บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เสียง เฮฮา จากเสียมเรียบ ขบวนชาวบ้านเขมร-ไทย-ลาว

วันที่ 05 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11439 มติชนรายวัน


เสียง เฮฮา จากเสียมเรียบ ขบวนชาวบ้านเขมร-ไทย-ลาว


โดย อัปสรา แคว้นลำโขง




ถ่ายรูปร่วมกันหน้าพระนคร



เสียงสรวลเสเฮฮาดังอยู่เป็นระยะๆ บรรยากาศในมุมเล็กๆ ของจังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชาเต็มไปด้วยความอบอุ่น เนื่องจากพี่น้องมากหน้าหลายตากว่า 350 คน ทั้งชาวไทย ลาว และเขมรกำลังง่วนอยู่กับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

เครือข่ายชาวบ้านซึ่งมาจาก 20 จังหวัดในกัมพูชาได้มีตั้งวงเสวนาเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน โดยได้เชิญพี่น้องคนไทยและลาวเข้าร่วม

แม้สถานการณ์ภายนอกเต็มไปด้วยข่าวประโคมและความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชาเกี่ยวกับข้อพิพาทบนเขาพระวิหาร ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ต่างรายงานถึงการเพิ่มกองกำลังทหารและการขนอาวุธขึ้นไปตรึงกำลังและเผชิญหน้ากัน จนดูท่าจะกลายเป็นสงครามระหว่างประเทศ

แต่ในมุมของชาวบ้านแห่งนี้กลับเต็มไปด้วยความเอื้ออาทรและความสมานฉันท์เหมือนอยู่คนละโลกกัน

แม้ทุกคนรับรู้ปัญหาที่เขาพระวิหาร แต่เปล่าประโยชน์ที่จะพูดถึงมัน

"พวกเรามีข้อตกลงร่วมกันว่าจะจับมือ เพื่อสร้างเครือข่ายระดับภูมิภาค" เสียงแกนนำคนหนึ่งสรุปสาระสำคัญจากการสัมมนา เหมือนเป็นพันธสัญญาทางใจระหว่างกัน แม้ไม่ดูยิ่งใหญ่เหมือนที่ผู้นำประเทศคล้องแขนจับมือกัน แต่ความหนักแน่นกลับดูหนักหน่วงยิ่งนัก

ปัจจุบันเครือข่ายองค์กรชุมชนในเขมรได้ถักทอกันเป็นเครือข่ายพัฒนาเมืองใน 23 จังหวัด เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและพัฒนาด้านอาชีพเพื่อสร้างรายได้ รวมถึงการจัดการทรัพยากร โดยมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ประมาณกว่า 700 ชุมชนทั่วประเทศ มีเงินออมรวม 1,500 ล้านเรียล และยังมีการจัดสวัสดิการดูแลกันและกัน โดยมีกองทุนระดับประเทศ อยู่ประมาณ 8,000 ล้านเรียล ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุน เซนให้การสนับสนุนโดยจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนทุกเดือน ประมาณ 5 ล้านเรียล และรัฐบาลกัมพูชาได้ประกาศนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยไว้ชัดเจน

บรรยากาศระหว่างการสัมมนา



เช่นเดียวกับพี่น้องลาว ซึ่งได้มีการถักทอกันเป็นเครือข่ายอนุรักษ์โดยมีกลุ่มแม่หญิงลาวและกลุ่มท้อนเงินเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ซึ่งกิจกรรมของชุมชนได้ขยายตัวเป็นอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนเกิดกลุ่มอนุรักษ์ป่าและแม่น้ำขึ้นทั่วทุกภาค

ในส่วนของคนไทยก็เช่นเดียวกัน งานขบวนชาวบ้านได้เติบใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนสามารถก้าวข้ามไปสานต่อร่วมกันบ้านพี่เมืองน้องได้

ถึงวันนี้ขบวนชาวบ้านทั้งเขมร ลาว ไทย ได้กระชับไมตรีโดยการแลกเปลี่ยนบทเรียนกันเป็นระยะๆ จนสัมพันธ์แนบแน่น และไม่คิดแบ่งเขาแบ่งเรา เพราะทั้งหมดเป็นพี่น้องร่วมวัฒนธรรมเดียวกัน ดังนั้นเส้นเขตแดนจึงไม่มีความหมาย

ในการสัมมนา 3 วันของการอยู่ร่วมกัน ทีมไทยและลาวได้รับการต้อนรับและดูแลอย่างดี โดยไม่ต้องมีล่ามมาเป็นตัวกลางในการสื่อสาร เพราะจะมีพี่น้องจังหวัดต่างๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาช่วยอธิบาย เช่น ชาวบ้านจากเกาะกง พระตะบอง และเสียมเรียบที่หลายคนพูดภาษาไทยได้ หรือพี่น้องจากจังหวัดสตรึงแตรง ซึ่งอยู่ติดกับภาคใต้ของลาว มีตัวแทน 10 คนที่พูดลาวสำเนียงจำปาสักและอุบลฯ

พี่น้องเขมรเป็นไก๊ด์พาทีมไทยและลาวชมนครวัด



ขณะที่พี่น้องจากจังหวัดสะเตรียเมิลเจิลหรือศรีโสภณเดิม สามารถพูดลาวสำเนียงลาวเวียง ซึ่งเมื่อถามไปถามมา ได้รับคำตอบว่ามีหมู่บ้านบางแห่งที่เป็นคนเขมรเชื้อสายลาวเกือบทั้งหมู่บ้าน นอกจากนั้นฝ่ายไทยเองมีพี่น้องบางคนมาจากสุรินทร์ ที่พูดภาษาเขมรได้

ทำให้เกิดความผสมกลมกลืนกันยิ่งนัก

"สุขสบาย"....."สบายดี"....."สวัสดี"......เป็นคำทักทายของคนทั้ง 3 ประเทศ ที่แตกต่างแต่ใกล้เคียงกัน ขณะที่ข้าวปลาอาหาร ทั้งไก่ผัดขิง ผัดกะเพราหมู เนื้อ ไก่ ไข่เจียวหมูสับ ต้มยำปลา ฯลฯ เป็นอาหารที่ร่วมรสร่วมชาติกันในช่วงสามวัน

ช่างไม่มีความแตกต่างกันเลยเหมือนกินอาหารในบ้านตัวเอง

"อยากเชิญพี่น้องไทย ลาว ชาวลุ่มน้ำโขง มาร้องเพลงร่วมกัน" อ้ายธิน แกนนำหนุ่มจากจังหวัดสะตรึงแตรง เอื้อนเอ่ยในเวทีแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ท่ามกลางเสียงปรบมือกึกก้อง

บทเพลง "ฮักสาวฝั่งของ" ที่ร้องสลับทั้งภาษาลาวและเขมร ทำให้บรรยากาศแห่งมิตรภาพแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ภายในงานนี้ผู้ว่าฯจังหวัดเสียมเรียบ ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาและรองผู้ว่าฯพนมเปญ ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิพัฒนาคนจนเมือง เป็นผู้กล่าวปิดงาน และยังมีงานเลี้ยงส่ง โดยผู้ว่าฯจังหวัดเสียมเรียบเป็นเจ้าภาพ

พี่น้องเขมร ไทย ลาว ได้ผลัดกันขึ้นร้องเพลง และร่วมกันรำวง ด้วยบรรยากาศที่แสนม่วนชื่น

วันสุดท้ายรองผู้ว่าฯพนมเปญ และผู้นำชาวบ้านจากเครือข่ายหลายจังหวัด ได้ชวนพี่น้องทีมไทย และลาว ไปเยี่ยมชมปราสาทนครวัดนครธม ก่อนลํ่าลาด้วยมื้อกลางวันที่แพในทะเลสาบเขมร

"เราจะพบกันใหม่ที่ประเทศลาว" คำสัญญาที่แสนอาวรณ์ พร้อมบทส่งท้ายที่แสนอาลัย

ขากลับทีมไทย-ลาว เดินทางกลับทาง ช่องจอม และช่องชงัม ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามตลอดเส้นทาง และไม่มีอะไรที่บ่งบอกถึงสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างกัน

เจ้าหน้าที่ด่านฝั่งเขมรยิ้มแย้มแจ่มใสสอบถามการเดินทางอย่างเป็นกันเอง ทุกคนต่างกลับบ้านด้วยความรู้สึกประทับใจ

หากยึดมั่นในวัฒนธรรมเดียวกันตามวิถีชาวบ้าน ความล้าหลังคลั่งชาติคงไม่เกิดขึ้น และบ้านเมืองคงไม่สับสนวุ่นวายจนเจียนจะต้องสู้รบเข่นฆ่ากันเช่นนี้


หน้า 8
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01way01050752&sectionid=0137&day=2009-07-05
                        





แบ่งปันรูปถ่ายกันอย่างง่ายดายด้วย Windows Live™ Photos ลากแล้วปล่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน