บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

ชีวิต"เซียนหอย-เซียนกิ้งกือ" "ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา" "โดนล้อ-โดนว่าบ้า"

วันที่ 19 เมษายน 2552 เวลา 00:00 น. |
 
 
ชีวิต"เซียนหอย-เซียนกิ้งกือ" "ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา" "โดนล้อ-โดนว่าบ้า"
"เซียนหอยบก" ฉายานี้ไม่ใช่เรื่องโจ๊ก เป็นฉายาของนักวิชาการไทยคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญ เรื่องเจ้าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "หอย" เป็นผู้บุกเบิกความรู้ด้านอนุกรมวิทยาของหอยทากในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้มีชื่อเสียงไปทั่วโลก วันนี้มาดูชีวิต "ศาสตราจารย์หอย" ชีวิตของ "ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา"

eeeeee

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ปัจจุบันเป็นอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าตัวเล่าว่าพื้นเพเป็นคน จ.ลพบุรี เป็นลูกชายคนโตในจำนวนลูก ๆ 6 คน ของพ่อแม่ ตอนเล็ก ๆ ต้องย้ายตามพ่อไปอยู่ที่ จ.นครสวรรค์ เพราะพ่อไปทำงานที่นั่น แต่พอโตพ่อกับแม่ก็ส่งกลับมาอยู่กับย่าที่ลพบุรี เพื่อเข้าเรียนที่โรงเรียนใน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี หลังเรียนจนจบมัธยมที่บ้านหมี่แล้ว ก็เดินทางเข้าเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ที่ มศว ประสานมิตร

พอจบปริญญาตรีด้านศึกษาศาสตร์ ก็ได้ เป็นนักเรียนทุนเรียนปริญญาโท ที่จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ทางด้านสัตววิทยา พอจบจากจุฬาฯ ประมาณ ปี 2525 ก็เข้ารับราชการที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทำงานอยู่ได้ 1 ปี ทางจุฬาฯ ก็ขอตัวกลับเข้ารับราชการที่จุฬาฯ เป็น อาจารย์อยู่ที่จุฬาฯ อยู่ระยะหนึ่งก็ไปเรียนต่อปริญญาเอกด้านสัตววิทยา ที่ประเทศญี่ปุ่น 3 ปี แล้วกลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ อีกครั้ง

กับชีวิตครอบครัวของ ศ.ดร.สมศักดิ์นั้น เขาสมรสกับ สุนันท์ ปัญหา ปัจจุบันมีบุตร 2 คน คือ มิ่ง ปัญหา และ เชิญขวัญ ปัญหา ส่วนความสนใจศึกษาวิจัยเรื่องหอย เขาเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยเรียน

สนใจเรื่องนี้มานาน จนปัจจุบันก็กว่า 20 ปี จนเป็นผู้เชี่ยวชาญ "เราเลือกที่จะเรียนทางด้านนี้ มาตั้งแต่แรก เพราะสนใจพวกสิ่งมีชีวิตมาตั้งแต่ เล็ก ๆ สมัยเด็ก ๆ อยู่ต่างจังหวัดมีโอกาสได้ไปสวนไปไร่ได้เห็นอะไรเยอะ ไปตรงไหนก็จะเห็นสัตว์ สิ่งมีชีวิตมากมาย ตอนออกไปหาสัตว์น้ำพวกกุ้งหอยปูปลา ก็เห็นว่าสัตว์เหล่านี้มีสีสันสวยงาม จึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาทางด้านชีววิทยาเพื่อต้องการที่จะเรียนรู้ชีวิตความเป็นมา วงจรของสัตว์พวกนี้ ว่าเป็นยังไง" ผู้ถูกเรียกว่า "ศาสตราจารย์หอย" เล่า

ก่อนจะบอกอีกว่า เพราะเห็นว่าหอยเป็นสัตว์ที่มีเยอะ อีกทั้งยังกินได้ เป็นเหมือนแรงผลักที่ทำให้ยิ่งอยากรู้อยากเห็นว่ามันมาจากไหน ทำไมถึงได้มีจำนวนเยอะนัก อยากรู้ต้นกำเนิด และยิ่งได้ศึกษาลงลึกก็ยิ่ง รู้ว่าเรื่องของหอยนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หอยมันมี วิวัฒนาการที่น่าสนใจ อย่างเจ้า "หอยบก" ที่เกิดขึ้นมานั้นมันมาจาก "หอยน้ำ" แล้วมันก็วิวัฒนาการขึ้นมาอยู่บนบก มีปอด มีจมูก มีอะไรเหมือนกับสัตว์บก เรียกได้ว่ามาจากน้ำแล้วขึ้นมาอยู่บนบกได้อย่างสง่าผ่าเผย ซึ่งหอยทุกกลุ่มในโลกนี้มีเพียง "หอยทาก" เท่านั้นที่ขึ้นมาอยู่บนบกได้

กับการสนใจ "วิจัยหอย" แน่นอนว่าต้องเจอกับคำพูดของคนอื่นในเชิงล้อแน่ ๆ สำหรับบ้านเรา ซึ่งเรื่องนี้ ศ.ดร.สมศักดิ์บอกว่า ก็มีประสบการณ์มาแล้วตอนทำงานวิจัยเรื่องหอยใหม่ ๆ คนก็หาว่าบ้า โดนล้อ

"ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่าสังคมไทยแค่พูดเรื่องหอยก็ต้องโดนล้ออยู่แล้ว แต่เราก็ไม่ได้คิดอะไร จนทุกวันนี้ได้เป็น ประธานสมาคมหอยนานาชาติ ก็ยังมีคนอดพูดเล่นขำ ๆ ไม่ได้ แต่ผมก็รู้ ไม่ได้คิดอะไร"

เซียนหอยคนนี้บอกอีกว่า งานวิจัยตัวนี้เหมือนเป็นงานสำรวจ จะว่ายากก็ไม่ยาก แต่เวลาออกพื้นที่ก็จะเสี่ยงอันตรายเหมือนกัน เพราะต้องเข้าป่าเก็บตัวอย่าง ต้องเข้าไปตอนกลางคืน เสี่ยงทั้งเชื้อมาลาเรีย เชื้อโรคเท้าช้าง สัตว์มีพิษ และยังมีโจรผู้ร้ายอีก ก็เจอมาทุกอย่างตั้งแต่ทำงานมา "ทำงานตรงนี้ต้องทำด้วยใจรัก หรือบางทีทำงานพวกนี้ก็ต้อง บอกว่าเป็นคนบ้าพอสมควร บ้าในเรื่องที่ทำ เรียกว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้"

เรื่องทุนวิจัยก็เป็นอีกปัญหา โดยเฉพาะตอนแรกเริ่ม ซึ่ง ศ.ดร.สมศักดิ์เล่าว่า ตอนที่เริ่มทำงานวิจัยใหม่ ๆ นั้นทุนวิจัยแทบไม่มี เพราะในบ้านเรายังมองว่าไม่สามารถนำไปทำประโยชน์อะไรได้ ตอนเป็นอาจารย์ใหม่ ๆ และเริ่มศึกษาวิจัยเรื่องหอย ก็ไม่ค่อยได้รับความเชื่อมั่น ไม่เหมือนต่างชาติที่เขามองว่าคนที่จบมาใหม่ ๆ ไฟกำลังแรง ต้องให้ทำงานอะไรสักอย่างแล้วก็จะมีผลงานออกมา แต่บ้านเราตอนนั้นไม่ใช่ และยังมีการคิดว่าทำแล้วจะได้อะไร เอาไปขายได้ไหม หรืออาจเป็นไปได้ว่าทุนวิจัยโดยรวมยุคนั้นก็น้อย ก็ต้องจำกัด ต้องเลือกให้

"ก็เริ่มจากลงมือทำคนเดียวโดยใช้ทุนส่วนตัว ตอนที่ยังไม่มีทีม ไม่มีทุน ก็ทำคนเดียว ไปไหนมาไหนก็จะเก็บตัวอย่าง ทำไปคนเดียว ไม่มีใคร ตัวคนเดียว ไม่มีใครสนใจ" ศ.ดร.สมศักดิ์เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นราว ปี 2531 จนภายหลังก็ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว. ในปี 2539 และเป็นจุดเปลี่ยน ทำให้มีทีมเข้ามาช่วย ทำให้งานวิจัยเริ่มโดดเด่นขึ้น จนเป็นที่ยอมรับจากนักวิจัยด้านนี้ทั่วโลก

"สามารถศึกษาความหลากหลายของสปีชี่ส์ของหอย มีการค้นพบ หอยทากจิ๋ว และหอยทากจิ๋วที่เราได้มาก็มีอยู่ประมาณ 70 ชนิดใหม่ของโลกที่เราประกาศออกไป จากนั้นก็เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง แล้วตอนนั้นเราก็ได้พบหอยทากจิ๋วบนเขาหินปูน ออกข่าวไปทั่วประเทศ และเป็นผลงานที่ทั่วโลกให้การยอมรับ"

ทั้งนี้ นอกจากเป็นเซียนหอยแล้ว ภายหลังนักวิชาการรายนี้ยังได้ชื่อว่าเป็น "เซียนกิ้งกือ" ด้วย โดยเขาเล่าว่า กิ้งกือนั้นเพิ่งจะมาวิจัยช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ มีผู้ใหญ่ขอร้องให้ช่วยทำ ซึ่งเมื่อได้ลงมือ วิจัยก็ทำให้รู้ว่าในประเทศไทยมีกิ้งกืออยู่เป็นร้อยชนิด ที่สำคัญเจ้าสัตว์ชนิดนี้มันมีบทบาทต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ เพราะเจ้ากิ้งกือมันเป็นตัวที่ทำให้ดินดีมีคุณภาพ มูลของมันสามารถทำเป็นปุ๋ยธรรมชาติใส่ต้นไม้เจริญงอกงามดีด้วย

และที่สร้างชื่อคือการค้นพบ "กิ้งกือมังกรสีชมพู" ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นอันดับ 3 ของการค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ในปี ค.ศ. 2007 ของสถาบันสำรวจสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยแอริโซนา สหรัฐอเมริกา

ศ.ดร.สมศักดิ์บอกในช่วงท้าย ๆ ของการสนทนาว่า "การศึกษาวิจัยนั้นเป็นการหาความรู้พื้นฐาน เมื่อมีความรู้พื้นฐานแล้วเราก็สามารถนำไปต่อยอดทำเป็นงานตัวอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ซึ่งทรัพย์สินนั้นไม่ได้มีเฉพาะที่เป็นเงินเป็นทอง แต่ทรัพย์สินที่มีค่ามหาศาลกว่าก็คือทรัพย์สินทางปัญญาของคน"

eeeeee

"ถ้าคนไทยมีทรัพย์สินทางปัญญามาก เงินก็จะตามมามากมาย เพราะฉะนั้นเราต้อง สร้างให้ลูกหลานของไทยเรามีสติปัญญาระดับหนึ่ง ที่จะสามารถแข่งกับคนชาติอื่นได้ เราต้องสร้างมูลค่าเพิ่มจากปัญญาคนไทยของเรา" เป็นการทิ้งท้ายน่าคิดของ "เซียนหอย-เซียนกิ้งกือ".

ประธานสมาคมหอยนานาชาติ

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ระบุว่า ประเทศไทยเรามีหอยหลายร้อยสายพันธุ์ ข้อมูลมีเยอะก็สามารถนำไปศึกษา นำไปต่อยอดได้มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร เรื่องทางการแพทย์ ที่เป็นการศึกษาพยาธิที่อยู่ในหอย และเรื่องการเกษตร ที่หอยก็เป็นศัตรูกับชาวนาชาวไร่เพราะมันไปกัดกินผลผลิต โดยตอนนี้ก็พยายามทำงานแก้ปัญหาให้กับทางเกษตรกรอยู่ ซึ่งเพราะว่ามีข้อมูลพื้นฐานมากพอ จึงสามารถตั้งโจทย์แก้ปัญหาได้ไม่ยาก

และอีกงานสำคัญ ในฐานะ "ประธานสมาคมหอยนานาชาติ" ที่จะมีขึ้นในปี 2553 ก็คือ งานประชุมหอยโลก "2010 World Congress of Malacology" ของสมาคมหอยนานาชาติ (Unitas Malacologica : UM) ที่จะจัดขึ้นในไทย ซึ่งนับเป็นการจัดงานครั้งแรกของทวีปเอเชียด้วย

"เป็นการประชุมระดับโลก ที่ 3 ปีจัด 1 ครั้ง ซึ่งครั้งนี้ นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ในประเทศไทย จะได้เรียนรู้วิชาการจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการเก่ง ๆ ระดับโลกที่มาเข้าร่วมประชุม และประโยชน์ทางอ้อมก็คือการท่องเที่ยวไทย ก็จะมีเม็ดเงินเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นในช่วงการประชุม" ศ.ดร.สมศักดิ์ระบุ.
 
 
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ รายงาน /จเร รัตรราตรี ภาพ
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=196655&NewsType=1&Template=1

Rediscover Hotmail®: Now available on your iPhone or BlackBerry Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน