บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

บางสิ่งที่เปลี่ยนไป ใจไม่เปลี่ยนแปลง/สัญจร

บางสิ่งที่เปลี่ยนไป ใจไม่เปลี่ยนแปลง/สัญจร
ข่าววันที่ 25 เมษายน 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

สัญจร

เนติ โชติช่วงนิธิ

 

บางสิ่งที่เปลี่ยนไป

ใจไม่เปลี่ยนแปลง

               

เป็นทริปหนึ่งของการเดินทางบนถนนหลวงที่ไม่ราบเรียบ ที่ทอดเหยียดยาวผ่านแม่น้ำคู่ขนานไปขุนเขา และหมู่บ้านในระยะทาง 160 กว่ากิโลเมตรจากท่าขึ้เหล็ก-เชียงตุงในพม่า

นักประวัติศาสตร์บอกว่า สยามประเทศเคยกรีฑาทัพตั้งค่ายพักแรมเมืองพยาก ทั้งแม่ทัพ นายกอง พร้อมพลศึก ช้าง ม้า วัว บรรทุกศาสตราวุธและสัมภาระผ่านเส้นทางนี้ แล้วใช้เวลา 9 วันเดินทางขึ้นเขาลงห้วยขึ้นไปตีนครเชียงตุงชนเผ่าไทเขิน(ขึน) เมื่อราว 160 ปีมาแล้วในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ถึง 3 ครา (พ.ศ.2392-2397) แต่พ่ายเรียบ ด้วยเหตุปัญหาหลายเรื่อง อย่างหนึ่งก็คือภูมิประเทศและสภาพอากาศอันหนาวเหน็บและร้อนแห้งในดงเขา ส่งผลให้พลศึกป่วยไข้  

            อีกร่วม 90 ปีต่อมา การศึกยึดนครเชียงตุงครั้งที่ 4 (พ.ศ.2484-2485) ของไทย(สยามเป็นไทย พ.ศ.2482) ประสบความสำเร็จ แต่ก็ครอบครองนครเชียงตุงได้ไม่นาน เมื่อไทยพลั้งพลาดในสงครามโลกครั้งที่ 2 จำส่งมอบให้สหประชาชาติดูแลปกครอง จากนั้นพม่าได้ดำเนินการปกครองนครเชียงตุงมาจนถึงปัจจุบัน

            บนเส้นทางสายท่าขี้เหล็กมุ่งสู่เชียงตุง จะว่าไปแล้วเป็นเส้นทางคาราวานทั้งการเผย แพร่ศาสนาพุทธอินเดียและการค้ามาแต่โบราณ ดังที่ คุณทองแถม นาถจำนง ได้พรรณนาความไว้ในหนังสือ "เส้นทางสายฝัน" วรรคหนึ่ง "หากย้อนรอยฉากประวัติศาสตร์จะแลเห็นภาพขบวนม้า ลาและวัวต่างบรรทุกสินค้าจากเชียงใหม่ เชียงราย ลัดเลาะไปตามไหล่เขา ไต่ขึ้นเส้นทางสูงชันแคบๆ ข้างทางสภาพหุบเหวลึกชนวนเสียวสยอง มุ่งหน้าสู่เชียงตุงเขมรัฐคร(เมืองแห่งความเกษมสำราญ ตั้งนามขึ้นเพื่อแก้เคล็ด)"

            จากเส้นทางเกวียนโบราณ ได้แปรสภาพถนนขรุขระลูกรัง แล้วลาดยางมะตอยเมื่อร่วมยี่สิบปีที่แล้ว บัดนี้กลายเป็นถนนที่ไม่ราบเรียบ ด้วยสภาพหลุมบ่อและโคลน บางช่วงของถนนบนไหล่เขาเกือบจะตัดขาดแยกออกจากกันด้วยพลังของน้ำฝนที่กัดเซาะ แต่วิวทิวทัศน์งดงามนัก มีลำธารน้ำที่ออล้อกระทบกับแก่งหินคุ้งแล้วคุ้งเล่า "นี่..ถ้าเป็นเมืองไทย ป่านนี้โรงแรม รีสอร์ท คงผุดขึ้นตามชายเขาชายน้ำเป็นดอกเห็ด ทัวร์ล่องแก่งเป็นว่าเล่น แต่นี่เป็นพม่ายังคงสภาพธรรมชาติไว้ได้อยู่ แม้จำนวนไม่น้อยได้แปรสภาพภูเขาหัวโล้น และทำนาขั้นบันได"

            ถนนสายนี้ สมัยหนึ่งการเมืองระหว่างประเทศ พม่า จีน ลาว ไทย จะเชื่อมให้เป็นเส้นทางสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ และเพื่อการท่องเที่ยวอารยธรรม 5 เชียง ที่พุ่งออกไปจากท่าขี้เหล็ก(เชื่อมต่อแม่สายของไทย) สู่เชียงตุง ต่อไปเมืองลา(90กิโล เมตร) และเชียงรุ่งในสิบสองปันนา และจากเส้นทางเชียงรายสู่เชียงแสนไปเชียงทอง(หลวงพระบาง) อย่างที่คุณทองแถมให้นิยาม "เส้นทางสายฝัน" มิมีผิด ดังนี้แล้วจะแลเห็นกองคาราวานสินค้าและนักท่องเที่ยวจากไทยและประเทศอื่นๆ กิน เที่ยว หลับนอนกระจายตัวอยู่หัวเมืองเชียงต่างๆ

            ถนนสายนี้ จะทอดยาวเหยียดจากแผ่นดินประเทศใดก็ตาม ด้านหนึ่งแล้วแลเห็นสังคมวัฒน ธรรมของเผ่าพันธุ์ไท โดยเฉพาะภาษาพูดและตัวเขียนพื้นเมือง อันสายสัมพันธ์ปรากฏฉายภาพให้เห็นอยู่เหมือนวันวาน

 

 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=70&nid=36815


Rediscover Hotmail®: Get e-mail storage that grows with you. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน