บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ (8)

 
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11432 มติชนรายวัน


ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ (8)


คอลัมน์ ประสานักดูนก

โดย น.สพ.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว



 

ภูมิประเทศ หรือสถานที่ที่สื่อถึงแหล่งอาศัยทั้งเพื่อหากินหรือทำรังวางไข่ สื่อนัยยะอย่างกว้างๆ ว่านกแต่ละชนิด แต่ละสกุลต่างกันอย่างไรในเชิงเปรียบเทียบ ช่วยให้การเริ่มดูนก ที่อาจจะยังไม่คุ้นชื่อนกนานาชนิดกว่า 998 ชนิดทั่วไทย คุ้นเคยและง่ายต่อการจดจำ

อีกทั้งยังช่วยจัดนกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้มองเห็นภาพใหญ่ หรือหากในสกุลเดียวกัน เพื่อเน้นย้ำความแตกต่างของแหล่งอาศัย เช่น นกกระทาทุ่ง และนกกระทาดง ล้วนหากินบนพื้นดิน ไม่ต่างจากไก่แม้แต่น้อย แต่นกกระทาทุ่งเลือกอาศัยอยู่ในพื้นที่โล่ง เช่น ทุ่งหญ้า หรือป่าโปร่ง ส่วนนกกระทาดงอีกหลายชนิด เลือกใช้ชีวิตในป่าดงรกเรื้อ เช่น ป่าดิบชื้นบนดอยสูงของภาคเหนือและภาคตะวันตก หรือป่าดิบที่ราบต่ำในภาคใต้

คำไทยสั้นๆ ห้วนๆ แต่กระชับชวนให้จับใจความได้ง่าย เช่น ทุ่ง ดง พง โคก และสวน ล้วนถูกใช้สื่อนัยยะของชื่อนก เน้นย้ำความแตกต่างของแหล่งอาศัยได้ชัดเจน

"ทุ่ง" หมายถึง "ทุ่งนา ทุ่งหญ้ากินบริเวณกว้างขวาง ทัศนียภาพอันชินตาของคนเราประสาชาวบ้าน" เช่น นกตะขาบทุ่ง นกเด้าดินทุ่ง เหยี่ยวทุ่ง

ดง คือ ป่าทึบ จะเป็นป่าดิบบนภูสูง หรือที่ราบต่ำก็แล้วแต่ เช่น นกตะขาบดง นกกางเขนดง (ย่อมไม่ใช่นกกางเขนบ้าน)

"พง" สื่อ "ลักษณะพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของพืชพรรณที่แยกต่างจากทุ่ง" เช่น นกพง นกแอ่นพง (หรือ "นกแอ่นพุง" ชื่อเล่นในแวดวงดูนก พบนกทีไร จะเกาะสายไฟแอ่นอกโชว์พุง)

"โคก" เป็น "พื้นที่สูงที่น้ำท่วมไม่ถึงหรือที่ดอน แต่ยังไม่สูงเทียมฟ้าแบบภูเขาหรือดอย" เช่น นกตบยุงป่าโคก

"สวน" หมายรวมถึง "เรือก สวน ไร่แต่ไม่รวมทุ่งนา" หากพบเห็นอยู่ใกล้กันในชุมชนที่มีคนอยู่ เช่น นกปรอดสวน สัญลักษณ์ของนกบ้าน นกสวน หนึ่งในนกสามถิ่น "นกสวน นกท้องนาและนกป่าดง" ของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุล

"แต่ละคำสื่อความหมาย บ่งบอกลักษณะภูมิประเทศ สะท้อนวิถีเดิมของชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทย และเมื่อเอื้อนเอ่ยชื่อแต่ละชื่อแล้วชวนให้รู้สึกคุ้นเคยความเป็นท้องถิ่นหรือชุมชนในแต่ละภูมิภาค"

"ชื่อนกบางชื่อบ่งบอกเชิงเปรียบเทียบของพื้นที่การแพร่กระจายพันธุ์ในระดับภาค" ว่านกแต่ละชนิดพบเฉพาะบางภาคเท่านั้น ไม่พบทั่วประเทศ เช่น นกทึดทือพันธุ์เหนือ พบในภาคเหนือ ตะวันตกและอีสาน แต่นกทึดทือพันธุ์มลายูพบในภาคใต้และภาคตะวันออก

แม้ชื่อลักษณะนี้จะไม่ถูกต้องตรงข้อเท็จจริงข้างต้นอย่างเต็มเหยียด หากสื่อความอย่างกว้างๆ และก็ไม่ผิดแบบสุดลิ่มทิ่มประตู นอกจากคำว่า ""พันธุ์มลายู"" อันหมายถึง "คาบสมุทรมลายู กอปรด้วยภาคใต้และประเทศมาเลเซีย" นั้น คำอื่นหรือคำพ้อง (synonym) ที่สื่อความเหมือนกัน สำหรับภาคใต้ ที่พบได้ในชื่อนก คือ "ปักษ์ใต้" เช่น นกปากกบปักษ์ใต้

ในกลุ่มนกชายเลน หลายชนิดใช้แหล่งอาศัยเด่นๆ ที่แผกต่างระหว่างชนิดช่วยสื่อความในชื่อนกบ่อยๆ แม้ว่าในความเป็นจริง นกชนิดนั้นไม่ได้ยึดติดอยู่กับถิ่นอาศัยตามชื่อแบบโงหัวไม่ขึ้น หากอย่างที่แจงไว้แล้วว่าเป็นการขมวดความให้เป็นภาพกว้างๆ เช่น นกชายเลนบึง หรือนกชายเลนน้ำจืด มักพบในทุ่งนาหรือแหล่งน้ำจืด มักไม่พบหากินตามแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำทะเล นกทะเลขาเขียวหรือนกทะเลขาแดง มักพบตามชายทะเล หาดเลนหรือหาดโคลนปากแม่น้ำ

และใช่ว่านกชายเลนทุกชนิดจะผูกพันกับหาดเลนตามรอยต่อของชายทะเล จนกลายเป็นชื่อนกกลุ่มนี้ว่า "ชายเลน" นอกเหนือจากแหล่งน้ำจืด เช่น ทุ่งนา หนองหรือบึงแล้ว อาจพบนกชายเลนบางชนิดในป่าดิบ หรือพงรก เช่น นกปากซ่อมดงบนดินแฉะในป่าดิบชื้น หรือนกปากซ่อมพงที่หลบลี้กลางพงหรือทุ่งหญ้า

นกยางควาย ช่างฉลาดเรียนจากแวดล้อมรอบตัว รู้ว่ายามย่ำเยาะตามเจ้าทุยลุยกินหญ้า จนเหยียบย่ำบนกองฟาง จะมีแมลงเล็กๆ บินว่อนหรือสัตว์ตัวน้อยวิ่งเพ่นพ่านจากการเหยียบหรือแรงสะเทือนจากรอยตีนของเจ้าเขาโง้งยาว หาเหยื่อที่แตกตื่นหนีตายเพราะเกรงควายเหยียบได้ไม่ยาก

"ดังนั้น ถ้านึกถึงนกยางควาย มโนภาพของท้องทุ่งนาย่อมผุดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ มิใช่ท้องทะเล แหล่งอาศัยของนกยางทะเล ญาติสนิทของเจ้ายางควาย ที่ไม่หากินบนแผ่นดินแต่ใช้โขดหินชายฝั่งเป็นแหล่งอาหาร"

หมายเหตุ : ภาพนกในตอนที่แล้ว คือ นกชายเลนน้ำจืด ไม่ใช่นกยางกรอกพันธุ์ชวา

หน้า 21

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน