บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

เครือข่ายชาวบ้านยื่นหนังสือ "ยูเอ็น-รัฐบาลไทย" แก้ปัญหาด่วน ระบุ 3 เขื่อนกั้นโขงของจีนทำเดือดร้อน

วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 18:36:53 น.  มติชนออนไลน์
ภาพประกอบจาก www.thai-tour.com

เครือข่ายชาวบ้านยื่นหนังสือ "ยูเอ็น-รัฐบาลไทย" แก้ปัญหาด่วน ระบุ 3 เขื่อนกั้นโขงของจีนทำเดือดร้อน

เครือข่ายชาวบ้านยื่นหนังสือยูเอ็น-รัฐบาลไทยแก้ปัญหาด่วน ระบุ 3 เขื่อนกั้นโขงของจีนทำเดือดร้อนหนัก ชี้หากเพิกเฉยรุนแรงแน่ ชุมชนทั่วทุกภาคร่วมกันสร้างตลิ่ง เยียวยา-ให้กำลังใจชาวเชียงของ ดันตั้ง "สภาลุ่มน้ำโขง"เป็นปากเสียงจัดการทรัพยากรท้องถิ่น คนอุบลฯเชื่อมีเขื่อนบ้านกุ่มแน่

 
เมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่บริเวณริมแม่น้ำโขงบ้านปากอิงใต้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ชาวบ้านจากชุมชนต่างๆทั่วทุกภาคกว่า 10 แห่ง อาทิ ชุมชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ,ชุมชนคนไทยพลัดถิ่น จ.ระนอง ,ชุมชนบางขุนเทียน ,ชุมชนเมืองอุบล เป็นต้น กว่า 200 คน พร้อมชาวบ้านปากอิง ได้ร่วมกันสร้างตลิ่งริมแม่น้ำโขง หลังเกิดการพังทลายตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 โดยชาวบ้านเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในประเทศจีน
 
นายบุญคง บุญวาส ผู้ใหญ่บ้านปากอิงใต้ กล่าวว่า รู้สึกดีใจและปลื้มใจมากที่ชาวบ้านจากทั่วทุกภาคมาร่วมกันช่วยเหลือสร้างตลิ่งให้ชาวปากอิง ซึ่งทุกวันนี้แม่น้ำโขงเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก จากเดิมที่เคยคาดการณ์ได้ว่าน้ำจะลดหรือเพิ่มช่วงไหน แต่ทุกวันนี้กลับคาดการณ์ไม่ได้เลย โดยเฉพาะการเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อครั้งก่อน ทำให้บ้านเรือนและไร่นาเสียหายอย่างหนักมากกว่า 300 ไร่
 
"เราไม่รู้เลยว่าน้ำจะท่วม เมื่อก่อนพอฝนตกหนักน้ำจากแม่น้ำอิงก็จะไหลลงแม่น้ำโขง ขณะที่น้ำจากทิศเหนือของแม่น้ำโขงจะไหลลงมาเช่นกัน ทำให้กระแสน้ำมาดันกันอยู่แถวนี้ แต่น้ำท่วมครั้งก่อนกลับมีแต่น้ำโขงไหลทะลักมามหาศาลโดยชาวบ้านไม่รู้ตัวเลย พวกเราจึงเชื่อว่าเป็นการปล่อยน้ำมาจากเขื่อนในจีน"นายบุญคงกล่าว
 
นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว แกนนำกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า ความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งก่อนมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 85 ล้านบาท รัฐบาลจีนต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านที่อยู่ท้ายน้ำ หากไม่สะสางปัญหาจะกลายเป็นประเด็นขัดแย้งกับชาวบ้านเพิ่มขึ้นทุกวัน และว่า เครือข่ายชาวบ้านจากทุกภาคจะร่วมกันออกแถลงการณ์ถึงรัฐบาลจีนโดยยื่นหนังสือผ่านสถานทูตจีนประจำประเทศไทย และทำหนังสือถึงองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)  รวมทั้งรัฐบาลไทย เพื่อให้เจรจาแกไขปัญหาของชาวบ้านที่อยู่ท้ายน้ำ หากรัฐบาลจีนยังไม่คิดรับผิดชอบ เครือข่ายชาวบ้านของไทยจะประสานไปยังประเทศต่างๆที่อยู่ท้ายน้ำโขงเพื่อหามาตรการตอบโต้ประเทศจีน
 
"ในอนาคตแล้ว เราพยายามจะเชื่อมต่อให้ประชาชนตลอดลำน้ำโขงจัดตั้งเป็นสภาลุ่มน้ำโขง เพื่อให้มีสิทธิ์มีเสียงในการจัดการทรัพยากรของตัวเอง แต่ตอนนี้อย่างน้อยรัฐบาลจีนควรเจรจากับรัฐบาลไทยถึงประเด็นปัญหาเฉพาะหน้านี้ก่อน มิฉะนั้นจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคต"นายนิวัฒน์กล่าว
 
ขณะที่นางสังวาล บุญน้อย ชาวบ้านจากบ้านสองคอน อ.โพธิไทร จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่าน จ.เชียงรายนี้ มีความแตกต่างจากแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านชุมชนของตนเอง แต่ปัญหาหนึ่งที่ประสบเหมือนกันคือเกิดความเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขงในลักษณะเดียวกัน ชาวบ้านไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าน้ำจะขึ้นหรือลงเมื่อใด ล่าสุดชาวบ้านปลูกถั่วและทำเกษตรริมโขงต่างได้รับความเสียหายอย่างหนัก เนื่องจากเมื่อน้ำลดก็คิดว่าถึงเวลาเพาะปลูกแล้ว แต่ปรากฏว่าจู่ๆน้ำท่วมขึ้นมาอีกครั้ง หลายคนเชื่อว่าเป็นการปล่อยน้ำมาจากเขื่อนในจีน ทำให้แปลงเกษตรถูกน้ำท่วมหมด
 
"ตอนนี้ชาวบ้านยังไม่รู้เลยว่าเขาจะสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขงที่บ้านกุ่ม (จ.อุบลราชธานี)หรือไม่ เพราะถามใครก็ไม่มีใครรู้ แม้แต่ทางอำเภอ แต่เราเชื่อว่าเขาคงตั้งใจจะสร้างแน่ เพราะมีการเขียนแผนผังต่างๆแล้ว นอกจากนี้ยังมีคนไปสำรวจด้วย"นางสังวาลกล่าว
 
ด้านนายมาหามัดนาซือรี เมาตี ชาวบ้านจาก อ.สุไหง-โกลก จ.นราธิวาส กล่าวว่า การที่ชาวบ้านรวมตัวกันมาสร้างตลิ่งในครั้งนี้ ถือเป็นความเข้มแข็งที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง และบรรยากาศแตกต่างจาก 3 จังหวัดภาคใต้มาก เพราะไม่ต้องวิตกกังวลเกี่ยวกับความรุนแรง การได้แลกเปลี่ยนปัญหาระหว่างชุมชนต่างๆในครั้งนี้ จะนำไปปรับใช้ในชุมชนของตัวเอง
 
สำหรับแถลงการณ์ที่เครือข่ายชาวบ้านร่วมกันลงชื่อและส่งถึงรัฐบาลจีน รัฐบาลไทย และองค์การสหประชาชาตินั้น มีเนื้อหาสรุปว่า โครงการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนของจีนยูนนาน 8 เขื่อน (เปิดใช้แล้ว 3 เขื่อน) โครงการระเบิดเกาะแก่งในลำน้ำโขงเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่นริมฝั่งแม่น้ำโขงอย่างมหาศาล จนแทบล่มสลาย เพราะปริมาณพันธุ์ปลาลดลง พื้นที่เกษตรริมฝั่งโขงถูกน้ำท่วม ผู้คนบางชุมชนต้องอพยพไปหากินต่างถิ่น หลายชุมชนต้องเปลี่ยนอาชีพ เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 เกิดน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 40 ปีในเขตแม่น้ำโขง-อิงและกกตอนปลาย สาเหตุหลักมาจากการเปิดเขื่อนในจีนอย่างฉับพลัน เพราะน้ำท่วมหนักหน้าเขื่อนจนมีรายงานข่าวของทางการจีนว่า มีผู้เสียชีวิต 40 คน ด้วยเหตุนี้น้ำจึงท่วมฉับพลันเพียงในวันเดียวเกือบ 2 เมตร ก่อผลเสียหายเบื้องต้นเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 85 ล้านบาท ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องตระหนักและหันกลับมาทบทวนแนวนโยบายและการทำงานช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นซึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของประเทศในลุ่มน้ำโขง เมื่อเครือข่ายชาวบ้านหรือชุมชนท้องถิ่นได้รวมตัวกันพึ่งตนเอง จำเป็นที่รัฐบาลต้องหนุนเสริม ไม่ใช่มีเพียงแนวนโยบายที่ให้สิทธิพิเศษและโอกาสแต่เพียงองค์กรภาคทุนเศรษฐกิจหรือองค์กรทุนข้ามรัฐแต่เพียงด้านเดียว


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1240745829&grpid=01&catid=19

Windows Live™ SkyDrive™: Get 25 GB of free online storage. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน