บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

ล่องคลองบางมด ชิมส้ม ชมสวน

ล่องคลองบางมด
ชิมส้ม ชมสวน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 มีนาคม 2552 18:16 น.
       เมื่อพูดถึงส้มบางมด คนรุ่นแม่ต่างยอมรับในกิตติศัพท์ความฉ่ำหวานกว่าส้มพันธุ์ใดๆ แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ๆ น้อยนักที่จะมีโอกาสลิ้มรส ถึงขนาดอาจจะไม่เคยเห็นหน้าค่าตาส้มเขียวหวานชนิดนี้เลยสักครั้ง วันหยุดสุดสัปดาห์คราวนี้เลยตั้งใจพาคุณๆ ไปลงเรือเที่ยวคลองบางมด ชม และชิมส้มสดๆ จากสวนกันดีกว่า แต่ขอบอกก่อนว่าทริปนี้เที่ยวกันแบบสนุกๆ ไม่หรูหราอะไร แต่จะได้สัมผัสของแท้ ที่ไร้การปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าคลองแห่งนี้จะถูกระบุให้อยู่ในส่วนหนึ่งบนแผนที่กรุงเทพมหานครก็ตาม
       
       จะไปเที่ยวทั้งทีตื่นกันแต่เช้าหน่อยดีกว่า ขับรถมุ่งตรงสู่สะพานพระราม9 ลงทางด่วนที่ด่านสุขสวัสดิ์ ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางมด เพียงอึดใจก็ถึงซุ้มประตูวัดพุทธบูชาที่งดงามด้วยฝีมือช่างเมืองเพชร เรามีนัดกับรองประธานการท่องเที่ยวบางมด-ทะเลกรุงเทพฯ คุณลุงสมศักดิ์ พลอยจิ๋ว ซึ่งยินดีเป็นไกด์กิตติมศักดิ์พาเที่ยวทั่วคลองบางมด ที่ศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ล่องเรือชมสวนบางมด-ทะเลกรุงเทพฯ ชุมชนพุทธบูชา ในบริเวณวัดแห่งนี้
       
       ก่อนจะเรือที่ท่าน้ำหลังวัด เราตั้งใจเข้าไปในพระอุโบสถ กราบนมัสการพรจากพระบรมสารีริกธาตุ และองค์พระพุทธชินราชจำลองที่งดงามตามพุทธลักษณะทุกประการ ขนาดเท่าองค์จริงซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ จังหวัดสุโขทัย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต แล้วจึงก้าวเท้าสู่ท่าน้ำ ซึ่งอดีตเคยขวักไขว่ไปด้วยลำเรือนับร้อย แต่ละลำบรรทุกส้มกว่า 1,800 กิโลกรัมออกจากสวน เพื่อส่งขายให้พ่อค้าที่มาจอดรถบรรทุกรับถึงหน้าท่า แต่ปัจจุบันสวนส้ม เหลือน้อยเต็มที และถนนก็ตัดตรงไปยังสวน บทบาทของท่าน้ำจึงลดลง ส่วนหนึ่งแปรสภาพเป็นวังมัจฉา เราแอบอมยิ้มเมื่อเห็นครอบครัวพ่อแม่ลูกมาให้อาหารปลาและฝูงนกพิราบ ปล่อยกบ ปล่อยหอยกันอย่างสนุกสนาน
       
       เรือลำสวยของ ลุงไสว จอดลอยลำรอท่าอยู่แล้ว เมื่อผู้โดยสารลงนั่งประจำที่เรียบร้อย หางเสือเรือก็ถูกบังคับให้มุ่งหน้าเข้าคลองบางมด โดยมีลุงสมศักดิ์คอยบรรยายให้ความรู้ตลอดทาง สายน้ำเล็กๆ ใสสะอาดเส้นนี้กันกลางระหว่างเขตทุ่งครุ และบางขุนเทียน สองฟากฝั่งโอบล้อมด้วยสวนผลไม้ อาทิ ส้ม มะพร้าว มะขามเทศ พุทรา สลับกับบ่อปลา และบ่อกุ้งพัฒนา บ้านหลังย่อมปลูกอยู่ริมน้ำเป็นระยะๆ บ้างเปิดเป็นร้านค้าของชำ ร้านจำหน่ายและซ่อมเครื่องเรือที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า จนถึงรุ่นหลาน อาจจะดูเงียบเหงาไปบ้าง เพราะเมื่อเรียนหนังสือจบแล้วบางส่วนก็ไปทำงานในเมือง
       
       ลมเย็นๆ พัดผ่าน พร้อมๆ กับหัวเรือที่กรีดน้ำออกเป็นสาย ต้นเตยหนามอวดลูกน่ารักคล้ายๆ ลูกสาเกอยู่ริมตลิ่ง ชุมชนย่านนี้แม้จะมีทั้งที่นับถือพุทธและอิสลาม แต่ก็อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว เราจึงเห้นทั้งวัดและมัสยิดเก่าแก่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากกันนัก นั่งเรือเพลินๆ ผ่านสวนละมุด ร้าน ลุงเบิ้ม ขายโอเลี้ยงขึ้นชื่อ และสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่ ที่เจ้าของกำลังจะตัดดอกงามๆ เตรียมส่งออก ลุงไสวก็เทียบท่าที่สวนส้มบางมด-ทุ่งครุ ของ ลุงสุทินและป้าทองเจือ เอี่ยมศาสตร์ สวนส้มแห่งนี้มีชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วทั้งคุ้งน้ำ เพราะคว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดส้มเขียวหวานบางมดได้ถึง 3 รางวัลจากปีที่ผ่านมา จนใครที่อยากชิมส้มสวนนี้ต้องโทรจองล่วงหน้ากันเลยทีเดียว เจ้าของสวนทั้งสองต้อนรับเราด้วยน้ำเย็นชื่นใจ แม้พระอาทิตย์จะบอกเวลาสายแล้ว แต่อากาศก็ไม่ร้อนเกินกว่าที่จะเที่ยวชมนกชมไม้ในสวนกันได้อย่างเพลินเพลิน
       
       แม้ชาวสวนส้มจะไม่ได้ทำงานในห้องแอร์คอนดิชั่น แต่ก็มีวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุขและความพอเพียง เราลงเรือลำน้อยๆ พายไปตามท้องร่องสวนขนาด 7 ไร่ของลุงกับป้า เก็บส้มเขียวหวานบางมดสดๆ จากต้น ทันทีที่แกะเปลือกความหอมจากต่อมน้ำมันบนผิวส้มบางๆ ก็ลอยมาแตะจมูก กลีมส้มสีจัดจ้านถูกส่งเข้าปาก รสชาติหวานชุ่มฉ่ำ ชันนิ่มๆ และเม็ดที่มีเพียงเล็กน้อย ชวนให้ติดใจอยากทานลูกต่อๆ ไปจนยากที่จะหยุด ป้าทองเจือเล่าให้ฟังว่า ส้มที่นี่หวานหอมโดยธรรมชาติ ต่างจากส้มที่อื่นๆ เพราะพื้นดินที่บางมดเป็นสุสานหอยเก่า (ทุกวันนี้ยังเห้นเปลือกหอยกระจายอยู่ตามท้องร่อง) มีโปรแตสเซียมมาก เหมาะแก่การปลุกส้มอย่างยิ่ง
       
       เมื่อบนหลังร่องปลูกต้นส้ม ในท้องร่องก็ปลูกผักกระเฉด ผักบุ้ง เลี้ยงปลา มีทั้งปลานิล ปลาทับทิม ให้จับกินจับขาย ท้ายสวนก็เตรียมยกแปลงปลูกผัก เพื่อให้มีรายได้หมุนเวียน ระหว่างที่รอส้มออกผล รอบๆบริเวณมะพร้าวให้ร่มเงา แถมยังได้ใช้ได้กิน และเป็นสัญลักษณ์บอกอาณาเขตอีกด้วย เราเห็นจริงตามที่ลุงสุทินว่า "อยู่ในสวนไม่มีอด จะมีก็แต่เสียเงินซื้อข้าวสารเท่านั้น"

       แต่การจะเป็นชาวสวนส้มก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะปัจจุบันสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป คุณภาพน้ำลดลงด้วยน้ำเสียจากเมือง บางปีน้ำท่วม น้ำเค็มทะลักเข้าสวน หรืออย่างปีนี้ฝนชุกเกินไปส้มที่กำลังติดผลก็ร่วงไปมาก จะเป็นชาวสวนที่ประสบความสำเร็จได้จึงต้องอาศัยทั้งความรู้ และประสบการณ์ที่ตกทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ต้องใส่ใจดูแลโดยตลอด ดังนั้นในสวนส้มจึงมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสนุกกันทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดิน ยกร่อง ตัดกิ่ง ลอกเลย รดน้ำ ฉีดยา ดูแลดอกส้ม แต่ถ้าอยากไปเก็บส้มสดๆจากต้องเตรียมตัวตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงกุมภาพันธ์ แต่ปีนี้ผลผลิตน้อย จึงอาจจะไม่พอขายถึงปีใหม่ ถ้าใครสมัครใจจะไปเก็บลูกส้ม ขอแนะให้ติดต่อศูนย์บริการท่องเที่ยวฯเสียก่อน อย่างไรก็ตาม วันนี้เราก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ส้มบางมดแท้ๆ ยังหวานฉ่ำมีให้ได้กินกัน ไม่ได้เป็นตามคำปรามาสที่ว่า "ส้มบางมด หมดไม่มีเหลือ"
       
       หลังจากลำเลียงลูกส้มบางมดแท้ๆ กว่าสิบกิโลกรัมลงเรือสำหรับกำนัลคนที่บ้านแล้ว ลุงไสวจึงสตาร์ทเครื่องพาเราชมวิถีชีวิตริมคลองอีกครั้ง คราวนี้ทัศนียภาพซ้ายขวาเปลี่ยนเป็นแพผกบุ้งจีน หญิงชาวบ้านในบริเวณนั้นกำลังช่วยกันจับผักบุ้งมัดเป็นกำเตรียมส่งขาย บ้างกำลังเตรียมยอหาปลา ในมือมีข้าวเหนียวผสมรำข้าวไว้โยนเข้าไปกลางยอทันทีที่กดหัวลง เมื่อยกยอขึ้นก็มักจะได้ปลานิล ปลาหมอเทศติดมาทุกที จนเกิดอาชีพกลุ่มผลิตภัณฑ์ปลาแดดเดียวชุมชนหัวป่า ใครสนใจอยากซื้อปลาแดดเดียวสดๆ ก็มีจำหน่ายกันอยู่ริมคลองตั้งแต่ 7-8 โมงเช้า
       
       เรือเครื่องแล่นไปเรื่อยๆ ผ่านสวนมะม่วงนวลจันทร์ที่รสชาติหวานขึ้นชื่อ เพราะมีเคล็ดลับอยู่ที่การเป็นมะม่วงที่ปลูกด้วยกาบมะพร้าว มาถึงหน้าวัดบัวผัน หากใครใจดีลองโยนขนมปังลงน้ำ ก็จะได้ตื่นตากับฝูงปลาสวายตัวใหญ่นับร้อย หรือจะขึ้นไปสักการะพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัยภายในวัดก็ย่อมได้ แต่สำหรับเราที่กราบพระขอพรมาแล้วก่อนลงเรือ จึงสมัครใจไปเทียบท่าที่สวนพุทราจัมโบ้ของ คุณวิสันต์ หรุ่นรอด ดีกว่า พุทราสวนนี้หวานกรอบ ลูกใหญ่ขนาดน้องๆแอปเปิ้ลเขียวทีดียว แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปีนี้น้ำมากส่งผลกระทบต่อจำนวนผลผลิตเช่นเดียวกับส้ม จนเจ้าของสวนตัดใจจะโค่นต้นพุทราบางส่วนออก แล้วลงต้นมะขามเทศแทนเพื่อความอยู่รอด
       
       ออกจากสวนพุทรา ล่องเรือต่อไปอีกนิด ผ่านศาลเจ้าแม่ทับนาง ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านแถบนี้มายาวนาน ลุงไสวจึงเบนหัวเรือกลับลำที่หน้าสวนโป๊ยเซียนส่งออกขนาดใหญ่ ที่เจ้าของยินดีให้เข้าไปเที่ยวชม และซื้อติดมือกลับบ้านไปด้วย
       
       ขากลับลุงสมศักดิ์ชวนเราแวะเทียบท่าจุดสุดท้ายที่สวนมะพร้าวน้ำหอมของคุณปรีชา พลอยเสี้ยง ซึ่งต้องยกนิ้วให้กับน้ำมะพร้าวที่หอมหวานชื่นใจ จนหายเหนื่อยจากการตะลอนเที่ยวสวนต่างๆ มาตลอดทางทีเดียว นอกจากมะพร้าวอ่อนที่เฉาะให้ดื่มกินกันสดๆ แล้ว ที่นี่ยังมีวุ้นในลูกมะพร้าวที่ชิมแล้วรับรองจะติดใจสั่งกลับไปอร่อยต่อที่บ้านกันเป็นแถว
       
       ใครสนใจจะไปล่องเรือ ชิมส้ม ชมสวนที่คลองบางมด แนะนำให้ติดต่อล่วงหน้า หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ล่องเรือชมสวนบางมด-ทะเลกรุงเทพฯ บริเวณท่าน้ำวัดพุทธบูชา ริมคลองบางมด หมู่ที่ 3 ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ โทร. 0-2426-3844 สนนราคาค่านั่งเรือล่องคลองบางมด เริ่มต้นที่ท่านละ 100 บาท ค่าเข้าชมสวนส้มท่านละ 20 บาทเท่านั้น
       


       

       ข้อมูลจากนิตยสาร Voyage : www.voyagetravelmag.com

http://www.manager.co.th/lady/viewnews.aspx?NewsID=9520000035419


Windows Live™ Hotmail®:…more than just e-mail. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน