บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

รายงานสรุปการสัมนาประจำปี 2551 เครือข่ายตลาดสีเขียว

รายงานสรุปการสัมนาประจำปี 2551 เครือข่ายตลาดสีเขียว
โดย : เครือข่ายตลาดสีเขียว  เมื่อ : 28/04/2009 03:47 PM
สรุปภาพรวมการทำงานของเครือข่ายตลาดสีเขียว

"โครงการส่งเสริมสนับสนุนการตลาดสีเขียวและเครือข่ายผู้บริโภคสีเขียว" เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานจากบ.สวนเงินมีมา จำกัด โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทางโครงการฯ ได้ดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของผู้บริโภคและทิศทางของตลาดสีเขียวที่พัฒนาไป โดยดำเนินงานการสร้างเครือข่ายผู้บริโภค,เครือข่ายร้านกรีน,เครือข่ายผู้ผลิต เพื่อรณรงค์และส่งเสริมการตลาดสีเขียว อย่างเป็นระบบ ผลักดันให้เกิดการขยายตัวและความยั่งยืนของการตลาดสีเขียวที่เป็นจริง จนเกิดการขยายตัวของตลาดสีเขียวในรูปแบบการสร้าง "เครือข่ายตลาดสีเขียว" ขึ้นโดยได้จัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

สรุปการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม

1. การประชุมประจำเดือนของเครือข่ายตลาดสีเขียว
จัดประชุมทุกเดืแอน เพื่อวางแผนการทำงานขับเคลื่อนเครือข่ายตลาดสีเขียวจัดทุกเดือนตั้งแต่ ม.ค. 51 - ธ.ค. 51

2. กิจกรรมวงสนทนาตลาดสีเขียว (Green dialogue)
เป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ในด้านต่างๆของเรื่องราวเกษตรอินทรีย์และการตลาดสีเขียวให้กับสมาชิกเครือข่ายและผู้บริโภคทั่วไปที่สนใจ โดยหมุนเวียนไปตามร้านกรีนต่างๆ ประเด็นการสนทนาเช่น

  • กระดาษจากต้นกล้วยและบรรจุภัณฑ์เพื่อสุขภาพสิ่งเวดล้อม
  • อยากเปิดร้านกรีน ต้องทำอย่างไร
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รู้ลึกรู้จริงเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
  • จุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตเกษตร อินทรีย์
  • Healthy food & healthy network : อาหารสุขภาพสู่เครือข่ายสุขภาพ
  • ทางออกของการบริโภค ข้าวอินทรีย์ ใน ภาวะอาหารแพง
  • สร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในแบบของชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อย

3. วารสารตลาดสีเขียวเล่ม 1- 4

เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลให้กับสาธารณะชนทั่วไปที่สนใจประเด็นการบริโภคที่ยั่งยืนเละเชื่อมั่นในการค้าที่เป็นธรรม รวมทั้งเพื่อสร้างสื่อการตลาดสีเขียวที่เป็นจริง ยั่งยืน และมีความชัดเจนโปร่งใส สามารถติดตามเรื่องราวได้อย่างต่อเนื่องในคอลัมน์ต่างๆ อาทิเช่น เรื่องราวความรู้เกี่ยวกับผู้บริโภค ร้านกรีน ผู้ผลิต รูปแบบวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับแนวทางการพึ่งตนเอง หรือเรื่องราวของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพองค์รวม งานแสดงสินค้าอินทรีย์และผลผลิตสีเขียวชุมชน (Green Fair) การรายงานข่าวแวดวงสีเขียว เป็นต้น วารสารจึงมีบทบาทเสมือนการสร้างชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการเคลื่อนไหวด้านกรีน เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนและเห็นถึงพลังแห่งการเติบโต โดยมีพันธกิจของวารสารตลาดสีเขียว เพื่อแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้บริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรกับธรรมชาติ

4. Green Guide Book เล่มที่ 1

เป็นหนังสือที่รวบรวมฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราววิถีชีวิตของ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการด้วยเกษตรอินทรีย์ ร้านค้ากรีน ผู้บริโภคสีเขียว และองค์กรที่มีนโยบายเรื่องเกษตรอินทรีย์ และดัชนีสืบค้นเรื่องสินค้าและบริการในเครือข่ายตลาดสีเขียว
จากการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา ได้เกิดกรีนไกด์บุ๊คเล่มที่หนึ่งภายใต้คอนเซ็ปชื่อ Living Green Together: วิถีสีเขียว ผู้ผลิต ตลาด และผู้บริโภค ซึ่งเรียบเรียงโดย ภัทรพร อภิชิต และ ผลิตโดยสำนักพิมพ์สวนเงินมีมา (ความหนา ๒๔๔ หน้า)
Living Green Together เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวของผู้คนที่ได้ทดลอง ริเริ่ม และหรือเดินนำหน้าไปก่อนแล้วในเรื่องผลผลิตอินทรีย์และสินค้าที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งในฐานะผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ไว้อย่างมีชีวิตชีวา พร้อมดัชนีรายชื่อผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ ตลอดจนองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ผู้สนใจได้ถือเป็นแนวทางในการร่วมดำเนินชีวิตในวิถีสีเขียวร่วมกัน

5. Web site /www.thaigreenmarket.com

จากการทำงานเครือข่ายตลาดสีเขียวผ่านการจัดกิจกรรมและการรวบรวมข้อมูลได้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการตลาดสีเขียวที่เป็นจริงและยั่งยืนขึ้น จึงเกิดกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวให้ถึงผู้บริโภคเกิดความตระหนักถึงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลความรู้ผ่านทางกิจกรรมเวทีเสวนา Organic Day วารสารตลาดสีเขียว กรีนไกด์บุ๊ค ฯลฯ และช่องทางการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เนทถือได้ว่าเป็นช่องทางการสื่อสารที่ทั้งสะดวกรวดเร็วและประหยัด จึงเกิดเวบไซต์เครือข่ายตลาดสีเขียวซึ่งได้มีการจดทะเบียนในชื่อ www.thaigreenmarket.com เป็นแหล่งรวบรวมกิจกรรม ข่าวสารและฐานข้อมูลของเครือข่ายตลาดสีเขียวเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้บริโภคเกิดการสื่อสารที่สะดวกมากยิ่งขึ้น
เวบไซต์ได้นำเสนอข้อมูล 3 ส่วนหลัก

  • เครือข่ายร้านกรีน : เป็นการรวบรวมร้านกรีนจากทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑลและจะขยายร้านกรีนจากภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์กรีนได้มากขึ้น โดยส่วนของเครือข่ายร้านกรีนจะมีเมนูแนะนำร้านกรีน และกิจกรรมเช่น เวทีเสวนาที่จัดในร้านกรีนหมุนเวียนกันไป
  • เครือข่ายผู้ผลิต : เป็นการรวบรวมฐานข้อมูลของผู้ผลิตจากทั่วประเทศและพยายามรวบรวมผลิตภัณฑ์กรีนให้เกิดความหลากหลายมาหที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ผ้า สมุนไพร เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ เพื่อเป็นจุดนัดพบช่องทางหนึ่งระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค หรือผู้ผลิตกับผู้ประกอบการรายย่อย
  • เครือข่ายผู้บริโภค : เป็นการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเมนูต่างๆ ดังนี้
    - ผู้บริโภคสีเขียวต้นแบบ ฐานข้อมูลสำหรับให้ค้นหา
    - สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลท์
    - แผนที่ร้านกรีนออนไลท์
    - เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับงานกรีนแฟร์
    - Organic Station

6. เวทีเสวนาในประเด็น "เครือข่ายร้านกรีน กลไกแห่งการขับเคลื่อนตลาดสีเขียว"

เป็นการรวบรวมผู้ประกอบการร้านกรีนและผู้ที่สนใจเข้ามาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างเครือข่ายร้านกรีนที่เป็นจริงขึ้นในสังคม เพื่อเป็นตลาดสำหรับผู้ผลิตในกระบวนการเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์สีเขียว รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารและที่พบปะของผู้บริโภคหัวใจสีเขียว มีรูปแบบโครงสร้างในการเชื่อมโยงเครือข่ายร้านกรีน ดังนี้

  • การสั่งสินค้าร่วมกันเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
  • เก็บรวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการร้านกรีนและผู้ที่สนใจจะเปิดร้านเข้าสู่ฐานข้อมูล
  • กิจกรรมเยี่ยมแหล่งผลิตเพื่อคัดกรองสินค้าเข้าร้าน
  • การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของร้านกรีน เช่น บรรยากาศภายในร้านที่อบอุ่นเป็นกันเอง
  • การวางระดับมาตรฐานของสินค้าโดยฉลากและบอกรายละเอียดสินค้าอย่างชัดเจนทั้งส่วนประกอบ วันผลิตและวันหมดอายุ
  • จัดเวทีแลกเปลี่ยน พบปะ ผู้คุยกันระหว่างผู้ประกอบการร้านกรีนทุก 2 เดือน
  • สร้างฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ของร้านกรีนโดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการร้านกรีน

7. การเยี่ยมฟาร์มผู้ผลิตสีเขียว

  • การเยี่ยมฟาร์มเส้นทางจังหวัดเพชรบุรี น้ำตาลโตนดวังตาล และ ข้าว บ้านนาวิลิต (17 พฤษภาคม 2551)
  • เยี่ยมฟาร์มเส้นทางจังหวัดเชียงใหม่ (วันพุธ-วันอาทิตย์) วันที่ 23-27 เมย. 51
    - ศึกษาดูงานแปลงสาธิตเกษตรธรรมชาติ ที่แม่ปิงเกษตรธรรมชาติ
    - สวนพันพรรณและบ้านดิน คุณโจน จันใด
    - ศึกษาดูงาน ณ. สถาบันตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ ม.แม่โจ้
    - ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ที่ JJ market
  • เยี่ยมกลุ่มเกษตรกร อำเภอสนามชัย จังหวัดฉะเชิงเทรา 9 สิงหาคม 2551
  • เกษตรกร เขตพระประแดง กทม. วันที่ 24 ธันวาคม 2552
  • กลุ่มเกษตรปลอดสาร ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง วันที่ 14 มกราคม 2551
  • กลุ่มเกษตรกร เขตตลิ่งชัน 4 กุมภาพันธ์ 2552
  • ศึกษาดูงานเทคโนโลยีการผลิตเนื้อโค อินทรีย์ ที่มหาวิทยาลัยลาดกระบัง

8. กิจกรรมตลาดนัดสีเขียว

"ตลาดนัดสีเขียว" เป็นการรวมตัวทั้งด้านผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้บริโภคที่จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนผ่านตัวกลางซึ่งเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่นำมาจำหน่ายร่วมกัน นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ อาทิ การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องแนวคิดเกษตรอินทรีย์ ,Work shop การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์จากผู้ผลิต ,สาธิตการทำอาหารและเมนูสุขภาพ,กิจกรรมร่วมสนุกต่างๆ ทางด้านร้านค้าที่จะมาร่วมจำหน่ายสินค้าด้วยกันมาจากผู้ประกอบการรายย่อยและเกษตรกรจากชุมชน มีความพยายามสร้างให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และกลั่นกรองผู้ที่จะเข้าร่วมจำหน่ายสินค้าเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพผู้บริโภคจริงๆ รวมทั้งคำนึงถึงเรื่องการค้าที่เป็นธรรมเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีสินค้าทั้งด้านสินค้าอุปโภคและบริโภค,อาหารสด,อาหารแห้ง,เสื้อผ้า,เครื่องประดับ,หนังสือทางเลือกต่างๆ

พื้นที่ดำเนินการ

ปี 2551 (เริ่ม สิงหาคม 2551)
- อาคารรีเจ้นท์เฮาร์ ถ.ราชดำริ

ปี 2552
- อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์
- อาคารมาลีนนท์ (สถานีโทรทัศน์ช่อง 3)
- อาคารบ้านเจ้าพระยา ถ.พระอาทิตย์
- อาคารคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล

9. Green Fair'08(งานแสดงผลิตภัณฑ์อินทรีย์และผลผลิตตลาดสีเขียวชุมชนครั้งที่ 2)

จัดในวันที่ 4-7 ธันวาคม 2551 ที่ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ (ท่าพระจันทร์) โดยเครือข่ายตลาดสีเขียวร่วมกับบริษัทสวนเงินมีมา จำกัด ,สสส. และองค์กรต่างๆ จัดงานภายใต้คอนเซ็ป "Living Green Together วิถีการผลิต วิถีชีวิตเพื่อโลก"
ในปีนี้มีบูธมาร่วมออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์กับเราถึงประมาณ 70 บูธ ทั้งจากกลุ่มชุมชนซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองโดยมาตรฐานท้องถิ่น (Local standard) โดยองค์กร/หน่วยงานในระดับท้องถิ่นรับรองและผลิตภัณฑ์ตลาดสีเขียวชุมชนซึ่งรับรองกระบวนการผลิตโดยกลุ่มหรือเครือข่าย เช่น ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural product) ,ผลผลิตจากป่า (Wild product), ผลผลิตชุมชน (community product) ผักและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเกษตรกรรายย่อย, เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีไทย, เครือข่ายเกษตรทางเลือกในภูมิภาคต่างๆ เป็นต้น

ในกรีนแฟร์ครั้งนี้เราพยายามแบ่งโซนกรีนแฟร์ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเปิดกว้างในการรับหน่วยงาน/ผู้ประกอบการต่างๆในการออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์
บรรยากาศภายในงานมีความอบอุ่นในแบบ Green Family นอกจากจะได้เลือกซื้อเลือกหาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และผลผลิตชุมชนจากภาคส่วนต่างๆ ภายในงานยังมีกิจกรรมต่างๆมากมาย ประกอบไปด้วยกิจกรรมสาธิต กิจกรรมความรู้ เวทีเสวนาวิชาการและเวทีศิลปวัฒนธรรมและการแสดงที่ให้ความบันเทิงและสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการตลาดสีเขียว ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละวันไว้รองรับผู้บริโภคหัวใจสีเขียวกันทั้งครอบครัว แบบจุใจ ทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ เลยทีเดียว
เปิดงานโดยการกล่าวแนะนำการจัดงาน โดยประธานเครือข่ายตลาดสีเขียว คุณวัลลภา แวนวิลเลี่ยนส์วาร์ด ร่วมกับศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ตัวแทนจากสถาบันการศึกษา, คุณวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา (นายกสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย) ตัวแทนจากผู้ประกอบการรายย่อยและ คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ตัวแทนจากผู้บริโภค โดยมีกิจกรรมสาธิต เวทีเสวนา เวทีการแสดงศิลปวัฒนธรรมมากมาย ในงานยังมีลานศิลปะ จำหน่ายและให้ร่วมลงมือทำด้วยตนเองจาก เช่นผ้ามัดย้อมสีจากธรรมชาติ สื่อศิลปะจากเด็กๆ การทำเครื่องดนตรีจากขยะ การเพ้นท์กระถางต้นไม้ การทำเข็มกลัดรณรงค์ และที่สำคัญขาดไม่ได้คือความเสียสละจาก Green volunteer อาสาสมัครหัวใจสีเขียวที่มากันเป็นก๊วนเพื่อนและครอบครัว รวมทั้งน้องๆอาสาสมัครทุกคน

รูปแบบการทำงานของเครือข่ายตลาดสีเขียวใน ปี 2551

หัวหน้าโครงการฯ และประธานเครือข่ายฯ : คุณวัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด
ที่ปรึกษาเครือข่ายตลาดสีเขียว
1.คุณสุวรรณา หลั่งน้ำสังข์ บริษัทสังคมสุขภาพจำกัด (เลมอนฟาร์ม)
2.คุณวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา นายกสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย
3.คุณนาถฤดี นาครวาจา ผู้จัดการสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

ผู้ประสานงานส่วนกลาง : นางสาวปรียานุช พุทธมา
นางสาวอธิพาพร เหลืองอ่อน
นายธนกร เจียรกมลชื่น

รายนามคณะกรรมการเครือข่ายตลาดสีเขียว ปี ๒๕๕๑

* อ้างอิงจาก สรุปการประชุมเครือข่ายตลาดสีเขียว ครั้งที่ ๒ (ประจำปี ๒๕๕๑)
วันที่เสาร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ณ.ร้านบ้านนาวิลิต

ฝ่ายผู้ผลิต

1.คุณสุธาทิพย์ แสงวัฒนกุล อุดมชัยฟาร์ม (ผลิตไข่ไก่ออร์แกนิค)
2.คุณโสรัจ เบญจกุศล ร้านดอกไม้หวาน (ผลิตขนม วุ้น น้ำธัญพืช)
3.คุณ พฤฒิ เกิดชูชื่น แดรี่โฮม ฟาร์ม (ผลิตนมสดและโยเกิร์ต)
4.คุณนฤพนธ์ เอื้อธนวัฒน์ เพาะต้นอ่อนถั่วลิสง

ฝ่ายผู้ประกอบการร้านกรีน
5.คุณศรัณย์ ชุมแสง ฯ ที่ปรึกษา ของนิตยสาร Be well
6.คุณพวงมณี บุญเลี้ยง ร้านอิ่มอุ่น
7.คุณพอทิพย์ เพชรโปรี ร้านเฮลท์มี (Health Me)
8.คุณนงลักษณ์ ศักดิ์พงศ์ ร้านอาหารมังสวิรัติ

ฝ่ายผู้บริโภค
9.คุณปิยชนิดร์ ส.สุขจันทร์ ผู้บริโภคสีเขียว
10.คุณกิตติชัย งามชัยพิสิฐ สถาบันต้นกล้า
11.คุณนภพรรณ สบายใจ ผู้บริโภคสีเขียว

ฝ่ายสื่อ
12.คุณภัทรพร อภิชสิทธ์ นิตยสาร "มนต์รักแม่กลอง"
13.คุณสุภาวดี อินทะวงษ์ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

องค์กรภาคี เครือข่ายตลาดสีเขียว

1. สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
3. สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย (มกท.)
4. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
5. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
6. กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
7. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์
8. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน
9. สถาบันต้นกล้า
10. มูลนิธิโลกสีเขียว
11. มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
12. เครือข่ายดูแลสุขภาพวิถีไทย
13. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
14. คลังเกษตรอินทรีย์ (ISAC) สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน
15. กลุ่มบ้านหวันอ้อมข้าว จ.พัทลุง
16. เกษตรกรโครงการพัฒนาชนบทแควระบมสียัด อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
17. กลุ่มธรรมชาติบำบัด (อาศรมวงศ์สนิท)
18. แอคชั่นแอด ประเทศไทย
19. เครือข่ายหนังสือทางเลือก

สรุปบทเรียน

ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นจากที่ประชุม สรุปตามกิจกรรม

Farm visi
- ได้รับความสนใจในวงจำกัดจากผู้ที่มีวิถีบริโภคแบบทั่วไป(ที่ยังไม่green)
- ยังไม่มีการทำกิจกรรม feedback จากผู้บริโภค ในลักษณะ ?ผู้บริโภคเล่าสู่กันฟัง? จึงทำให้ไม่เกิดกระแสความสนใจต่อเนื่อง
Green Dialogue
- ได้รับความสนใจมากน้อยแล้วแต่ประเด็นที่หยิบยกมาสนทนากัน ประเด็นที่ตรงกับกระแสสังคมจะได้รับความสนใจมาก เช่น เรื่องข้าวอินทรีย์ ในวิกฤตเศรษฐกิจ
Organic Day
- ได้รับความสนใจจากโรงเรียนหลายแห่ง ในลักษณะมีกิจกรรมให้ความรู้แต่กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนวิถีการบริโภค ต้องทำระยะยาว ควบคู่กับกิจกรรมย่อย อื่นๆ ด้วย เช่น พาน้องเยี่ยมแปลง ทำอาหารหรือปลูกผักอินทรีย์ในรั้วโรงเรียน เป็นต้น
- หน่วยงานอื่นส่วนใหญ่สนใจ กิจกรรมเปิดตลาดนัดหรือออกบูธต่างๆ แต่ปัญหาที่มักพบคือ...
- ไม่ได้รับความสนใจ "ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า" จากผู้บริโภคมากนัก
- มักไปเป็นตัวประกอบของงานที่เขาจัดอยู่แล้ว
- มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง (ค่าเช่าบูธ ค่าเดินทาง) สำหรับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ
Green Journal
- ยังอยู่กับกลุ่มสมาชิกในเครือข่ายเป็นหลัก ยังไม่ปรากฏในแหล่งข้อมูลสาธารณะ เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย หน่วยงาน หรือสถานที่ต่างๆ นอกจากใน website ที่มีอยู่แล้ว
- มีปัญหาเรื่องทุนการจัดพิมพ์
Green Guide Book
- ได้รับความสนใจจากสื่อพอสมควร โดยเฉพาะคลื่นวิทยุบางรายการมีการนำไปอ่านออกอากาศ เพื่อให้คนได้รับรู้ข่าวสาร แต่ยังเห็นมีวางจำหน่ายน้อย www.thaigreenmarket.com
- ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมโดยทั่วไป แต่ยังขาดปรับ ข้อมูลที่ทันสมัยและมีประโยชน์
- Web-broad ยังไม่คึกคักเท่าที่ควร น่าจะเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ที่ดีทางหนึ่ง

กิจกรรมตลาดนัดสีเขียว

ได้รับการตอบสนองดีในระดับหนึ่ง เนื่องมาจาก...
- การได้รับความสนใจจากสื่อ เป็นที่รู้จักในวงกว้างอย่างรวดเร็ว
- กระแสสังคมมีทิศทางสนับสนุนด้านอาหารปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (โลกร้อน)
- การได้สื่อสารกับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการโดยตรง
- การได้รับรู้ถึงคุณภาพของสินค้า

ข้อจำกัดที่พบ
- ผู้ผลิตของสด ผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ มีน้อยราย
- ยังไม่มีฐานผู้ผลิตในกรุงเทพฯและที่ใกล้มากที่สุดก็ยังไกลอยู่
- ความผูกพันระหว่างผู้ผลิต-ผู้บริโภค ยังไม่ใกล้ชิด และเกื้อกูลกัน ยังไม่เกิดพลังของเครือข่ายที่สมบูรณ์
- ความข้องใจและความเข้าใจของผู้บริโภคเรื่องความเขียว (ทั้งคุณภาพและราคา)
- ผู้บริโภคต้องการความหลายหลายของสินค้า
- ไม่สามารถตอบสนองวิถีการบริโภคได้ทั้งหมด เช่น การบริโภคเนื้อสัตว์ อาหารปิ้ง ย่าง ทอด

การสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสีเขียว
- ข้อมูลบ่งชี้เกี่ยวกับผู้บริโภคกระจัดกระจาย ไม่มีการรวบรวมข้อมูลภาพรวมที่ชัดเจน เช่น ผู้บริโภคเป็นใคร กลุ่มใด อยู่ที่ใด ซื้ออะไร ทำไม เพื่อใคร เมื่อใด ที่ไหน อย่างไร
- ยังไม่มีการรวมกลุ่มของผู้บริโภค ในรูปแบบที่มีส่วนร่วมในการจัดการกับผู้ผลิต เช่น สหกรณ์ กลุ่ม หรือชมรมต่างๆ

สรุปการประชุมโดย - อธิพาพร เหลืองอ่อน

หมายเหตุ: รายงานสรุปการสัมนาประจำปี 2551 เครือข่ายตลาดสีเขียว
20 มีนาคม 2552 ณ.ร้านกรีนสวนเงินมีมา

 
http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1175

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน