บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ฉลองนกกระเรียนตัวที่ 100 พันธุ์ไทยแท้-แท้ ที่โคราช

ฉลองนกกระเรียนตัวที่ 100 พันธุ์ไทยแท้-แท้ ที่โคราช

โดย กษมา หิรัณยรัชต์




นกกระเรียนในเขาดิน

"นกกระเรียน" ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาวชนิดหนึ่ง และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ใครหลายๆ คนเชื่อว่าการเลี้ยงนกกระเรียนทำให้คนที่เลี้ยงมีอายุยืนยาวตามไปด้วย

หากแต่ในเมืองไทย "นกกระเรียนพันธุ์ไทย" กลับเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปร่วม 50 ปีแล้ว ในขณะที่สถานการณ์ของนกกระเรียนพันธุ์ไทยทั่วโลกเหลืออยู่เพียง 1,000 กว่าตัว อาศัยอยู่ในแถบปากแม่น้ำอิระวดี และใกล้ทะเลสาบเขมร รวมถึงป่าตะวันออกของประเทศกัมพูชา ไปถึงเวียดนามแถวปากแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่รอบๆ บ้านเรา

"สถานภาพของนกกระเรียนพันธุ์ไทยถูกระบุว่าเป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก และในประเทศไทยเองถือเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิด"

อุปนิสัยของนกกระเรียน มักจะอยู่กันเป็นฝูง อาศัยอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ และจะอพยพย้ายถิ่นฐานไปตามฤดูกาล

ในอดีตนกกระเรียนที่ได้ชื่อว่า "นกกระเรียนพันธุ์ไทย" แท้ๆ แต่กลับไม่บินเข้ามาในเมืองไทยเลย ในประเทศไทยจึงมีอยู่เพียง 2 ตัว อยู่ที่สวนสัตว์เขาดิน หากแต่เมื่ออยู่ไปได้ระยะเวลาหนึ่ง นกกระเรียน 1 ใน 2 ตัวก็ตายอย่างไม่ทราบสาเหตุ หลังจากนั้นไม่นานนกกระเรียนอีกตัวก็ตายตามกันไป

"ว่ากันว่า เป็นเพราะ "ตรอมใจ" ตายตามคู่ของมัน"

หลังจากนั้นนกกระเรียนพันธุ์ไทยก็ไม่มีปรากฏในแผ่นดินไทยอีกเลย

โสภณ ดำนุ้ย



สำหรับสาเหตุที่ทำให้นกกระเรียนพันธุ์ไทยเหล่านี้หายไปจากประเทศไทย เนื่องมาจากการเกิดขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมและการเกษตรที่กลายเป็นการเกษตรแบบใช้สารเคมี

ดังนั้น ปฏิบัติการนำ "นกกระเรียนพันธุ์ไทย" กลับมายังบ้านเกิด คือประเทศไทย จึงอุบัติขึ้น

โดยเริ่มต้นขึ้น เมื่อชาวบ้านจาก จ.สุรินทร์ นำนกกระเรียนพันธุ์ไทย 2 ตัวที่พบบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชามามอบให้สวนสัตว์นครราชสีมา หลังจากนั้นได้พยายามรวบรวมนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากหลายๆ แห่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2540 มีนกกระเรียนพันธุ์ไทยรวมทั้งหมด 33 ตัว และมีนโยบายให้จัดตั้ง "ศูนย์การเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์นกกระเรียน" ขึ้นที่สวนสัตว์นครราชสีมา

การดำเนินงานเพาะพันธุ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยคืบหน้าเป็นอย่างดี จนได้รับการยอมรับจาก "มูลนิธินกกระเรียนสากล" (International Crane Foundation)

"ปัจจุบันมีนกกระเรียนที่เกิดจากศูนย์เพาะพันธุ์แห่งนี้รวมแล้ว 99 ตัว จากที่ไม่เคยมีนกกระเรียนพันธุ์นี้ในไทยเลย"

ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พ่อพันธุ์แม่พันธุ์นกกระเรียนหนึ่งใน 99 ตัวนี้ได้ให้กำเนิดลูกนกกระเรียนพันธุ์ไทยตัวที่ 100 พอดี ทางองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยจึงได้จัดงานเฉลิมฉลองนกกระเรียน ภายใต้ชื่อ "กระเรียนพันธุ์ไทย Return"



"โสภณ ดำนุ้ย" ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ เล่าให้ฟังว่า วางแผนโครงการนี้มา 5 ปีแล้ว ซึ่งก็ประจวบเหมาะกับการเกิดของนกกระเรียนพันธุ์ไทยตัวที่ 100 พอดี

เป้าหมายหลักของโครงการ ก็เพื่อนำนกกระเรียนพันธุ์ไทยกลับคืนสู่ธรรมชาติของมัน

เริ่มจากหาพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของนกกระเรียนชนิดนี้ ภายใต้ความร่วมมือกับคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิเวศวิทยาพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 แห่ง คือ บึงโขงหลง จ.หนองคาย, หนองบงคาย จ.เชียงราย, บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์, เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยตลาดและห้วยจระเข้มาก จ.บุรีรัมย์, เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ จ.ชลบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ

เมื่อได้พื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะสมแล้ว ก็จะตั้งศูนย์เพาะพันธุ์ขึ้นที่นั่น โดยนำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ไปปล่อยไว้ หลังจากที่ได้ลูกๆ นกกระเรียนแล้ว ก็จะนำลูกนกเหล่านี้ไปปล่อยในธรรมชาติ เพื่อขยายพันธุ์และเจริญเติบโตเป็นรุ่นๆ ต่อไป

"การดำเนินงานดังกล่าวยอมรับว่ามีอุปสรรคพอสมควร เพราะการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน และเจ้าของพื้นที่ชุ่มน้ำสำหรับการอนุรักษ์นั้นเป็นเรื่องใหญ่ ขณะที่การขยายพันธุ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยต้องทำให้พวกมันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด เพราะหากผิดจากธรรมชาติเพียงนิดเดียว นกพวกนี้ก็จะไม่อยู่ อีกอย่างเปลือกไข่ของนกกระเรียนพันธุ์ไทยนั้นบอบบางมาก หากปล่อยไปก็ถือได้ว่ามีความเสี่ยงสูง" นายโสภณกล่าว และว่า นอกจากนี้นกกระเรียนเองมักตกเป็นเหยื่อของนักล่า "ประลองเป้า"

อย่างไรก็ตาม หากได้พื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะสมแล้ว โสภณบอกว่า ทางองค์การสวนสัตว์จำเป็นต้องทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน หรือเอ็มโอยู กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อให้ทุกคนเห็นว่านกกระเรียนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และนำไปสู่การอนุรักษ์ที่ยั่งยืนต่อไป

"หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จและทุกคนร่วมมือกันสนับสนุน ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นนกขนาดใหญ่ รวมถึงนกน้ำหายากชนิดอื่นๆ โบยบินอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติของเราอีกครั้งหนึ่ง"

แต่กว่าจะถึงเวลานั้น หากใครอยากชมนกกระเรียนพันธุ์ไทยแล้วล่ะก็ สามารถไปชมได้ที่สวนสัตว์นครราชสีมา และสวนสัตว์เขาดินในกรุงเทพฯ รวมทั้งที่สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์เขาเขียว และสถานีเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ จ.ชลบุรี

"เพราะทางองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยได้กระจายนกกระเรียนไปให้ดูเป็นขวัญตาของประชาชนแล้ว"

หน้า 21

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra03180652&sectionid=0131&day=2009-06-18

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน