บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน (ตอน: 1) การไม่เลือกปฏิบัติคืออะไร และมีผลดีต่อนายจ้างอย่างไร

การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน (ตอน: 1) การไม่เลือกปฏิบัติคืออะไร และมีผลดีต่อนายจ้างอย่างไร 

วิทยากร บุญเรือง

การปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเป็นธรรมเป็นสิ่งที่ดีงามด้วยตัวของมันเอง ในสถานประกอบการณ์นั้น การตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับการจ้างงานพึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพในการทำงานโดยระบบคุณธรรม การปฏิบัติไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นเมื่อการตัดสินใจไปอิงเกณฑ์ที่ไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงาน เช่น เชื้อชาติ ศาสนา เพศหญิงชาย หรือภูมิลำเนาเดิม

ในต้นศตวรรษที่ 21 มีพลังสำคัญที่นำไปสู่การปรับโครงสร้างองค์กรอยู่ 2 ประการคือ ประการแรก องค์กรเริ่มพบว่าหากต้องการจะประสบความสำเร็จในสภาพตลาดที่มีการแข่งขันสูงนั้น จะบริหารจัดการธุรกิจหรือราชการแบบเดิมนั้นไม่เพียงพอเสียแล้ว องค์กรจะต้องปรับตัวตอบสนองความต้องการของตลาดหรือสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีวิธีใหม่ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ บีบให้บริษัทต้องปรับตัวยืดหยุ่นในการจัดสรรและใช้ประโยชน์ทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น เพื่อให้บริษัทสามารถกระจายกำลังคนไปทำงานในแผนกต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ทำงานร่วมกับแผนกอื่น องค์กรอื่นหรือจัดเป็นทีมงานในระดับชาติ รูปแบบการทำงานเช่นนี้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ของตลาดและการผลิตในยุคใหม่ต้องอาศัยคนจากหลายๆภูมิหลังทำงานร่วมกัน

ขณะเดียวกันประชากรกำลังแรงงานก็เปลี่ยนแปลงไป ทำให้องค์กรต้องทบทวนความเชื่อและนโยบายที่เคยใช้ในอดีตเกี่ยวกับบุคลากรด้วย การที่องค์กรต้องการคนทำงานเป็นทีมมากขึ้นและประชากรกำลังแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นทำให้พนักงานในบริษัทมีความหลากหลายมากขึ้น (ทั้งในด้านสัดส่วนของหญิงชาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา ภูมิลำเนาเดิม อายุ สภาพความพิการ (รวมทั้งการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ด้วย) และอื่นๆ) และต้องทำงานร่วมกันมากขึ้นแม้ว่าขณะนี้จะมีกฎหมายและสถานประกอบการด้วยกันดึงให้บริษัทต้องปฏิบัติกับพนักงานของตนให้เท่าเทียมกันมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่มากเท่าที่ควร จำเป็นที่บริษัทต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและแนวปฏิบัติในองค์กรเพื่อให้สอดคล้องรับนโยบายการจ้างงาน รักษาพนักงานและเลื่อนตำแหน่งมากขึ้น

การเลือกปฏิบัติรูปแบบต่างๆ ยังเป็นปัญหาแทบทุกแห่งในโลก โดยเฉพาะในการจ้างงานและเลือกอาชีพ "การเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ" หมายถึงวิธีใดก็ตามที่ทำให้คนบางคนต้องตกอยู่ในสภาพด้อยหรือเสียเปรียบในตลาดแรงงานหรือในสถานประกอบการเนื่องจากอคติเกี่ยวกับเพศ อายุ เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ภูมิลำเนาเดิม สถานภาพเดิมทางสังคมหรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานที่ทำ

การเลือกปฏิบัติอาจเกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ การตั้งใจเลือกปฏิบัติโดยตรงเช่นจงใจชี้ให้เห็นความแตกต่าง จงใจเลือกหรือไม่เลือกโดยอ้างเหตุผลนานา เช่น โฆษณาที่ระบุ "รับเฉพาะผู้ชาย" ก็ถือเป็นการจงใจเลือกปฏิบัติโดยตรง ส่วนการเลือกปฏิบัติโดยอ้อมหมายถึงมีสถานการณ์ มาตรการหรือแนวปฏิบัติที่ดูผิวเผินก็ดูเป็นกลางดี แต่มีผลในทางลบต่อบางคนหรือบางกลุ่ม การเลือกปฏิบัติโดยอ้อมนี้มักแฝงมา จึงยากที่จะจัดการ

การไม่เลือกปฏิบัติมีหลักการเบื้องต้นคือต้องปฏิบัติต่อคนทุกคนทัดเทียมกันไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นคนอย่างไรมาจากไหนตราบใดที่สามารถทำงานให้กับองค์กรได้ การให้โอกาสและปฏิบัติต่อคนอย่างเสมอภาคทำให้คนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มภาคภูมิ มีโอกาสหางานทำทัดเทียมผู้อื่นและมีสภาพทำงานดีทัดเทียมกัน

แต่การหยุดเลือกปฏิบัติเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ทำให้การเลือกปฏิบัติหมดไปจากระบบการจ้างงานและอาชีพได้ จำเป็นต้องมีการส่งเสริมให้คนมีโอกาสเสมอภาคและปฏิบัติต่อคนทัดเทียมกันในสถานประกอบการในทุกระดับ ตั้งแต่การสรรหา การรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัท การเลื่อนตำแหน่งและการเลือกจ้างงาน การให้ค่าตอบแทน โอกาสการเข้ารับฝึกอบรมวิชาชีพและพัฒนาทักษะฝีมือ เนื่องจากโครงการรับพนักงานจากหลากหลายกลุ่มนี้ให้ความสำคัญต่อภูมิหลังของพนักงานที่แตกต่างกัน ต้องหาคนทำงานที่มีความรู้ความสามารถจากวัฒนธรรมต่างๆ และทุกกลุ่มประชากร จำทำให้ความเสมอภาคเป็นหัวใจของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนั้น การจัดการพนักงานจากหลากหลายภูมิหลังโดยไม่เลือกปฏิบัตินั้นกำลังเป็นเครื่องมือการบริหารอย่างดีในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพขององค์กรมากขึ้นทุกที

นโยบายจัดการกำลังแรงงานจากหลากหลายภูมิหลังก็เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ให้โอกาสพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การอย่างเต็มที่ตลอดจนมีโอกาสก้าวหน้าเลื่อนตำแหน่งตามผลงานความสามารถ ซึ่งทำให้องค์การและสภาพการทำงานดียิ่งขึ้น การจ้างงานสตรี ผู้มีอายุและชนกลุ่มน้อยเพียงประการเดียวยังไม่เป็นหลักประกันว่าการจัดการกำลังแรงงานหลากหลายจะประสบความสำเร็จได้ด้วยดี พนักงานจะอยู่ทำงานกับองค์การได้นานและทำงานได้อย่างเต็มกำลังนั้นขึ้นอยู่ว่าองค์การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างไรด้วย รวมทั้งโอกาสความก้าวหน้า การฝึกอบรมและความพอใจในอาชีพงาน การที่บริษัทต้องการพัฒนาทักษะฝีมือพนักงาน ให้พนักงานซื่อสัตย์กับองค์การและมีสัมพันธ์อันดีที่เกื้อหนุนกันระหว่างพนักงานกับบริษัทนั้นจึงนับเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง แต่เป็นการลงทุนด้านบุคลากร

แม้จะเป็นที่ยอมรับกันว่าความเสมอภาคในสถานประกอบการมีส่วนทำให้บริษัทมีผลประการดีขึ้นแต่ก็ยังไม่มีการศึกษาและรวบรวมหลักฐานมากเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าการไม่เลือกปฏิบัติการจ้างงานทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้นอย่างไร

ILO ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากและมีโครงการศึกษาวิจัยหลายโครงการ เป็นต้นว่ามีนโยบาย (ILO, 2000) เน้น "...ให้มีการศึกษาวิจัยตัวแปรแทรกซ้อนที่กำหนดความเชื่อมโยงระหว่าง...ความเสมอภาคกับผลประกอบการทางเศรษฐกิจ"   ผลจากงานวิจัยในเบื้องต้นในปี 2000 แสดงผลของการจ้างงานที่ไม่มีการเลือกปฏิบัติว่ามีผลต่อผลิตภาพและผลประกอบการของบริษัทดังนี้

• การให้โอกาสเสมอภาคทำให้ผลิตภาพสูงขึ้น

• บริษัทที่มีพนักงานที่เคยเป็นผู้ถูกเลือกปฏิบัติเป็นพนักงานกลุ่มใหญ่ การให้โอกาสเสมอภาคทำให้ผลิตภาพของบริษัทสูงขึ้น

• บริษัทที่มีนโยบายให้ความเสมอภาคอย่างจริงจังมีผลดีต่อผลิตภาพของบริษัท     

โดยผลงานวิจัยนี้บ่งว่านโยบายไม่เลือกปฏิบัติและสามารถทำได้จริงมีผลต่อศักยภาพองค์การหลายประการ คือ

• การจัดกำลังงานลงสู่ตำแหน่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการเพิ่มคุณภาพของทุนมนุษย์และขวัญกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การอีกโสตหนึ่ง

• จัดคนลงกับงานได้อย่างเหมาะสม การเลือกคนลงตำแหน่งงานมีเกณฑ์ที่เป็นกลางและเป็นระบบมากขึ้น

• สมาชิกของกลุ่มที่เคยถูกเลือกปฏิบัติมีกำลังทำงานมากขึ้นเพราะ

                        - มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากขึ้น

                        - พนักงานมีความรู้สึกว่าบริษัทมีความยุติธรรม

                        - ได้งานที่มีความหมายมากขึ้นและมีโอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์

• พนักงานลาออกน้อยลง (โดยเฉพาะกลุ่มที่เคยถูกเลือกปฏิบัติ)

• บรรยากาศและสภาพแวดล้อมการทำงานเครียดน้อยลง ทำให้พนักงานมีสุขภาพดีขึ้น มีขวัญและกำลังใจและรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง

มีหลักฐานชี้บ่งชัดเจนว่าเมื่อบริษัทมีนโยบายโอกาสการจ้างงานอย่างเสมอภาค (equal employment opportunity: EEO) ร่วมกับการให้พนักงานมีส่วนร่วมมากขึ้น ผลิตภาพของบริษัทจะสูงขึ้นอีกด้วย

           

ที่มาเรียบเรียงจาก:
Coporates Success Through People: Making International Labours Standards Work For You (Nikolai Rogovsky And Emily Sims, ILO, 2002)

 

รายงานที่เกี่ยวข้อง:
การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 1) กรณีศึกษาบริษัท Levi Strauss  (ประชาไท 26/3/2552)
การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 2) "แผนการโนอาห์" สร้างแรงงานสู่ผู้ประกอบการ  (ประชาไท 28/3/2552)
การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 3) ดูพวกเขากระทำกับแรงงาน เมื่อธุรกิจ dotcom ล่มสลาย (ประชาไท 1/4/2552)
การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 4) มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศกับการเลิกจ้างงาน (ประชาไท 4/4/2552)




http://www.prachatai.com/05web/th/home/16620
โดย : ประชาไท   วันที่ : 26/4/2552


Windows Live™ SkyDrive™: Get 25 GB of free online storage. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน