บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

วิถีแห่งรักษ์ของคนอยู่ป่า

วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11369 มติชนรายวัน


วิถีแห่งรักษ์ของคนอยู่ป่า


โดย รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้




สมนึก พุฒนวล, บุญ แซ่จุ่ง, ปราณี แท่นมาก

ถนนดินธรรมชาติผสมกับถนนปูนซีเมนต์เล็กๆ สำหรับรถจักรยานยนต์วิ่งเข้า-ออก ขึ้นเขาลงห้วยกว่า 2 กิโลเมตร เชื่อมหมู่บ้านทับเขือ/ปลักหมู หมู่ที่ 1 ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง กับโลกภายนอก โดยมีเส้นทางเล็กๆ แยกออกจากถนนตรัง-พัทลุง บนเทือกเขาบรรทัด ตรงใกล้รอยต่อเขตจังหวัดพัทลุงกับจังหวัดตรัง เป็นปากทางเข้า

ด้วยถูกน้ำกัดเซาะจากฝนหลงฤดูตกติดต่อกันนานกว่าสัปดาห์ ถนนเส้นนี้จึงเป็นหลุมเป็นโคลน อนุญาตให้เฉพาะคนขับรถจักรยานยนต์เข้า-ออกเป็นประจำเท่านั้น จึงจะไปถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย

"เรามีสวนยางอยู่แปดไร่ มีสวนกล้วยแปดไร่ มีสวนผักแปดไร่ มีสวนผลไม้แปดไร่ มีสวนพริกไทยแปดไร่ มีสวนผักกูดแปดไร่ ใครได้ยินก็คิดว่าเรารวย เพราะมีที่ดินมาก แต่ความจริงเรามีอยู่แค่แปดไร่เท่านั้นเอง"

บุญ แซ่จุ่ง หรือพี่เอก แห่งเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด พูดแซว ฉิว คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่กำลังเดินนำเราชมสวนผสมของเธอ และอธิบายอย่างคล่องแคล่วเหมือนไก๊ด์นำเที่ยวไม่มีผิด

ฉิวเล่าให้เราฟังว่า ที่ดินผืนนี้เธอได้รับมรดกสืบทอดจากเตี่ย โดยเตี่ยรับมาจากก๋ง ชายจีนแซ่ลิ้ม ที่เดินทางมาจากเมืองจีนอีกทอดหนึ่ง จนตกทอดมาถึงรุ่นเธอ และรุ่นลูกของเธอ

ผักกูด, เหมียง, คะน้าภูเขา



ช่วงเวลาแห่งการสืบทอดเป็นหลักฐานอีกหนึ่งชิ้นที่พิสูจน์ได้ว่าเธอและครอบครัวไม่ได้บุกรุกอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า อย่างที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้กล่าวหา เพราะที่ดินตรงนี้เพิ่งประกาศเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เมื่อปี 2525 นี่เอง

ฉิว หรือปราณี แท่นมาก เป็นหนึ่งในสมาชิกของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด องค์กรสมาชิกสมัชชาคนจน แห่งหมู่บ้านทับเขือ/ปลักหมู ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 40 ครัวเรือน โดยมีพื้นที่ทำกินทั้งหมดประมาณ 700 ไร่ และทั้งหมดเป็นสวนยางสมรม มีทั้งพื้นที่ใช้สอยส่วนรวมและส่วนตัว แสดงแนวเขตทำกิน ที่กันออกจากแนวป่าอย่างชัดเจน

ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้ามาในที่ของเธอ ตามข้อกล่าวหาที่คนทั้งหมู่บ้านทับเขือ/ปลักหมูโดนมาตลอด นั่นคือ บุกรุกอุทยานแห่งชาติ แต่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นเปลี่ยนใจและกล่าวชม หลังจากที่ฉิวนำเจ้าหน้าที่เดินชมสวนสมรมของเธอ

ในสวนยางแปดไร่ นอกจากต้นยางพาราแล้ว เธอยังมีแปลงผักกูด ทั้งที่เพิ่งปลูกใหม่ และแตกกอ ออกยอดใบเขียว รอที่จะถูกเก็บนำไปปรุงเป็นอาหาร โดยมีกอกล้วยปลูกสลับอยู่กลางแปลง ใกล้ๆ กันนั้น ฉิวยังเก็บกล้าผักคะน้าภูเขาที่งอกกระจัดกระจายอยู่ในสวนยางมาปลูกลงแปลง เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว ต้นขนุนสองสามต้นกำลังออกลูกใหม่ ทั้งที่ยังมีดอกห่อหุ้มและเป็นผลเท่าๆ นิ้วมือ ไม่ไกลจากแปลงผักคะน้าภูเขา ต้นผักเหมียง ผักเหรียง และผักเขลียง ชื่อปักษ์ใต้ตามแต่จะเรียก สูงท่วมหัว ใบเขียวเข้ม

เธอบอกว่าผักชนิดนี้สามารถปลูกได้ทั้งจากเมล็ดและต้นอ่อน ที่แตกงอกออกมาจากรากของต้นใหญ่ เราเดินวกกลับมาที่สวนพริกไทย ซึ่งกำลังออกช่อเต็มต้น ก่อนจะถึงต้นลางสาด และลองกอง ทุเรียนสองสามต้นกำลังออกดอก และบางส่วนร่วงโรยกองอยู่ใต้โคนต้น รอบๆ บ้านของจิ๋วยังมีพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ขึ้นแซมอยู่ประปราย การทำสวนแบบที่ฉิวกำลังทำอยู่นี้ สอดคล้องกับนโยบายของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ที่ต้องการให้สมาชิกรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศให้คงอยู่ หรือฟื้นคืนกลับมาเหมือนเดิม

สมนึก พุฒนวล ตัวแทนชาวบ้านทับเขือ/ปลักหมู ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด บอกเราว่า นี่คือการปลูกพืช 4 ชั้น พืชชั้นที่ 1 เป็นพืชคลุมดิน เช่น ผักกูด บัวบก ขมิ้น ผักบุ้ง ชะพลู บอน ผักกาดนกเขา คะน้าภูเขา ฯลฯ พืชชั้นที่ 2 เช่น ผักหวานป่า-เหมียง พริก พริกไทย กล้วย ผักหวานบ้าน มะละกอ เหม้า พลู คล้า หมาก ฯลฯ พืชชั้นที่ 3 เช่น ลองกอง มังคุด ส้มโอ มะนาว มะม่วงหิมพานต์ เนียง จำปาดะ ไผ่ตง ฯลฯ พืชชั้นที่ 4 เป็นชั้นบนสุด ล้วนแล้วแต่เป็นพืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา สะตอ มะพร้าว ทุเรียน มะม่วง ขนุน ฯลฯ

สมนึกอธิบายขยายความต่อว่า การปลูกพืชแบบนี้ นอกจากเพื่อกินเพื่อขายแล้ว ยังเป็นการสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศของป่า ที่สำคัญไม่มีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก เพราะถ้าหากใช้สารเคมีสำหรับพืชชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ก็จะส่งผลกระทบกับพืชชนิดอื่นที่อยู่ร่วมกัน

ฉิวนั่งอยู่ข้างๆ บอกว่า ใช้วิธีการดายหญ้าเพื่อกำจัดวัชพืช หญ้าที่ดายจะทับถมเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติ เหมาะสำหรับพืชที่ปลูกอยู่ในสวน

สมนึกเสริมขึ้นว่า สิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าการตั้งกฎเกณฑ์การอยู่กับป่า รักษาป่าต้นน้ำลำธาร ทำสวนสมรม หรือส่งเสริมการปลูกพืช 4 ชั้น เป็นการพิสูจน์ต่อคนข้างนอกว่า มนุษย์สามารถอยู่กับป่าได้ หากมีความเข้าใจ และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว

สมาชิกเครือข่ายที่นั่งอยู่ใกล้ๆ ตอกย้ำถึงวิถีชีวิตที่อยู่กับป่าโดยไม่ทำลายป่า ด้วยถ้อยคำสั้นๆ

"พวกเรากินน้ำจากห้วย ไม่ได้กินน้ำจากขวด"

หน้า 8
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01way01260452&sectionid=0137&day=2009-04-26


Windows Live™ Hotmail®:…more than just e-mail. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน