ว่าในที่พักอาศัยของช่างหมันมีปริมาณสารตะกั่วสูง ซึ่งอาจทำให้คนในครอบ ครัวได้รับโลหะหนักนี้เข้าสู่ร่างกาย "ปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจส่งผลต่อสุขภาพของคนงานในอู่ต่อเรือและครอบครัวไม่ใช่เพราะเขาไม่รู้ว่าสารตะกั่วเป็นอันตราย แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือเขาไม่รู้ว่า "เสน" ซึ่งช่างซ่อมเรือใช้ในขั้นตอนการอุดแนวรอยต่อของไม้กระดานเพื่อป้องกันไม้ผุนั้นมีส่วนผสมของสารตะกั่ว ซึ่งถ้าได้รับและสะสมในร่างกายเกินค่ามาตรฐานอาจมีผลต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายและเสียชีวิตได้ ดังนั้น คนงานเหล่านี้จึงขาดความระมัดระวังในการใช้เสน และที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นคือ การสัมผัสสารประกอบตะกั่วนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะในที่ทำงานเท่านั้น แต่คนงานอาจนำสารตะกั่วกลับไป ปนเปื้อนที่พักอาศัย หรืออาจติดไปกับยานพาหนะ เสื้อผ้าหรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย เนื่องจากไม่ได้อาบน้ำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนกลับบ้าน ทำให้สมาชิกในบ้าน โดยเฉพาะเด็กอาจสัมผัสสารตะกั่วและก่อให้เกิดโรค" ดังนั้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและได้รับพิษจากสารตะกั่วของคนงาน อู่ซ่อมเรือจะต้องแบ่งโซนการทำงานที่มีเสนหรือตะกั่วแยกจากพื้นที่อื่นๆ พร้อมทั้งจัดเตรียมอ่างล้างมือ ห้องอาบน้ำ เครื่องมือป้องกัน อันตรายส่วนบุคคล เช่น หน้ากาก ถุงมือ ชุดปฏิบัติงาน รองเท้าบู๊ต แก่คนงานที่ต้องสัมผัสเสน และคนงานไม่ควรนำอาหาร-เครื่องดื่มเข้าไปรับประทานในขณะทำงาน และควรล้างมือ อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ก่อนกลับบ้านเมื่อเสร็จสิ้นจากการปฎิบัติงานในแต่ ละวัน ที่สำคัญคือไม่ควรให้บุคคลภายนอก โดยเฉพาะเด็กเข้าเข้าไปในบริเวณที่มีการปนเปื้อนของสารตะกั่ว หน้า 26 |
บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org
วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552
คนงานอู่เรือเสี่ยงโรคพิษตะกั่ว แนะปรับพฤติกรรมการใช้"เสน"ซ่อมเรือ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ผู้ติดตาม
คลังบทความของบล็อก
-
▼
2009
(408)
-
▼
มิถุนายน
(54)
- 'เขื่อนพลังลม'
- ภาพสีน้ำ ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน
- อุตสาหกรรมชมวาฬ
- ดีเอสไอจับนายหน้านำโรฮิงยาขึ้นทะเบียนต่างด้าว
- เกาะหนูที่ไร้หนู
- สัมมนา:ทิศทางใหม่ในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านสิ...
- ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ (8)
- กรมจัดหางาน เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า...
- มหัศจรรย์ 'สามพันโบก' แห่งบ้านสองคอน
- ตะลึง!"ฟ้าผ่า"เดือนละ 1 แสนครั้ง "ร่มเหล็กแหลม"เป็...
- 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน เที่ยวไทยในมุมมหัศจรรย์
- เปิดฟ้า อุตรดิตถ์
- กังหันน้ำ"คีรีวง" พลังชุมชนพึ่งตนเอง
- "ไก่ฟ้าหลังขาว" ยาจกอุดร (แสนสวย)
- นับแกะ...ชิมกีวี ที่...เบย์ ออฟ เพลนตี้...นิวซีแลนด์
- คลื่นกระทบฝั่งที่เกาะเหลา และการหายไปของ"นายจีจั๊ด"
- ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ (7)
- สีสันในภาษา คำ 'จีน-ล้านนา' ความหมายดี
- ทรัพย์สินทางปัญญา สู่ระบบไอที...ซะที
- กรมส่งเสริมการเกษตรคัดเลือกหมู่บ้านกล้วยไม้ไทย
- คนงานอู่เรือเสี่ยงโรคพิษตะกั่ว แนะปรับพฤติกรรมการใ...
- ฉลองนกกระเรียนตัวที่ 100 พันธุ์ไทยแท้-แท้ ที่โคราช
- กระเป๋าไทยดีไซน์การ์ตูนญี่ปุ่น พลิกกลยุทธ์เปลี่ยนผ...
- กระเบนราหู ปลาปริศนา
- ป่ากับชุมชน อุทยานคลองวังเจ้า
- ลีลา"พญาลอ"
- รอยสัมผัส "อุตรดิตถ์ วรวรรษ รักวงษ์....
- หุ่นยนต์เล่นยิม
- ชาวบ้านเทือกเขาบรรทัดโอด ถูกฟ้องทำให้โลกร้อน-หน.เข...
- กระแสใหม่ Voluntourism สร้าง "นักท่องเที่ยวอาสาสมัคร"
- Thailand Guide เวอร์ชั่นอังกฤษ
- อย่าแตกตื่น 'เสียงลือ!' '22ก.ค.-ตะวันดับ' 'สึนามิ'...
- ไบโอเทคใช้ชีวินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงลาย อนามัยโลกรับ...
- ปลุกชีพข้าวหมากตลาดน้ำ เติมความรู้เจาะคนรุ่นใหม่
- "โลบะ(แม่ย่านาง)"ภูเก็ต รสเด็ด เจ้าเก่า
- อะเมซิ่ง "เมืองโบราณ" แดนอีสาน
- "12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน" มหัศจรรย์เมืองไทย ไม่ไปไม...
- ประมงเตรียมเดินสาย สร้างความเข้าใจ กฏเหล็กอียูต่อต...
- เสนอยุทธศาสตร์ 'พัฒนายางพารา' แก้ปัญหาราคาไม่มีควา...
- คนไทยทำได้
- กับแกล้มการเมือง:รู้จัก "คาร์บอนเครดิต"
- วิถี 'วัฒนธรรมสีเขียว' เยียวยาโลก ตามแบบฉบับ...แดน...
- กรรมของหมี
- Bhutan 2 : ก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงในภูฏาน
- Bhutan 2 : ก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงในภูฏาน
- ยุทธศาสตร์"กัลกัตตา" และ" 8 รัฐอีสาน"ของอินเดีย ลู...
- พบใบเสมาโบราณ100ปี เชื่อให้โชคลาภ!
- ผลิตภัณฑ์สีเขียว มิตรสิ่งแวดล้อม
- ภาคสองของ"นกฮูกควาย"
- วันที่ 23 - 24 มิถุนายน 2552 ณ บริเวณลาน ส.ว.ป มหา...
- นักข่าวพลเมือง: กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงและคณาจารย์ ม...
- 'สวนธนบุรีรมย์' แหล่งโอโซนชานเมือง
- โลกใต้ทะเลผ่านเลนส์ของ 'โลรองต์ บาเลสต้า'
- ททท.โหมบุกท่องเที่ยวรักสิ่งแวดล้อม จับกลุ่มนักท่อง...
-
▼
มิถุนายน
(54)
เกี่ยวกับฉัน

- sundara
- ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น