บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

ฤดูร้อนเส้นทางสายฝัน แม่สายมุ่งสู่เชียงตุง

ฤดูร้อนเส้นทางสายฝัน แม่สายมุ่งสู่เชียงตุง
ข่าววันที่ 14 เมษายน 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

สัญจร

เนติ โชติช่วงนิธิ

 

ฤดูร้อน เส้นทางสายฝัน

แม่สาย มุ่งสู่ เชียงตุง

 

ในความรู้สึกและนึกคิดของผมห้วงเวลาหนุ่มแตกพาน "ฝัน" อยากไปสัมผัสเมืองเชียงตุงสักครั้งหนึ่ง

กาลเวลาล่วงมากว่าสามสิบปี ผมหันเหชีวิตมาจับปากกาเขียนสารคดีท่องเที่ยวร่อนส่งตามหนังสือพิมพ์และนิตยสารเป็นครั้งคราว แล้วก็ใฝ่ฝันหาโอกาสที่จะมาเมืองเชียงตุงให้ได้ เพราะอยากเห็นบ้านเมือง ผู้คน ภาษา และสังคมทางวัฒนธรรม

            ในปี พ.ศ. 2545 ผมได้หนังสือสารคดีท่องเที่ยวชื่อ "เส้นทางสายฝัน" ของ คุณทองแถม นาถจำนง นักเขียนนักกวีผู้ย่ำเท้าไปในดินแดนสิบสองปันนา ยูนนาน เชียงรุ่ง เชียงตุง ฯลฯ เมื่อร่วมยี่สิบปีที่แล้ว และก่อนหน้านั้นในช่วงรอยต่อของปี พ.ศ. 2519

            หนังสือเล่มนี้ที่คุณทองแถมมอบให้ผมไว้ ทำให้ผมใคร่กระหายอยากไปสัมผัสมาก รวมทั้งหัวเมืองอื่นๆ ที่นักกวีท่านนี้เขียนงานบันทึกการเดินทาง เรื่องราวตำนานของชนชาติไทใหญ่ที่ร้อยรัดทางสังคมวัฒนธรรมให้ได้แลเห็น แต่ผมอ่านจบ เก็บเข้าลิ้นชัก เพราะยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะมีโอกาสเดินทางไปในดินแดนตามอักษรของหนังสือที่รจนาไว้

            กระทั่งกาลเวลาได้ล่วงมาอีก 7 ปีในฤดูร้อน ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2552 กระทรวงวัฒนธรรมได้แจ้งมามีโปรแกรมไปเชียงตุง ในโครงการสัมมนาทางวิชาการตามพระนิพนธ์ "จดหมายเหตุทัพเชียงตุง" พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ที่องค์กรยูเนสโกยกย่องเป็นบุคคลของโลกของไทยลำดับที่ 19 ผมไม่ลัง เลในการตัดสินใจจะไปเชียงตุงดีหรือไม่ดี ผมตอบรับทันที ในเมื่อสิ่งที่ใฝ่ฝันมาตั้งแต่เนื้อหนุ่มแตกพานได้เดิน ทางมาถึงผมในเวลานี้ และไม่วายที่คว้าหนังสือ "เส้นทางสายฝัน" ใส่เป้ติดตัวไปด้วย

            บทสารคดีสัญจร ผมใช้หนังสือ "เส้นทางสายฝัน" นำทางไปตามเส้นทาง ที่ช่วยต่อภาพจากวันวานกับในปัจจุบันที่ผมเดินทาง อันจะช่วยให้ได้แลเห็นความเปลี่ยนแปลงหรือสภาพคงเดิมของบ้านเมือง วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมวัฒนธรรมไทใหญ่ในเชียงตุง และตามรายทางของเส้นทางระหว่างเดินทาง ดังที่คุณทองแถมกล่าว "บางท่านมองเห็นการเคลื่อนย้าย ผ่านมิติ กาละ และเทศะ"

            09.00 น. 31 มีนาคม 2552 ผมและคณะรวมแล้ว 70 กว่าชีวิต นั่งเฉลี่ยไปกับรถตู้ 9 คัน เป็นคารา วานย่อมๆ มุ่งหน้าสู่เชียงตุง หลังจากที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสัมพันธ์ต่างประเทศของกระทรวงวัฒนธรรมทำธุระใบผ่านแดนเสร็จล่วงหน้าไปก่อนแล้ว โดยนับตั้งแต่วินาทีที่ผ่านด่านท่าขี้เหล็กของพม่า ทุกคนกลายเป็น "คนเถื่อน" ไร้บัตรประชาชนทันที เพราะกองตรวจคนเข้าเมืองพม่ายึดไว้ จะคืนให้ต่อเมื่อกลับออกมาถึงด่านท่าขี้เหล็ก

ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดประการหนึ่ง ไม่มีรถจี้ปบรรทุกทหารพม่าหนึ่งหมู่พร้อมอาวุธครบมือนำขบวนเหมือนในอดีต ทั้งคณะแล่นฉิวออกนอกเมืองขี้เหล็กด้วยถนนลาดยางมะตอยที่ดูจะเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานรับน้ำหนักรถ ทั้งเบาและหนักที่ไม่จำกัดน้ำหนัก รถแล่นออกมาระยะหนึ่งก็เจอด่านเก็บเงินด่านแรกที่จะเข้าถึงบ้านท่าเดื่อ   

ที่บ้านท่าเดื่อนี้ เป็นจุดพักแรกของคนเดินทางในท้องถิ่น แต่คณะไม่ได้แวะ เพราะแข่งกับเวลาในการเดินทางตามคำบอกไกด์หนุ่ม แต่ละจุดหมายให้ถึงเวลาที่ทหารพม่ากำหนดไว้ หากเวลาผิดพลาดไปแม้แต่ชั่วโมงเดียว นั่นหมายถึงทั้งคณะมีสิทธิ์โดนตรวจสอบทันที

ที่บ้านท่าเดื่อ มีสองทางแยก ทางแยกซ้ายไปเชียงตุง ระยะทางประมาณ 160 กว่ากิโลเมตร ส่วนแยกขวาไปเมืองเล็น ซึ่งบ้านท่าเดื่อขึ้นกับเมืองเล็น คุณทองแถมเขียนไว้เมืองเลนมาจากคำว่า "บุ้งเลน" เป็นบุ้งตัวใหญ่ๆ สีเขียว

จากถนนบ้านท่าเดื่อไปเชียงตุงนั้นไต่ไปตามไหล่เขา เพลินไปกับวิวทิวทัศน์ของลำธารลัดเลี้ยวไปตามซอกขุนเขา ถ้าเป็นบ้านเมืองเราสภาพแบบนี้คงมีการสร้างรีสอร์ทตามรายทางเป็นแน่ เพราะธรรมชาติได้สร้างสรรค์งดงามเหลือเกิน ถึงกระนั้นสภาพขุนเขาก็ปราศจากต้นไม้ใหญ่อยู่ไม่น้อย ที่ตื่นตาเห็นจะเป็นร่องรอยการทำนาข้าวบันได แต่ตอนนี้ฤดูหว่านเมล็ดข้าวยังมาไม่ถึง จึงเห็นเพียงผืนนาว่างเปล่า

คณะเราผ่านด่านเก็บเงินอีก แล้วก็มาถึงด่านพยาก มีทางแยกไปเมืองพยากคงสภาพดินลูกรัง ได้แต่สูบบุหรี่ยืนมองเส้นทางสายนี้ เพราะจากเมืองพยากนั้นไปเมืองยอง ในเส้นทางสายฝันเขียนไว้สามารถเดินทาง เข้าสิบสองปันนาได้อีกทางหนึ่ง ก็ได้แต่หวังใจว่าวันหนึ่งจะมีโอกาสไปสัมผัสบนเส้นทางสายนี้

เมืองพยากนี้ คุณทองแถมเขียนไว้ "ตั้งอยู่บนเนินเขา มีแม่น้ำโหลง(หลวง) ไหลผ่านเมืองแม่น้ำ โหลงสายนี้มีต้นน้ำอยู่ทางตอนใต้ของเมืองเชียงตุง เมื่อไหลลงไปถึงเมืองเลนเรียกว่าแม่น้ำเล็น แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำรวก ไหลไปออกแม่โขงที่อำเภอเชียงแสน" ส่วน "พื้นเมืองพยาก" และ "ตำนานพระเจ้าเลียบโลก" บอกว่าเมืองพยากเดิมเป็นชุมชนลัวะ

หลังจากคณะจอดแวะพักด่านพยากเพื่อทำธุระส่วนตัวแต่ละคนเสร็จดีแล้ว ก็มุ่งหน้าสู่ดอยติ๊ก ได้ยินไกด์เรียกดอยสามสิบ ความสูงชันและรถแล่นไต่ระดับเขาขึ้นไปนั้นไม่ต้องพูดถึง เล่นเอาชาวคณะเสียวไปตามๆ กัน เพราะถนนบางช่วงถูกน้ำเซาะจนไม่แน่ใจว่ารถใหญ่ๆ จะแล่นผ่านได้หรือไม่ แต่ความงดงามนั้นเป็นเครื่องยาใจชวนให้ผมเพลินไปกับธารธารา

เมื่อเราผ่านเขาตะแกรงที่ดูทะมึนน่าเกรงขาม ไกด์ท้องถิ่นบอกว่า "เป็นที่ซุ่มของชนกลุ่มน้อยว้าแดง ที่คอยซุ่มโจมตีรถทหารพม่าและรถน้ำมัน ฉะนั้นแล้วอย่าขับรถตามหลังรถน้ำมันเด็ดขาด มิฉะนั้นแล้วมีสิทธิ์ถูกหวย แต่ที่ผ่านมาคณะเดินทางของไทยยังไม่เคยถูกลอบทำร้าย" ผมก็ภาวนาขอให้ปลอดภัยเช่นนั้นเหมือนกัน เราหยุดแวะพักอีกครั้งที่บ้านดอยปางควาย ก่อนเข้าเขตด่านเชียงตุงราว 30 กิโลฯ ทอดสายตาจากดอยไปยังเบื้องล่างแลเห็นชุมชนเขตเชียงตุงได้

อากาศที่ร้อนอบอ้าวมาตั้งแต่การเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก พอเข้าเขตเชียงตุงได้อากาศก็เริ่มเย็น เมฆฝนครึ้มไปทั่วท้องฟ้าเหนือเชียงตุง ระหว่างที่เรากินข้าวมื้อกลางวันอันเป็นเวลาบ่ายโมงฝนได้เทกระหน่ำ ลูกเห็บเม็ดเล็กๆ โปรยลงมาจากท้องฟ้า ผมเห็นเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ร้านอาหารและที่วัด วิ่งไปเก็บมาหยอดตาใส่หูกัน ถามคนเฒ่าคนแก่ไทใหญ่บอกเพียงว่า ชาวไทใหญ่ในเชียงตุงเชื่อกันว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์ ที่เทพยดาประธานมาให้

การเดินทางจากท่าขี้เหล็กถึงเชียงตุง ระยะทาง 190 กว่ากิโลฯ บนถนนยางมะตอยที่ไม่ราบเรียบดีนักใช้เวลา 4 ชั่วโมงเศษ ที่บัดนี้ทำให้ผมแลเห็นชัยภูมิของเมืองเชียงตุงในรัฐฉานของพม่า เมืองแห่ง 3 จอม 9 หนอง 12 ประตู สร้างบ้านแปงเมืองในสมัยราชวงศ์มังราย เชียงตุงในสมัยพม่าปกครอง และมีสายสัมพันธ์ดินแดนล้านนาเชียงแสน เชียงราย เชียงใหม่(พระเจ้ากาวิละ) และในภายหลังเชียงตุงในคราบพม่าก็ตกเป็นเมืองอาณานิคมของอังกฤษเมื่อพม่าพ่ายแพ้สงคราม กระทั่งล่วงเข้าสู่เชียงตุงในสมัยรัตนโกสินทร์

เมื่อแลเห็นชัยภูมิ ทำให้ผมฉุกคิดที่ด้านหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ของสยามเข้าตีเมืองเชียงตุงถึง 3 ครั้งจึงไม่ประสบความสำเร็จ  เพราะสภาพขุนเขาน้อยใหญ่โอบล้อม เป็นกำแพงธรรมชาติรอบด้านของเมือง โดยที่ "เวียง" ชั้นในมีคูเมืองหรือกำแพงเมืองและดินเป็นป้อมปราการสูง

อย่างที่ รองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินทางร่วมมากับคณะด้วยก็บอกว่า "สูงและใหญ่กว่ากำแพงเชียงแสนสองเท่า และยังมีดอยเหมยที่ตั้งตระหง่านไกลออกไปนอกเมืองเป็นเกราะป้องกันด่านแรก" อย่างไรก็ดีในไทยยึดเมืองเชียงตุงในสมัยสงครามเอเชียบูรพา (พ.ศ.2484) ด้วยการสนับสนุนจากญี่ปุ่น ต่อภายหลังญี่ปุ่นแพ้สงครามในปี พ.ศ.2488 ไทยได้มอบดินแดนนครเชียงตุงให้ฝ่ายสหประชาชาติจัดการปกครอง

ผมหยิบเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ "เมือง" กับ "เวียง" เพราะหลายคนหรือแม้กระทั่งผมอาจเรียกสับสน คุณทองแถมได้ให้สองคำนี้ไว้ "หากเมืองที่ไม่มีหอเจ้าฟ้า ไม่มีกำแพงเมืองหรือคูเมือง ก็จะเรียกว่าเมือง แต่หากเมืองใด มีหอเจ้าฟ้า เจ้าฟ้าประทับอยู่ในเมืองนั้น และมีคูเมืองมีกำแพงเมือง อย่างนั้นจะเรียกว่าเวียง อย่างเชียงตุง เขาเรียก เวียงเชียงตุง"

นี่เองกระมัง เรื่องเวียงเชียงตุง ที่ส่วนตัวผมนั้นแสนเศร้า เมื่อมารับรู้โบราณสถาน "หอหลวง" วังเก่าของเจ้าฟ้าเชียงตุง ทางรัฐบาลพม่าได้รื้อราบเรียบไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ไม่อยากสรุปไปถึงขั้นว่าได้ทำลายและลบล้างประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณของชาวไทเขิน(ขึน) ในเชียงตุงให้สูญสลาย

ที่ยิ่งไปกว่านั้นชวนให้หดหู่สำหรับผมเลยทีเดียว เมื่อรู้ว่าที่หลับนอนในสองคืนก็คือ "หอหลวง" หลังนี้ที่รัฐบาลพม่าได้แปรสภาพเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งชื่อนิวเชียงตุง ให้เอกชนบริหารจัดการ ผมจำใจและฝืนนอน ทั้งๆ ที่ต่อมสำนึกบอกกับตนเองไม่ควรเยี่ยงนี้เลย ผมยกมือไหว้เพื่อเคารพเจ้าของสถานที่ ขออนุญาตวิสาสะนอน

การเดินทางไปเชียงตุง 3 วัน 2 คืน มีเรื่องราวที่จะเล่าอยู่อีกหลายด้านมิอาจพรรณนาได้มากในเนื้อที่จำกัด แต่อย่างหนึ่งของเมืองเชียงตุง เป็นเสมือนปากประตูการค้า นักธุรกิจไทยเคยตื่นตูมตามกับเรื่องราว "สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ" และ "สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ" เมื่อสิบปีก่อน ที่บัดนี้ยังคงเป็นเส้นทางสายฝันที่ไทยฝันจะเป็นปากประตูสู่อินโดจีน พม่า ลาว จีน เวียดนาม พัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน พรมแดนติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และความเชื่อมโยงทางสังคมวัฒนธรรม

เชียงตุง เป็นเมืองที่มีเสน่ห์ทางสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิตชาวไทเขินก็เหมือนเอื้องหลวง กล้วยไม้ป่าที่งดงาม อักษร-ภาษาที่ร้อยเรียงไทเขิน(อู้คำเมือง) ชีวิตพอเพียง ใครใคร่ทำเกษตรกรรม ทำ ใครใคร่ค้าขาย ค้า ภาพวิถีชีวิตที่ดำรงด้วยอัตภาพกำลังของตนเองที่เราแลเห็นได้ในตลาดสดใจกลางเมือง

ในวัฒนธรรมแห่งความสงบงามนั้นเราสามารถพบเห็นชาวไทเขินในพระพุทธศาสนา ผู้เฒ่าผู้แก่แต่งกายในชุดไทเขิน ขณะที่ผู้ชายจะละเมียดละไมกับการการจิบชานม ตามร้านชาและหนองตุง อันเป็นมรดกการกินดื่มของอังกฤษ อีกจำนวนหนึ่งปรับตัวไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ โดยซึมซับผ่านทางสื่อทีวีของไทย และจีน แลเห็นการแต่งกายของหนุ่มสาว บางคนไว้ทรงผมสไตล์เกาหลี ด้านอาคารบ้านเรือนเป็นตึกหลังคามุงกระเบื้องแทรกอยู่ระหว่างกระเบื้องดินขอ

ผมนำเอาภาพสีสันชีวิตชาวไทเขินเชียงตุงมาฝากท่านผู้อ่าน เพื่อท่านมีโอกาสไปเที่ยวตามเส้นทางสายฝันเหมือนกระผม

 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=70&nid=36148


Rediscover Hotmail®: Get e-mail storage that grows with you. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน