บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รัฐบาลหนุนชุมชนจริงหรือ?? มองงานเสริมขบวนชาวบ้าน ผ่าน "คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์"

วันที่ 05 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11439 มติชนรายวัน


รัฐบาลหนุนชุมชนจริงหรือ?? มองงานเสริมขบวนชาวบ้าน ผ่าน "คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์"





คุณหญิงแอ๋วลงพื้นที่

แม้ต้องฝ่าฟันและ "เล่น" อยู่กับการเมืองและเหล่านักการเมืองในระนาบบนอยู่แทบทุกวัน แต่ก็ยังดีที่รัฐบาลชุดนี้ให้ความสนใจงานการเมืองระดับบ้านๆ ซึ่งเป็นฐานรากอยู่บ้าง แม้ให้น้ำหนักไม่มากนัก เพราะทั้งเวลาและงบประมาณส่วนใหญ่ยังคงพุ่งไปที่โครงการใหญ่ๆ ที่มุ่งแต่กระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าการกระตุ้นสังคม

สำหรับงานภาคประชาชนนั้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาขับเคลื่อนชุดหนึ่งชื่อว่า คณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ โดยมีคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ เป็นประธาน โดยมีกรรมการทั้งสิ้น 45 คน ซึ่งเป็นรัฐมนตรี 9 คน ที่เหลือเป็นเครือข่ายภาคประชาชนและราชการ

ทั้งนี้คณะกรรมการชุดใหญ่นี้ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแลในแต่ละด้านประกอบด้วย
1.คณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอการปฏิรูประบบเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ซึ่งมี น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ เป็นประธาน มีกรรมการ อาทิ ศ.ระพี สาคริก อ.ชนวน รัตนวราหะ ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ เป็นต้น
2.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการธนาคารต้นไม้ ซึ่งมีนายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ เป็นประธาน มีกรรมการ อาทิ นายประยงค์ รณรงค์ นายจินดา บุญจันทร์ เป็นต้น
3.คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน ซึ่งมีนายสมพร ใช้บางยาง เป็นประธาน มีกรรมการ 18 คน อาทิ พระมนัส ขันตธมโม ครูชบ ยอดแก้ว ลุงอัมพร ด้วงปาน เป็นต้น
4.คณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีนายธงชัย พรรณสวัสดิ์ เป็นประธาน มีกรรมการ 21 คน อาทิ นายประยงค์ ดอกลำไย นายพลากร วงศ์กองแก้ว นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ เป็นต้น
5.คณะอนุกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงเข้มแข็งของชุมชนเมืองและชนบท ซึ่งมี น.ส.สมสุข บุญญะบัญชา เป็นประธาน มีกรรมการ อาทิ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ เป็นต้น

ขณะนี้คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ กำลังหาข้อสรุปในแต่ละมุมกันอยู่ มีทั้งที่คืบหน้าบ้างไม่คืบบ้าง ที่คืบหน้ามาหน่อยเป็นเรื่องสวัสดิการชุมชนและธนาคารต้นไม้

"ชุมชนคือยุทธศาสตร์ชาติ ถ้าชุมชนเข้มแข็งบ้านเมืองก็ไปได้" คุณหญิงสุพัตรา หรือคุณหญิงแอ๋ว ให้น้ำหนักกับงานของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้คุณหญิงยอมกลับเข้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง ทั้งๆ ที่เบื่อหน่ายสถานการณ์ทางการเมืองมาก แต่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ได้เรียนรู้งานของชาวบ้าน ทำให้ได้เห็นถึงความงดงามของชุมชนที่ร่วมกันหาทางออกให้ตัวเอง ซึ่งคุณหญิงเชื่อมั่นว่าเป็นทางรอดของประเทศ

"ชุมชนเข้มแข็งในความหมายของเราคือเขาดูแลตัวเองได้ ชาวบ้านเขาทำของเขามาตลอด ที่เป็นอุปสรรคและปัญหาก็คืออยู่ดีๆ รัฐก็ไปขีด บอกว่าตรงนี้เป็นป่าสงวน ตรงนี้เป็นอุทยาน ให้เขาทำอย่างนั้นอย่างนี้ ชาวบ้านเขาอยู่กันดีๆ ถ้ารัฐไม่เข้าไปแทรกแซง" ต้นตอของปัญหาที่คุณหญิงแอ๋วฉายภาพให้เห็น

"จริงๆ งานด้านสวัสดิการชุมชน ชาวบ้านเขาทำกันอยู่แล้ว และเยอะมาก อย่างเรื่องออมทรัพย์ เขาทำกันมานานเพราะไม่ต้องไปกู้ธนาคาร หลายๆ แห่งยังทำเป็นสวัสดิการด้วย ใครไปโรงพยาบาลก็เบิกได้ บางแห่งเบิกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ บางแห่งเบิกได้น้อยหน่อยถ้าองค์กรยังไม่เข้มแข็ง" คุณหญิงอธิบายจุดเริ่มต้นของงานสวัสดิการชุมชน ซึ่งขณะนี้ได้แพร่กระจายตามชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศไทย และระยะหลังที่นิยมกันมากคือการออมวันละ 1 บาท หรือปีละ 365 บาท ซึ่งหลายชุมชนมีเงินกองทุนพอกพูนหลายล้านบาท สามารถแบ่งเบาภาระของสมาชิกได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล ได้เข้าร่วมโดยจ่ายเงินสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง

"นโยบายของท่านนายกรัฐมนตรีคือว่าให้ไปคิดระบบ ซึ่งรัฐบาลเองยินดีจ่ายเงินร่วมสมทบ แต่ชาวบ้านเองที่เป็นคนบอกว่าอย่าเอาเงินเป็นตัวตั้ง เพราะถ้าเอาเงินมาทุ่มก็เสร็จกัน หากยังไม่มีระบบหรือมีความพร้อม เพราะบางแห่งที่ยังไม่เข้มแข็ง อาจรวมตัวกันเพื่อมารับเงิน"

คุณหญิงสุพัตรากล่าวว่า ฉะนั้นต้องคิดเป็น 2 ระบบ ระบบแรกใครที่ทำอยู่แล้วให้รองบประมาณ ปี 2553 ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่เริ่ม จะมีส่งเสริมให้สร้างขบวนชาวบ้านกันเองที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาคุยกันว่าในระยะยาวจะดูแลกันเองเป็นสวัสดิการของสังคมจริงๆ เกื้อกูลจริงๆ คนพิการหรือคนด้อยโอกาสก็ไม่ต้องสมทบ เพราะชุมชนจะเป็นผู้ดูแล

"เขาฝันไปถึงว่า พอแก่เฒ่าก็จะมีบำนาญเลี้ยงดูกันด้วย ตอนนี้มีชุมชนที่ทำเรื่องนี้จนเข้มแข็งอยู่ประมาณ 3 พันหมู่บ้าน ยังเหลืออีก 4 พันกว่าหมู่บ้านที่ต้องค่อยๆ เคลื่อนกันเพราะเขาต้องการกระบวนการ ก่อนถึงต้นกันยายนและตุลาคม เครือข่ายชาวบ้านเขาจะไปช่วยกันดูแลก่อน" คุณหญิงแอ๋วบอกถึงการสนับสนุนจากรัฐบาลที่เริ่มเห็นเป็นรูปธรรม "ชาวบ้านเป็นคนพูดเลยว่าอย่าใช้เงิน ขอขบวนการก่อนซึ่งน่ารักมาก มีชาวบ้านพูดขำมาก เขาบอกว่าสวัสดิการน่ะ ไม่ใช่ประชานิยม นี่คือสวัสดิการที่ชาวบ้านจัดเพราะฉะนั้นเงินไม่ใช่ตัวตั้ง แต่ต้องการให้เห็นว่าเป็นการร่วมกันของ 3 ฝ่ายคือชาวบ้าน องค์กรท้องถิ่น และรัฐบาล"

คุณหญิงสุพัตราบอกว่า ในที่ประชุมเรื่องสวัสดิการนี้ได้มีการพูดถึงพื้นที่นำร่อง และทำเป็นต้นแบบกระจายตามภาคต่างๆ ซึ่งจะช่วยยกระดับงานของชาวบ้านจากระดับจังหวัดเป็นระดับชาติ

"ที่สำคัญอย่าไปบังคับเขาว่าต้องเหมือนตรงนั้นตรงนี้ เขามาดูแล้วเขาก็สนใจ แต่เขาทำเข้มแข็งของเขาอยู่แล้วเพราะว่าแต่ละแห่งมีธรรมชาติที่ไม่เหมือนกัน"

ส่วนเรื่องธนาคารต้นไม้ คุณหญิงสุพัตราอธิบายว่า เดิมที่ก็คือโครงการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ซึ่งชาวบ้านทำกันอยู่แล้ว ซึ่งสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็เคยทำเรื่องการปลูกป่าในชุมชน โดยอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นคนทดลองเรื่องปลูกต้นไม้ใช้หนี้ ปรากฏว่าพอชาวบ้านปลูกแล้วก็เกิดแนวคิดว่า ในเมื่อพวกเขาไม่มีหนี้ ทำไมถึงต้องปลูกต้นไม้ใช้หนี้ด้วยล่ะ ดังนั้นจึงปลูกเป็นธนาคารต้นไม้ไปเสียเลยจึงเกี่ยวข้องกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.

"ชาวบ้านบอกว่า จริงๆ แล้วโครงการนี้พวกเขาไม่ต้องการเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเลยเพราะเขาทำเองกันหมดแล้ว แต่ต้องการรู้ว่ารัฐบาลมีนโยบายอย่างไรกับต้นไม้พวกนี้ เพราะแต่เดิมต้นไม้เศรษฐกิจเขาปลูกแล้วเขาตัดไม่ได้ ต้องไปขออนุญาตเพราะมีปัญหากับป่าไม้ แต่ถ้ารัฐบาลมีนโยบายชัดเจนให้เขาตัดได้ เขาก็จะได้เดินหน้ากันต่อไป ขณะที่อีกพวกหนึ่งยังเห็นต่อไปว่า ต้นไม้เหล่านี้มันน่าจะเป็นหลักทรัพย์ ที่เอาไปค้ำประกันได้ เช่น ประกันตัวลูกที่ถูกจับ เขาปรึกษากันอยู่ว่าจะทำพันธบัตรต้นไม้ได้มั้ย ฝั่งธนาคารแห่งประเทศไทยก็เลยระดมสมองกัน และบอกว่าเรียกอย่างอื่นได้มั้ย พอเรียกพันธบัตรปั๊บ มันพัวพันไปถึงเรื่องหนี้สาธารณะและเรื่องอื่นๆ อีก เราก็บอกว่าได้ ไม่ว่าเรียกอะไรก็ตาม แต่ขอให้เอาต้นไม้ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้"

ขณะนี้คณะกรรมการฯได้ลงไปดูพื้นที่การปลูกต้นไม้ใช้หนี้หรือธนาคารต้นไม้ ซึ่งมีหลายแห่งสามารถนำมาเป็นต้นแบบได้ เช่น ที่ชุมพร ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้ให้การสนับสนุนอยู่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเกษตรกรที่ยังเป็นหนี้อยู่นั้น ธ.ก.ส.ได้ประกาศในที่ประชุมว่าพร้อมที่จะพักหนี้ให้ทันที หากมีหลักทรัพย์ที่เป็นต้นไม้ไว้ค้ำประกัน ขณะที่รัฐบาลเองมีแนวทางที่จะโอนหนี้ของชาวบ้านจากธนาคารพาณิชย์อื่นๆ มาไว้ที่ ธ.ก.ส.เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ปลดหนี้ตามโครงการนี้

"กำลังเสนอไปที่นายกรัฐมนตรีว่า ชาวบ้านยังไม่จ่ายได้มั้ย แต่สำหรับดอกเบี้ย เราต้องหาเงินมาช่วยชาวบ้าน แต่หนี้สินพักไว้ก่อน พี่ไปดูที่ชุมพรมีลุงคนหนึ่ง ปลูกพืชในพื้นที่ 70 ไร่ เมื่อก่อนแกเป็นหนี้จนแทบจะฆ่าตัวตาย จนกระทั่งแกเอาแนวทางที่ในหลวงพระราชทานไว้มาใช้ แกทำเยอะแยะมากมายจนปลดหนี้หลายล้านบาทหมดสิ้น วันที่เราไปเป็นวันที่แกปลดหนี้ได้หมด ทุเรียนที่แกขายได้ไม่รู้เท่าไหร่ วันนั้นแกเลี้ยงแกเอาหมดเลย"

สำหรับเรื่องระเบียบหรือกฎหมายที่ใช้รองรับนั้น คุณหญิงสุพัตราบอกว่า ขณะนี้กรมป่าไม้เองก็เห็นด้วยในแนวทางนี้ และกำลังดูอยู่ว่าต้องแก้ระเบียบอะไรบ้าง แต่ให้ดีต้องแก้กฎหมายด้วยเพราะทำให้เป็นแนวทางที่ถาวร แต่ข้อเสียคือต้องใช้เวลานาน

"ตอนนี้ชาวบ้านเขารวบรวมองค์ความรู้ไว้หมดแล้ว ภาคไหนควรปลูกไม้อะไรเป็นไม้หลัก ไม้อะไรเป็นไม้รอง เพราะแต่ละภูมิประเทศไม้แต่ละอย่างเติบโตไม่เหมือนกัน"

ทั้งนี้อีกไม่นานจะมีการเปิดพื้นที่นำร่องสำหรับโครงการธนาคารต้นไม้ หลังจากที่ประเด็นปัญหาต่างๆ ได้ข้อยุติ

หน้า 9
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01way03050752&sectionid=0137&day=2009-07-05






Chat online and in real-time with friends and family! Windows Live Messenger

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน