บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ไปเหนือสุดของอินเดีย แคชเมียร์ สวรรค์บนดิน ?

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11404 มติชนรายวัน


ไปเหนือสุดของอินเดีย แคชเมียร์ สวรรค์บนดิน ?


คอลัมน์ บันทึกเดินทาง

โดย สุภาพร หวานเสนาะ Vansanoh@hotmail.com




"โอกาส" มักจะเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก ดังนั้น หากมี "โอกาส" มาประชิดตัวเมื่อไหร่จงคว้าไว้ทันที

เหมือนครั้งนี้ที่มีโอกาสเดินทางไปเยือน "ทัชมาฮาล" 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก แถมพ่วงด้วย "แคชเมียร์" ดินแดนสวรรค์ที่ใครๆ ก็อยากไปเยือน แม้ว่าจะมีปัญหาทางด้านการเมืองอยู่ก็ตาม

เพราะอินเดียกับปากีสถานต่างก็อ้างสิทธิกันและกันในการเป็นเจ้าของแคชเมียร์

แคชเมียร์ (แคว้นจามมูนและแคชเมียร์) แคว้นที่มีภูมิประเทศสวยงามที่สุด โอบล้อมด้วยเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งมีหิมะปกคลุมขาวโพลน เติมแต่งด้วยทะเลสาบงดงามทั้ง 2 ทะเลสาบ คือ "ทะเลสาบดาล" (อยู่ตรงข้ามมหาวิทยาลัยศรีนาคา) และทะเลสาบนาคิน

ก่อนจะบรรลุเป้าหมายแคชเมียร์ ก้าวแรกต้องสัมผัสกับนิวเดลีก่อน ซึ่งอุณหภูมิตอนนั้นความร้อนมากระทบผิวกายไม่ต่างจากเมืองไทยเท่าไรนัก กลับรู้สึกว่า ร้อนกว่าเสียด้วยซ้ำ

ออกจากสนามบินนานาชาติอินทิรา คานธี ก็ได้พบแหล่งเสื่อมโทรมต้อนรับนักท่องเที่ยวทันที แต่เพราะเตรียมตัวและเตรียมใจไปจากเมืองไทยแล้ว จึงไม่มีปริปากบ่นแต่อย่างใด กลับคิดว่า

"นี่ก็เป็นอีกรสชาติหนึ่งของชีวิต ที่ได้สัมผัสอินเดีย"

เรื่องราวเมืองหลวงของอินเดีย เขาจะแบ่งออกเป็นสองโซน-โซนแรกเรียก "โอลด์ เดลี" เป็นย่านเมืองเก่า มีชุมชนแออัดและขอทานมากมายนอนเรียงรายอยู่ตามผิวถนน ให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ของโอลด์เดลีเลยทีเดียว ส่วนโซนเมืองใหม่เรียก "นิวเดลี" เป็นย่านที่ดูดี ไม่มีแหล่งเสื่อมโทรม แถมมีห้างสรรพสินค้าใหม่และใหญ่มากกำลังจะเปิดให้บริการ ยังแอบเห็นสินค้าแบรนด์ดัง อย่าง หลุยส์ วิตตอง เบเนตอง ฯลฯ สาขาจากยุโรปกำลังจะเปิดเอาใจสาวๆ ชาวเมืองแขกในเร็วๆ นี้



จากนิวเดลี มุ่งหน้าสู่เมือง "อัครา" ซึ่งเป็นที่ตั้งของทัชมาฮาล (ที่อยู่ห่างจากนิวเดลีประมาณ 150 กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง)

อัครา เป็นเมืองที่คึกคักและเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งชาวอินเดีย และต่างชาติที่มุ่งไปชมความงามของอนุสรณ์แห่งความรักที่กษัตริย์ซาจาฮาล มีต่อพระมเหสีมุมตัส ด้วยงบประมาณการสร้างถึง 50,000,000 เหรียญอเมริกัน

อนุสรณ์แห่งความรักทัชมาฮาลตั้งตระหง่านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา (ตอนไปน้ำแห้งขอด เดินข้ามไปอีกฝั่งได้) สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวและหินทรายสีแดง ใช้เวลาก่อสร้างถึง 22 ปี เปิดให้เข้าชมทุกวัน

"ยกเว้นวันศุกร์ เพราะชาวฮินดูเขาจะสวดมนต์ ไหว้พระกัน" (ค่าเข้าชมต่างชาติคนละ 500 รูปี)

เสร็จสิ้นจากชมความงามอนุสรณ์แห่งความรัก คณะทัวร์ 41 ชีวิต ก็ต้องบินจากนิวเดลีไปยังสนามบินศรีนาคา (ที่บริหารจัดการ ควบคุมดูแลโดยฝายทหาร) ที่ทุกคนต้องตื่นเต้นกันเล็กน้อย เพราะเมื่อแอร์อินเดียแตะพื้นสนามบิน ต้องรอกันถึงเกือบชั่วโมงเพื่อรอให้ผู้โดยสารลงจากเครื่อง

"และเมื่อลงจากเครื่องบินแล้ว ต้องเดินเข้าสู่ที่ทำการสนามบิน โดยมีทหารดูแลควบคุม แต่พอเดินได้ไม่ถึง 20 ก้าว ทหารก็ให้คณะทัวร์หยุดเดิน เพราะมีเครื่องบินอีกลำกำลังรันเวย์มา ทุกคนต่างตกอกตกใจ และตื่นเต้นสนุกสนานกับการต้อนรับที่สุดแสนหวาดเสียวในครั้งนี้



การมาถึง "เมืองศรีนาคา" แน่นอนว่าต้องไปพักที่ "เฮาส์ โบ๊ท" House Boat หรือเรือบ้าน ที่เป็นมรดกตกทอดจากชาวอังกฤษในยุคล่าอาณานิคม

(ตอนนี้เป็นของเอกชน )

เรือบ้านนี้ได้รับการตกแต่งอย่างหรูหรา ส่วนหน้าของเรือหันเข้าหาเทือกเขาหิมาลัย มีทะเลสาบ "นาคิน" คั่นไว้ให้เห็นความงามยามเช้า

ส่วนหน้าของเรือบ้านมีไว้รับแขกที่พายเรือมาขายของที่ระลึก นอกจากนี้ มีห้องรับประทานอาหาร ห้องนั่งเล่นที่มีทีวีให้ดูข่าวสารกัน และส่วนหลังเป็นห้องนอน

ข้อมูลที่ได้รับทราบมีว่าคนไทยมาเที่ยวที่นี่ปีละไม่น้อย เพราะดื่มด่ำกับความงามและทิวทัศน์ของทะเลสาบนาคิน และการได้พักอาศัยในเรือบ้าน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถตกปลาได้

ภูเขากุลมาร์ค (ชื่อเดิม เการิมาร์ค) ที่ต้องขับรถไต่เขาขึ้นไปผ่าน 500 โค้ง (เล็กๆ ไม่น่ากลัวเท่าแม่ฮ่องสอน) แต่เมื่อไปถึงความเหน็ดเหนื่อย ก็พลันหายไปหมด เพราะความงดงามของภูเขานี้ที่มีหิมะปกคลุมอยู่ และในวันที่ไปเยือนนั้น มีลมแรงมาก กว่าจะได้ขึ้นเคเบิลคาร์ไปสัมผัสหิมะขาวโพลนก็ต้องรอกว่าครึ่งชั่วโมง

"โซนามาร์ค" เป็นเมืองที่ต้องไต่เขาขึ้นไปด้วยความสูง 3,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีทิวทัศน์ของชาวชนบทของแคชเมียร์ มีเทือกเขาหิมาลัยเป็นฉากหลัง (ท้องถิ่นเรียกว่า ทาจิวาส) ซึ่งเป็นเขาที่มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีแม่น้ำสินธุ ลดเลี้ยวผ่านหุบเขาในอีกฟากถนน

เส้นทางนี้จึงเป็นไฮไลต์ของการเที่ยวครั้งนี้ และโซนามาร์คนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะมุ่งหน้าไปยัง "เมืองลาดัคห์" (ที่สวยงามอีกแห่งในแคชเมียร์) หรือที่รู้จัดกันดีในชื่อว่า "ประตูสู่ดาลัคห์"

"ไก๊ด์ท้องถิ่นเล่าให้ฟังว่า พวกเขามีรายได้จากอาชีพนี้เดือนละประมาณ 3,000-4,000 รูปี"

พวกเขาอยู่ได้เพราะค่าทิปจากนักท่องเที่ยว แต่บางรายต้องดูแลครอบครัวที่ใหญ่มาก จึงต้องพยายามหางานอื่นมาทำกัน แต่งานที่แคชเมียร์ค่อนข้างหายาก (ผลพวงจากความไม่สงบในแคว้น) ส่วนใหญ่ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนาคา แล้วจะเข้าไปทำงานที่นิวเดลี

ที่แห่งนี้เดินไปทางไหนทุกสองเสาไฟฟ้าก็จะพบทหารรักษาการกันอยู่ แม้แต่จะออกไปนอกเมือง ทุก 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นทหารยืนริมถนน ใต้ต้นไม้ รักษาการอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ชินตาแล้วสำหรับชาวแคชเมียร์ แต่กับนักท่องเที่ยวอาจจะดูขัดหูขัดตากันบ้าง

เนื่องจากเมืองนี้เต็มไปด้วยทหารนี้เอง จึงถามไก๊ด์ท้องถิ่นว่า มีจำนวนเท่าไร เขาบอกว่าไม่รู้จำนวนที่แน่นอน เพราะมีหลายเชื้อชาติ แต่บอกว่ารายได้ของทหารเหล่านี้ ทหารชั้นประทวนจนถึงสูงสุดจะอยู่ประมาณ 1,500-10,000-30,000 รูปีต่อเดือน ส่วนภาคเอกชน (อย่างธนาคารพาณิชย์ พนักงานธนาคารจะมีรายได้ประมาณ 7,000-8,000 รูปี หากเป็นระดับผู้จัดการก็จะอยู่ประมาณ 10,000-15,000 รูปี)

ช่วงระยะเวลา 8 วันแห่งการทำความรู้จักอินเดีย โดยเฉพาะที่แคชเมียร์ หลายคนบอกว่าเป็น "สวรรค์บนดิน"

แต่เป็นเช่นนั้นจริง หรือเป็น "สวรรค์ที่อยู่ปลายปืน" จะสัมผัสได้ต้องยอมที่จะเจ็บปวด

"เป็นเรื่องที่ท้าทายให้ไปค้นหากันเอาเอง"


หน้า 23
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01tra01310552&sectionid=0139&day=2009-05-31

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน