บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

มาตรการเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูวิกฤติการท่องเที่ยว / สำนักข่าวราชดำเนิน

 มาตรการเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูวิกฤติการท่องเที่ยว / สำนักข่าวราชดำเนิน
สิงห์หนองจอก24/4/2552

มาตรการเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูวิกฤติการท่องเที่ยว

 

          วันนี้ สิงห์หนองจอก ได้รับข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลที่จะฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการปิดท่าอากาศยานของกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา โดยคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2552  ลงมติเห็นชอบให้การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ  และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณานำเสนอมาตรการเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูวิกฤติการท่องเที่ยว จากผลกระทบการปิดท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง และการก่อความไม่สงบของกลุ่มผู้ชุมนุม

          สถานการณ์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2552

          อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติขั้นรุนแรง โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะลดลงจาก 14.1 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2551  เหลือเพียง 10.9 ล้านคน  ในปี พ.ศ. 2552  ลดลง 3.2 ล้านคน  หรือคิดเป็น  ร้อยละ 22.8  ประกอบกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจำเป็นต้องลดราคาค่าบริการลง โดยเฉลี่ยคิดเป็นประมาณร้อยละ 12 ทำให้คาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศ จะลดลงจาก 540,000 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2551 เหลือเพียง 350,000 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2552  ลดลง 190,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 35 สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขั้นรุนแรงในเดือนเมษายน 2552 อาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างประเทศต่อไปอีก  ประมาณ 4 - 6 เดือน ทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวต้องรับผลกระทบจากปัจจัยลบต่างๆ ที่มีมาตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2551  นับเนื่องรวมถึงขณะนี้กว่า 9 เดือนแล้ว  ซึ่งหากต้องรับผลกระทบต่อไปอีก 5 - 6 เดือน  รวมเป็นประมาณ 15 เดือนแล้ว  สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คาดว่าจะมีผู้ประกอบการหลายรายต้องปิดกิจการลง และบางรายต้องปรับลดการบริการซึ่งจะมีผลต่อการลดการจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประมาณร้อยละ 10 ของการจ้างแรงงานทางตรงทั้งหมด 2.57 ล้านคน  หรือคิดเป็นจำนวนการว่างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะสูงถึง 257,000 คน

          มาตรการเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูวิกฤติการท่องเที่ยว  มีแนวทางการดำเนินงาน  ดังนี้

          มาตรการด้านการเงิน

1.ให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการจัดสรรเงินประจำงวด ครั้งที่ 3 ภายในวงเงิน 278,347,815.89 บาท  ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยเร็ว  ทั้งนี้ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2551  อนุมัติในหลักการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบวิกฤติด้านการท่องเที่ยว  โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ. 2552 งบกลาง  รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในวงเงิน 1,912.97 ล้านบาท  โดยให้ขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรงบประมาณต่อไป  ทั้งนี้  สำนักงบประมาณได้จัดสรรเงินประจำงวดครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแล้ว  จำนวน 229.2018 ล้าน)

2.ให้กระทรวงการคลังพิจารณาร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการพิจารณาผ่อนปรนวิธีปฏิบัติในการปล่อยสินเชื่อ เพื่อให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ขาดสภาพคล่องได้กู้ยืม โดยให้ถือเสมือนการปล่อยสินเชื่อเงื่อนไขและดอกเบี้ยผ่อนปรนให้กับเกษตรกร  เนื่องจากผู้ประกอบการทุกระดับในปัจจุบัน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกำลังอยู่ในภาวะขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง หากผู้ประกอบการต้องหยุดกิจการจะทำให้สูญเสียศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศในอนาคต และเกณฑ์ในการใช้บัญชีธนาคารแสดงรายการสถานะการเงินของธุรกิจท่องเที่ยวนั้น (Statement) ย้อนหลังตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 - 2552 หรือใช้เกณฑ์ในการยืนยันว่ามีที่ปรึกษาทางธุรกิจช่วยกำกับการบริหารจัดการได้  หรือใช้วิธีการค้ำประกันไขว้ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้วยกัน  หรือโดยการออกหนังสือของคู่ค้า เพื่อรับรองว่าผู้ประกอบการธุรกิจที่ขอกู้ยืมเงินมีอนาคตที่ดี เป็นต้น ในเรื่องนี้รัฐสมควรรับความเสี่ยงบางส่วนเพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวมิต้องปิดกิจการลง (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552  อนุมัติหลักการโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการปิดท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง  ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ วงเงินทั้งสิ้น 245.5 ล้านบาท  ภายในวงเงินกู้ยืม 5,000 ล้านบาท)

มาตรการด้านภาษี

อนุมัติให้ส่วนราชการที่ได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการปิดท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง ขยายระยะเวลาออกไป 1 รอบปี  นับแต่วันที่กฎหมาย  หรือระเบียบของแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบมีผลบังคับใช้

1.การยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวทุกประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย

2.การลดหย่อนค่าธรรมเนียมการขึ้นลงของอากาศยานและที่เก็บอากาศยาน

3.การลดหย่อนค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานแห่งชาติลงร้อยละ 50 สำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศและคนไทยในพื้นที่อุทยานทั่วประเทศ

มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว

1.ให้ส่วนราชการขยายเวลาการปรับแผนการฝึกอบรม จัดสัมมนา และดูงานในประเทศให้มากขึ้นแทนการฝึกอบรม จัดประชุมสัมมนา และดูงานในต่างประเทศ ออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2553  เพื่อเป็นการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ

2.ให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการจัดสรรงวดเงินงบประมาณงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552  จำนวน 1,000 ล้านบาท  ให้กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการตลาด

3.ให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยพิจารณาแก้ไขปัญหาที่บริษัทประกันภัยในต่างประเทศไม่รับประกันภัยให้กับนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะเดินทางมายังประเทศไทย โดยเฉพาะที่มีภัยจลาจล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว

4.ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาร่วมกับสมาคมธนาคารไทยในการผ่อนปรนการจัดลำดับธุรกิจการท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงไม่สูง เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบได้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ธนาคารพาณิชย์ และอื่นๆ ได้ เพื่อเป็นการผ่อนปรนวิกฤติการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

 

5.ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังธนาคาร และแหล่งเงินกู้ต่างๆ ในการพิจารณากลุ่มธุรกิจที่ควรได้รับการส่งเสริม และเยียวยาเป็นพิเศษ

เป็นอย่างไรบ้างครับ  มาตรการเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูวิกฤติการท่องเที่ยวครั้งนี้ ท่านผู้อ่านคิดว่าจะสามารถกอบกู้วิกฤติ และต่อลมหายใจให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวทั้งหลายให้สามารถประกอบกิจการต่อไปได้หรือไม่ ติดตามกันอย่างใกล้ชิดนะครับ

 

http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=3184&acid=3184


Rediscover Hotmail®: Now available on your iPhone or BlackBerry Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน