บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

พิการแค่กาย! ผู้พิทักษ์ป่าจากกาบองคว้า "โนเบลสิ่งแวดล้อม" 2009

พิการแค่กาย! ผู้พิทักษ์ป่าจากกาบองคว้า "โนเบลสิ่งแวดล้อม" 2009
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 เมษายน 2552 16:59 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
Marc Ona Essangui ซึ่งเป็นโรคโปลิโอตั้งแต่เด็กทำให้ไม่สามารถเดินได้ แต่ก็ยังอุทิศตนต่อสู้เพื่อปกป้องป่าในกาบองไม่ให้ถูกทำลายจากน้ำมือคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว (ภาพจาก news.mongabay.com/Candace Feit)

Marc Ona Essangui และครอบครัว (ภาพจาก news.mongabay.com/John Antonelli)

น้ำตก Kongou ที่โอนาพยายามต่อสู้อย่างหนักเพื่อรักษาไว้ไม่ให้ถูกทำลายโดยการสร้างเขื่อน (ภาพจาก news.mongabay.com/John Antonelli)

ควายป่าในกาบอง (ภาพจาก news.mongabay.com/Rhett A. Butler)

นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชาวกาบอง แม้ตัวพิการ แต่ใจไม่พิการ ต่อสู้เพื่อปกป้องป่าให้ชาวกาบองจนถูกจับข้อหาก่อกบฏ สุดท้ายได้รับรางวัล "โนเบลสิ่งแวดล้อม" ร่วมกับเพื่อนพ้องร่วมอุดมการณ์อีก 6 คน จากทั่วโลก ตั้งเป้านำเงินรางวัลที่ได้ไปพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น พร้อมจัดตั้งสถานีอนามัยเพื่อชาวบ้าน
       
       มาร์ค โอนา เอสซังกี (Marc Ona Essangui) นักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมชาวกาบอง ทวีปแอฟริกาได้รางวัล "โกลเดนแมน เอนวายรอนเมนทอล ไพรซ์" (Goldman Environmental Prize) ประจำปี 2552 ซึ่งเทียบได้กับรางวัลโนเบลที่มอบให้ในสาขาสิ่งแวดล้อม โดยพิธีมอบรางวัลจัดขึ้นในเมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ วันที่ 20 เม.ย.52 ที่ผ่านมา
       
       โอนาได้ต่อสู้เรียกร้อง เพื่อต่อต้านโครงการขุดเหมืองแร่เบลิงกา (Belinga mine project) ต่อเนื่องมานานถึง 3 ปี เมื่อทราบว่ารัฐบาลกาบองตกลงยินยอมให้สัมปทานการทำเหมืองแร่เหล็กแก่ซีเมค (Chinese mining and engineering company: CMEC) บริษัทเหมืองแร่รายหนึ่งของจีนเมื่อปี 2549 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสกัดแร่เหล็กได้ครั้งแรกภายในปี 2553 โดยเหมืองเบลิงกาอยู่ในเขตป่าของกาบอง เป็นแหล่งแร่ที่อุดมสมบูรณ์ เพียงไม่กี่แห่งของโลกที่ยังไม่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นเหมืองแร่อย่างแท้จริง
       
       โครงการขุดเหมืองแร่ดังกล่าว จำเป็นต้องสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเป็นแหล่งจ่ายพลังงานให้เหมือง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยสร้างเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำอิวินโด (Ivindo River) ใกล้กับน้ำตกคองโก (Kongou Falls) ซึ่งเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในกาบอง และยังเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดในแอฟริกากลางตามความเห็นของโอนา
       
       โอนาบอกว่ารัฐบาลกาบองมิได้มีการเจรจากับชาวบ้านในท้องถิ่น และยังไม่มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเข้ามาดำเนินการ ซึ่งโอนาบอกกับบีบีซีนิวส์ว่าเขาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารางวัลที่เขาได้รับในครั้งนี้จะช่วยดึงความสนใจของนานาประเทศให้หันมาพิจารณาถึงคุณค่าและความสำคัญที่เหมาะสมและควรเป็นไปของพื้นที่แห่งนี้
       
       ทั้งนี้ ช่วงเริ่มต้นวัยทำงานของโอนาเขาทุ่มเทให้กับงานพัฒนาด้านการศึกษาและการสื่อสารในกาบอง รวมทั้งเคยทำงานด้านการพัฒนาให้กับสหประชาชาติ ต่อมาเริ่มมีความสนใจงานทางด้านสิ่งแวดล้อม และในที่สุดจึงผันตัวเองมาเป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างเต็มตัว โดยทำงานให้กับเบรนฟอเรสต์ (Brainforest) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีจุดมุ่งหมายในการปกป้องป่าไม่ให้ถูกทำลาย
       
       โอนาซึ่งป่วยเป็นโปลิโอตั้งแต่เด็ก เล่าว่ารัฐบาลได้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นมาจำนวน 13 แห่ง ซึ่งเขาก็ให้ความสนใจเข้าร่วมกับทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับป่าเหล่านั้น ต่อมาปี 2549 ทีมงานของเขาพบว่ากำลังมีการก่อสร้างถนนในเขตอุทยานแห่งชาติอิวินโด (Ivindo National Park) เมื่อสืบสาวต่อไปก็พบว่าไม่มีการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อนเริ่มดำเนินโครงการด้วย
       
       ในเว็บไซต์ของอุทยานแห่งชาติ รัฐบาลกาบองอธิบายไว้ว่า อุทยานแห่งชาติถูกจัดแยกไว้ให้เป็นแห่งอนุรักษ์ควาามหลากหลายทางชีวภาพของกาบอง ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือรักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ไว้สำหรับผู้คนในรุ่นปัจจุบันและอนาคต และส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ให้สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
       
       "การก่อสร้างสิ่งเหล่านั้นมันเป็นไปอย่างไม่ถูกต้องตามกฏหมายและขัดกับหลักเกณฑ์ของอุทยานแห่งชาติ และเมื่อเราสืบค้นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับซีเมคมากยิ่งขึ้น เราพบว่าผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากงานนี้เต็มๆ คือบริษัทจากจีน ไม่ใช่ชาวกาบอง" โอนา กล่าว ซึ่งเขายังได้เปิดโปงสำเนาบันทึกข้อตกลงโครงการเหมืองเบลิงการะหว่างรัฐบาลกาบองกับซีเมคด้วย
       
       พวกของโอนา ได้พยายามเรียกร้องให้ล้มเลิกโครงการดังกล่าว โดยมีองค์กรอื่นๆในด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วมด้วย แต่รัฐบาลก็มิได้สนใจในข้อเรียกร้องของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งยังกระทำการบางอย่างเพื่อขัดขวางการทำงานของเหล่าเอ็นจีโอทั้งหลายที่พยายามขัดขวางโครงการ
       
       "พวกเขากล่าวหาว่า พวกเราทำงานให้กลับกลุ่มเวสเทิร์นพาวเวอร์ (Western powers) ซึ่งตอนนั้นเราได้รับแรงกดดันอย่างมากเพื่อให้เราหยุดการต่อต้านโครงการนั้น" โอนา เล่าแก่ทีมข่าวของบีบีซีนิวส์ ซึ่งเรื่องราวรุนแรงจนถึงขึ้นโอนาถูกจับกุมในข้อหาปลุกปลั่นประชาชนให้ก่อการกบฏในกาบอง และถูกตัดสินให้จำคุกเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.51 แต่เพื่อนพ้องของเขาก็พยายามต่อสู้เรียกร้องจนโอนาได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระเมื่อวันที่ 12 ม.ค.52
       
       ก่อนหน้านี้โอนาถูกยึดหนังสือเดินทาง และห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศตั้งแต่ปี 2549 แต่เขาได้รับหนังสือเดินทางคืนภายใน 24 ชั่วโมง ก่อนถึงเวลาเดินทางไปซานฟรานซิสโกเพื่อร่วมพิธีรับรางวัลในวันที่ 20 เม.ย.
       
       อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะไม่มีการก่อสร้างใดๆ เกิดขึ้นในอิวินโดมานานเกือบ 1 ปีแล้ว แต่โอนาก็ยังบอกว่า ยังมีอะไรที่เขาต้องทำอีกมากด้วยสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและราคาของแร่เหล็กในขณะนี้ เพื่อให้รัฐบาลกาบองยินยอมรับฟังและทำตามในสิ่งที่เหมาะสม
       
       ส่วนเงินรางวัลที่เขาจะได้รับนั้น เขาตั้งใจว่าจะนำมาเป็นทุนสนับสนุนการทำงานของเบรนฟอเรสต์ และส่วนหนึ่งจะนำไปส่งเสริมชุมชนในท้องถิ่นอิวินโดเพื่อพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นของชุมชนเอง รวมถึงใช้เพื่อจัดตั้งสถานีอนามัยภายในชุมชนเพื่อใช้ชาวบ้านทุกคนได้เข้าถึงการรักษาและสาธารณสุขระดับชุมชน
       
       ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัล Goldman Environmental Prize ในปีนี้มีทั้งสิ้น 7 คน จาก 6 ทวีป ซึ่งมอบให้กับบุคคลทั่วไปที่อุทิศตนและเป็นผู้นำกลุ่มในการทำงานเพื่อปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง เป็นเงินรางวัลทั้งสิ้น 9 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ
       
       นอกจากโอนาที่ได้รับรางวัลนี้ยังมีบุคคลอื่นๆ ได้แก่ มาเรีย กันโน (Maria Gunnoe) จากสหรัฐฯ ผู้นำการต่อต้านการทำเหมืองถ่านหินในเขตเทือกเขาแอพพาลาเชีย (Appalachia)
       
       ออลกา สเปียรันสกายา (Olga Speranskaya) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ที่ร่วมกับกลุ่มเอ็นจีโอในแถบยุโรปตะวันออกในการแยกและกำจัดสารพิษที่ใช้ในการเกษตรและอุตสาหกรรม, ไรซวานา ฮาซัน (Rizwana Hasan) นักกฏหมายสิ่งแวดล้อมชาวบังกลาเทศที่สร้างความตระหนักถึงอันตรายของอุตสาหกรรมแปรสภาพเรือเหล็กเก่า
       
       ยูยุน อิสมาวาตตี (Yuyun Ismawati) จากอินโดนีเซีย ที่เรียกร้องให้มีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ, ฮิวโก จาบินี (Hugo Jabini) และ แวนเซ เอดวาร์ด (Wanze Edwards) จากซูรินาเม ที่ร่วมกับประชากรท้องถิ่นต่อต้านการเข้ามารุกรานผืนแผ่นดินของชาวพื้นเมือง.

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000044358


Windows Live™ SkyDrive™: Get 25 GB of free online storage. Check it out.

1 ความคิดเห็น:

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน