บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

สยาม ร.4 ศึกเชียงตุง / ภูมิบ้านภูมิเมือง

สยาม ร.4 ศึกเชียงตุง / ภูมิบ้านภูมิเมือง
ข่าววันที่ 16 เมษายน 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

ภูมิบ้านภูมิเมือง

บูรพา โชติช่วง

 

สยาม ร.4 ศึกเชียงตุง

               

ยังปรากฏให้เห็นเด่นชัดของร่องรอยคูเมืองนครเชียงตุงดินแดนพม่า มีกำแพงดินธรรมชาติสูงชันอันเป็นป้อมปราการชั้นดีในการป้องกันข้าศึกรอบด้านที่จะบุกเข้าตีเมือง

ระหว่างคูกำแพงจากฝั่งด้านนอกของกำแพงเพื่อข้ามมาฝั่งกำแพง โดยมีสะพานแขวนเก่าๆ โอนเอนจะโค่นมิโค่นแหล ตัวเสารับน้ำหนักก่อด้วยปูน เหล็กเส้นติดสนิมเกี่ยวคล้องกับเชือกเพื่อรับน้ำหนักไม้แผ่นที่พาดขนานกันไปทอดเป็นสะพาน เมื่อนับความกว้างของสะพานที่ก้าวเท้าไปแต่ละก้าวจุดสุดปลายฟากหนึ่ง 39 ก้าว ถ้าคิดเป็นเมตรก็น่าจะอยู่ราวๆ 35 เมตร บวกลบ 2 เมตร ส่วนความสูงของกำแพงดินนั้นประมาณด้วยสายตาแล้ว 15 เมตรเป็นอย่างต่ำ

นักวิชาการประวัติศาสตร์ที่ร่วมเดินทางมากับคณะสัมมนาวิชาการตามพระนิพนธ์ "จดหมายเหตุกองทัพเชียงตุง" พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม ร.ศ. สมโชติ อ๋องสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงความเห็นว่า "กำแพงนครเชียงตุงสูงกว่านครเชียงแสนเกือบ 3 เท่า และกำแพงนี้เป็นเพียงชั้นในเท่านั้น ส่วนตรงข้ามของกำแพงเป็นเนินเขาสูงลาดชัน ไกลออกไปนอกเมืองมีดอยเหมยตั้งตระหง่านเป็นกำแพงภูเขาโดยธรรมชาติ"

ร.ศ.สมโชติ กล่าวภาพรวมกำแพงนครเชียงตุง "นับได้ว่ามีถึง 3 ชั้นด้วยกัน นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่กอง ทัพสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จะเข้ายึดนครเชียงตุงถึง 3 ครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กระทั่งศึกเชียงตุงครั้งที่ 4 ไทยเข้ายึดได้สำเร็จ (พ.ศ.2485) แต่ภายหลังได้มอบนครเชียงตุงให้สหประชาชาติเข้ามาจัดการปกครอง"

นักประวัติศาสตร์อีกท่านหนึ่ง ร.ศ. ดร.รัตนาพร เศรษฐกุล คณะสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ มหา วิทยาลัยพายัพ เปิดปูมหลัง "ศึกเชียงตุง : การเปิดแนวรบเหนือสุดแดนสยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4" กล่าวว่า "ศึกเชียงตุงครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2392 2393 ในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้กลายเป็นภารกิจที่สืบต่อมาถึงรัชกาลที่ 4 สยามได้ส่งกองทัพขนาดใหญ่พรั่งพร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยเวลานั้นโจมตีเชียงตุง ในพ.ศ.2395 แต่ไม่สำเร็จ ในพ.ศ.2396-2397 ส่งกอง ทัพขนาดใหญ่กว่าเดิมเข้าตี แต่ก็ต้องถอยทัพกลับมาเช่นกัน"

นักประวัติศาสตร์กล่าวถึงเอกสารราชการสยามระบุว่า "เป็นความพยายามของสยามในการป้องกันอันตรายจากพม่าที่จะขยายเข้ามาสู่เชียงราย พรมแดนทางเหนือของล้านนาติดต่อกับเชียงตุง และเกิดจากการที่เจ้านายเมืองเชียงรุ่งขอความช่วยเหลือจากสยามให้เข้าแทรกแซงการเมืองภายในของสิบสองปันนา ดังนั้นรัช กาลที่ 4 ทรงสานต่อการศึกเชียงตุง ทั้งเพื่อรักษาพระเกียรติของพระองค์"

            ถึงอย่างนั้นก็มีสาเหตุอื่นที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ด้านหนึ่งการทำศึกเชียงตุงเป็นการแสดงอำนาจอธิปไตยของสยามเหนือดินแดนหัวเมืองประเทศราชล้านนา และเมืองขึ้นของล้านนามาทางเหนือ มีการตั้งศูนย์อำนาจควบคุมกันเป็นชั้นๆ จากเมืองหลวง ดังนั้นการศึกเชียงตุงจึงเป็นความพยายามที่จะสร้างศูนย์อำนาจย่อย จะขยายพระราชอาณาเขตออกไปให้กว้างขวางและควบคุมเมืองชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพ

            ศึกเชียงตุง ไม่ได้มีสาเหตุจากความขัดแย้งระหว่างสยามและพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความไม่สมดุลแห่งอำนาจรัฐที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้เชื่อมโยงไปถึงอาณาจักรตั้งแต่จีนตอนใต้ สิบสองปันนา หลวงพระบาง ล้านนาและเชียงตุง ซึ่งบ้านเมืองเหล่านี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่สมัยก่อตั้งบ้านเมือง ดังนั้นการขยายอำนาจของสยามจึงก้าวเข้ามาเป็นชาติมหาอำนาจในพื้นที่นี้แทนพม่า ที่กำลังอ่อนแอและเผชิญปัญหากับชาติจักรวรรดินิยม

            นอกจากประโยชน์ทางการเมืองแล้ว เชียงตุงยังตอบสนองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสยาม เพราะเชียงตุงเป็นรัฐใหญ่ทางตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน มีเมืองบริวารสำคัญๆ ที่สามารถเป็นแหล่งกำลังคนและแหล่งการผลิต

            นักประวัติศาสตร์ท่านนี้ มองความล้มเหลวของการศึกเชียงตุงของสยามครั้งนี้ว่า "เกิดจากการขาดการวางแผนยุทธศาสตร์การรบ ไม่รู้จักพื้นที่ดีพอ และเจ้านายล้านนาไม่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในด้านกำลังคนและเสบียงอาหาร อีกทั้งระหว่างการทำศึกมีความขัดแย้งกันเองข้าราชการสยามกับเจ้านายล้านนาอย่างรุน แรง ทำให้สยามประสบความล้มเหลว ส่งผลให้พม่าผู้เป็นเจ้าอธิราชของเชียงตุงยังคงรักษาฐานะรัฐไทใหญ่ที่สำคัญที่สุดทางฟากตะวันออกของแม่น้ำสาละวินไว้ได้"

            อีกทัศนะหนึ่ง ที่มองข้ามไม่ได้ในการศึกเชียงตุง คือเรื่องไพร่พล อาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งช้างม้าโคขนสัมภาระเสบียงอาหาร อ.จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(ศิลปไทย)ว่า "การยกทัพของสยามไปทำศึกสงครามนั้น ตามแบบโบราณจัดให้มีทัพหน้า ทัพหลวง และทัพหลัง ซึ่งในการศึกเชียงตุงมีกองทัพเจ้านายฝ่ายเหนือเข้าสมทบกองทัพสยาม ในพ.ศ.2396 ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท และเจ้าพระยายมราช คุมกองทัพกรุงฯ"

            เจ้าพระยายมราช นำกองทัพหน้าเดินทางไปสู่เมืองพยาก จัดสร้างค่ายขึ้น เพื่อที่รอกองทัพหลวงกรมหลวงวงษาธิราชสนิทจะเสด็จตามขึ้นไป และกองทัพเมืองเชียงใหม่ แล้วจัดวางแผนการเดินทัพไปตีเมืองเชียงตุง ทั้งจัดให้กองทัพเมืองลำปางกับเมืองแพร่ยกไปตีเมืองยองทางหนึ่ง ให้กองทัพเมืองลำพูนยกไปตีเมืองล้ง เมื่อกรมหลวงวงษาธิราชสนิทจะเสด็จฯ นำกองทัพยาตราเข้าไปตีเมืองเชียงตุงนั้นโปรดเกล้าฯ ให้จัดกองทัพเป็นกระ บวนพยุหยาตราตามตำรับพิไชยสงครามและโบราณราชประเพณี

            พระยาสุริยวงศ์ ผู้บัญชาการทัพหน้าคุมไพร่พล 3,000 คน พระยาน่านคุมไพร่พล 3,000 คน พระยาวิชิตณรงค์คุมคนไปแต่กรุงฯ 260 คน พระยาแพร่คุมไพร่ไปสมทบ 1,000 คนเป็นกองหน้า พระยารามคำแหงคุมคนไปแต่กรุงฯ 200 คน กำกับไพร่เมืองพระบาง 1,000 คน เป็นปีกขวาของกองทัพหลวง พระยาพิไชยสงครามคุมคนไปแต่กรุงฯ 200 คน ควบคุมไพร่เมืองหลวงพระบาง 1,000 คน เป็นปีกซ้ายของกองทัพหลวง

กรมหลวงวงษาธิราชสนิท คุมคนไปแต่กรุงฯ กับไพร่หัวเมือง 2,000 คน เป็นทัพหลวง เจ้าอุปราชเมืองหลวงพระบางคุมไพร่ 1,000 คน เป็นทัพหลังตามทัพหลวง โดยกองทัพหลวงกรมหลวงวงษาธิราชสนิทยกทัพออกไปแต่เมืองเชียงแสน วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2396

            อ.จุลทัศน์ ยกเหตุการณ์ตอนหนึ่งเข้าตีเมืองเชียงตุง ที่บันทึกในจดหมายเหตุรายงานทัพ "เมื่อกองทัพยกขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุง(อาทิตย์ที่ 19 มี.ค.) บริเวณเจ้าพระยายมราชตั้งค่ายอยู่นั้นเป็นที่กันดารน้ำ ไม่พอสำ หรับไพร่พล ช้างและโคได้กิน ขณะที่หน้าเมืองเชียงตุงอีกฟากหนึ่ง พวกเมืองเชียงตุงยิงปืนใหญ่ ปืนเล็กบนกำแพง ปืนคาบศิลายิงตามสนามเพลาะ ไพร่พลที่ขึ้นไปถูกยิงตายบ้าง ป่วยเจ็บไปหลายคน"

            ฝ่ายกองทัพสยามและเจ้านายฝ่ายเหนือเอาปืนใหญ่ยิงเข้าไปในเมือง แต่ไม่ถึงดี เพราะค่ายเมืองเชียงตุงนั้นตั้งอยู่บนเชิงเขาสูง กระสุนที่ยิงใส่เข้าไปก็ตกเพียงเชิงเนินเขาบ้าง ใบเสมาบ้าง ถึงกระนั้นฝ่ายเราตีค่ายบนเขาจอมศรีได้ แล้วเอาปืนใหญ่ตั้งยิงโต้ตอบทั้งเช้าเย็น

            เมื่อกองทัพหลวงเดินทางมาถึงเมืองเชียงตุง(อังคาร 22 มี.ค.) หน้าประตูย่านกลางเมือง พวกเชียงตุงก็ออกมาตีคัดท้ายกองทัพเพื่อแย่งชิงเอาช้าง แล้วก็สู้รบ จนไปตั้งค่ายทางทิศเหนือเมืองเชียงตุง อย่างไรก็ดีกอง ทัพสยามและกองทัพเจ้านายฝ่ายเหนือก็มิอาจตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ทุกด้าน เพราะเมืองเชียงตุงตั้งอยู่บนเนินเขา ประกอบกับภายในกำแพงเมืองมีหนองน้ำ 4 หนองหล่อเลี้ยงชาวเมือง มีเนินลูกสูงต่ำไว้คอยสังเกตการณ์รอบๆ

            การสู้รบตีเมืองเชียงตุงกินเวลา 7 วัน กรมหลวงวงษาธิราชสนิทจึงมีรับสั่งว่า "ครั้นจะสู้รบต่อไป หามีหญ้าจะให้ช้างกินไม่ ช้างม้าก็ซวดโซลงทุกวัน เห็นเสียเปรียบข้าศึกถ่ายเดียว กระสุน ดินดำก็น้อยลง จึงให้ถอยทัพลงมาตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน" การศึกสงครามคราวกองทัพสยามยกขึ้นไปตีเมืองเชียงตุง เป็นต้องยุติลงในเวลานั้น

            อ.จุลทัศน์ กล่าวการตีเมืองเชียงตุงไม่ได้นั้น ปัญหาบางกรณี เช่น สภาพลมฟ้าอากาศเป็นช่วงฤดูร้อน กลางวันร้อน กลางคืนอากาศเย็น เพราะเมืองเชียงตุงมีภูเขาล้อมรอบ เป็นเหตุให้คนที่ไม่คุ้นเคยสภาพอากาศเกิดการเจ็บไข้ได้ง่าย เสบียงอาหารและแหล่งน้ำรอบนอกไม่เพียงพอ สำหรับผู้คนในกองทัพ รวมไปถึงช้าง ม้า วัว ทำให้ทั้งคนและสัตว์อ่อนระโหยโรยแรง ขณะที่แม่ทัพและนายกองนั่งบนหลังช้าง ส่วนไพร่พลเดินด้วยเท้าย่อมเหนื่อยล้า และการศึกมีการยิงโต้ตอบทั้งกลางวันและคืน

           จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่กองทัพสยามคิดว่าตีเมืองเชียงตุงได้ แต่ไม่เป็นไปอย่างที่คิดไว้

 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=70&nid=36229
 


Windows Live™ SkyDrive™: Get 25 GB of free online storage. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน