บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ผู้เชี่ยวชาญมหิดลไขข้อข้องใจ "ไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่"ลามโลก!

วันที่ 05 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6732 ข่าวสดรายวัน


ผู้เชี่ยวชาญมหิดลไขข้อข้องใจ "ไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่"ลามโลก!





จากกรณีไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เม็กซิโก หรือ "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ 2009 เอช1เอ็น1" ระบาดลุกลามไปในหลายทวีป แม้มีอัตราผู้เสียชีวิตต่ำ ไม่รุนแรงเท่าไวรัสไข้หวัดนก "เอช5เอ็น1" แต่สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เพราะรูปแบบการติดเชื้อคนสู่คนแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ผู้เชี่ยวชาญจากภาคจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ความกระจ่าง ดังนี้



สถานการณ์การแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

การระบาดเริ่มต้นที่ประเทศเม็กซิโก เริ่มพบผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม

ต่อมาได้รับการยืนยันว่าเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่กลางเดือนเมษายน และมีการลุกลามของการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและออกไปในหลายประเทศจากการเดินทางของประชาชน ในประเทศเม็กซิโกมีผู้ป่วยจำนวนมาก มีสัดส่วนที่มีอาการรุนแรงคือมีปอดอักเสบค่อนข้างสูง และพบว่ามีอัตราตายประมาณ 6% แต่ในผู้ป่วยที่พบในประเทศอื่นๆล้วนมีอาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่หายได้เอง ยังไม่ชัดเจนว่าความแตกต่างนี้เป็นเพราะอะไร

นอกจากนี้ ในประเทศอื่นๆ ที่มีรายงานพบผู้ป่วยล้วนยังสามารถควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดต่อเนื่องในประเทศ ซึ่งเป็นแนวป้องกันที่สำคัญมาก

ในขณะที่เขียนบทความนี้ วันที่ 30 เมษายน 2552 ระดับการเตือนภัยขององค์การอนามัยโลกอยู่ที่ "ระดับ 5" หมายความว่ามีการติดเชื้อจากคนไปคนและระบาดในมากกว่า 1 ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน หากมีอีกประเทศหนึ่งที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในต่างภูมิภาค ก็จะเลื่อนเป็น "ระดับ 6" ซึ่งถือเป็นระดับของการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic)



ความเสี่ยงระบาดทั่วโลก

องค์การอนามัยโลกได้ยกระดับการเตือนภัยเป็นระดับ 5 แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบันน่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง ความเสี่ยงในการเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกมีสูง

ขณะนี้ทั่วโลกมีความหวังกันว่าแต่ละประเทศจะสามารถรักษาแนวป้องกันของตนเองไว้ได้นานพอที่จะทำให้การระบาดในประเทศเม็กซิโกสงบลงได้

หากทำได้การระบาดใหญ่ทั่วโลกก็จะไม่เกิดขึ้น และไวรัสอาจถูกกำจัดไปได้ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับการะบาดของ "โรคซาร์ส"

ข้อที่ช่วยให้มีความหวังคือการที่ยังไม่พบไวรัสสายพันธุ์เดียวกันนี้ในสัตว์ ทำให้มีความหวังว่าหากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อในคนได้ก็จะสามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปได้

นอกจากนั้น การที่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ยังไวต่อยา "Oseltamivir" (Tamiflu : ทามิฟลู) ทำให้มีเครื่องมือเบื้องต้นที่จะรักษาผู้ป่วยและป้องกันการติดเชื้อในผู้สัมผัสโรค จึงอาจมีความเป็นไปได้ที่ทุกประเทศจะสามารถรักษาแนวป้องกันของตนเอง โดยการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น หาตัวผู้ป่วยผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากดินแดนระบาด และป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อแพร่ต่อไปด้วยการแยกผู้ป่วย ให้การรักษา และเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในผู้สัมผัส



เรายังไม่ทราบชัดเจนถึงประสิทธิภาพในการแพร่เชื้อของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หากไวรัสมีประสิทธิภาพปานกลาง และมาตรการป้องกันของทุกประเทศทำอย่างเข้มแข็งก็มีความเป็นไปได้ที่การระบาดใหญ่ทั่วโลกจะไม่เกิดขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากไวรัสมีประสิทธิภาพสูงมาก และแม้มาตรการจะดำเนินการเต็มที่ก็มีโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดที่ควบคุมไม่ทันในประเทศอื่น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกก็จะสูงมาก

หากสถานการณ์เป็นไปในทางเลวร้าย คือ แต่ละประเทศหยุดยั้งการระบาดที่เข้ามาจากภายนอกไม่ได้ทัน และเกิดการะบาดในวงกว้างขึ้นในชาติต่างๆ หรือเกิดการะบาดใหญ่ทั่วโลกขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญอันดับถัดมาก็คือความรุนแรงของโรค ดังที่ได้กล่าวข้างต้นว่าข้อมูลเบื้องต้นในประเทศเม็กซิโกระบุว่ามีอัตราตายประมาณ 6% ซึ่งหากเป็นจริงและเกิดความรุนแรงของโรคระดับเดียวกันในการระบาดใหญ่ทั่วโลก จะถือว่าเป็นการระบาดใหญ่ที่มีความรุนแรงมาก จะมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และมีผลกระทบรุนแรงต่อทุกภาคส่วน



ความรุนแรงของโรค

อย่างไรก็ตาม โอกาสที่โรคจะมีความรุนแรงในระดับนั้นน่าจะมีน้อยมาก ด้วยเหตุผลหลายประการ กล่าวคือ ผู้ป่วยที่รายงานในประเทศต่างๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง การที่ประเทศเม็กซิโกรายงานอัตราตายสูงอาจเนื่องจากตรวจพบและรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโดยรวมต่ำกว่าความเป็นจริง คือ ไม่ได้ตรวจพบและรายงานกลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อย ทำให้พบและรายงานเฉพาะรายที่อาการรุนแรงซึ่งเป็นส่วนน้อย

หรืออาจเป็นไปได้ว่าไวรัสที่ระบาดในเม็กซิโกและที่แพร่ออกสู่ประเทศอื่นๆ มีความแตกต่างกัน โดยทฤษฎีแล้วก็มีความเป็นได้พอสมควร เนื่องจากในกลุ่มไวรัสสายพันธุ์ใหม่อาจมีสายพันธุ์ย่อยที่มีความรุนแรงต่างกัน ผู้ติดเชื้อด้วยเชื้อชนิดที่รุนแรงมากจะป่วยหนักอย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสน้อยที่จะออกเดินทางไปยังประเทศอื่น

ในทางตรงข้าม ผู้ที่ติดเชื้อด้วยไวรัสที่ทำให้อาการอ่อนหรือไม่มีอาการ จะมีโอกาสที่จะเดินทางได้มากกว่า

เมื่อเชื้อแพร่ระบาดออกไปเรื่อยๆ จึงมีแนวโน้มที่จะคัดเลือกให้ได้ไวรัสที่แพร่เชื้อได้ดี แต่ก่อโรคไม่รุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่เคยมีรายงานในการระบาดใหญ่ทั่วโลกที่มีมาก่อนหน้า



"ไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่" และ "ไข้หวัดหมู" (Swine Influenza) เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A ในคน, ไข้หวัดหมู และไข้หวัดนก รวมทั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A ที่พบในสัตว์อีกหลายชนิด ล้วนเป็นไวรัสที่มีความใกล้ชิดกัน และเชื่อว่ามีบรรพบุรุษร่วมกันจากไวรัสที่พบใน "นกน้ำ"

ไวรัสเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วติดเชื้ออยู่ในสัตว์ชนิดเดียว แต่ก็พบมีการติดเชื้อข้ามไปยังสัตว์ชนิดอื่นได้เป็นครั้งคราว มีรายงานการติดเชื้อไข้หวัดหมูในคนเป็นครั้งคราวในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ โดยคนติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับหมูที่ป่วย ซึ่งอาการป่วยในหมูมักไม่รุนแรง

การติดเชื้อไข้หวัดหมูในคนที่มีการรายงานก็ไม่ได้มีการติดเชื้อต่อจากคนไปคน โรคไข้หวัดหมูในคนจึงไม่ได้เป็นปัญหามากนัก

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการมีความกังวลกันว่าไวรัสไข้หวัดหมูอาจเป็นต้นกำเนิดของไวรัสที่สามารถติดเชื้อจากคนไปคนได้ดี และจะทำให้เกิดการระบาดใหญ่ เช่นเดียวกับความกังวลที่เกิดขั้นกับไข้หวัดนก มีความแตกต่างที่ชัดเจนอยู่ระหว่างไข้หวัดหมูและไข้หวัดนกในสัตว์ ก็คือ การระบาดของไข้หวัดหมูในประชากรหมูมีความรุนแรงน้อยกว่าการระบาดของไข้หวัดนกในสัตว์ปีก ทั้งในขอบเขตของการระบาด และความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้นกับหมู

ไวรัสไข้หวัดหมูสามารถพบได้ในทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้ง "ประเทศไทย" และมีหลายสายพันธุ์ ได้แก่ เอช1เอ็น1 (H1N1), เอช1เอ็น2 (H1N2), และเอช3เอ็น2 (H3N2)



เกิดจาก"ไวรัสลูกผสม"

ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดที่เม็กซิโกเป็นไวรัสสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบที่ใดมาก่อน และถึงแม้ว่าจะเป็นไวรัสชนิด H1N1 และลักษณะทางพันธุกรรมของไวรัสแตกต่างไปจากไวรัสไข้หวัดหมู H1N1 และไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่แพร่ระบาดทั่วไปในคน (seasonal influenza virus)

สิ่งที่ทำให้เรียกชื่อไวรัสชนิดนี้เป็นไข้หวัดหมู เพราะรหัสพันธุกรรมของไวรัสหลายส่วน โดยเฉพาะยีน H1 และ N1 พบว่าคล้ายกับไวรัสไข้หวัดหมู จึงน่าจะมีที่มาจากไวรัสไข้หวัดหมู โดยพบว่า ยีน H1 คล้ายกับไวรัสไข้หวัดหมูที่แพร่ระบาดอยู่ในหมูในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ส่วนยีน N1 นั้นพบว่าน่าจะมาจากไวรัสไข้หวัดหมูที่ระบาดอยู่ในทวีปเอเชียและยุโรป

ส่วนยีนอื่นๆ น่าจะมีที่มาแตกต่างกันจากหลายแหล่ง ซึ่งรวมถึงไวรัสไข้หวัดหมูและอาจมีจากไวรัสของสัตว์อื่นด้วยซึ่งยังไม่เป็นที่ชัดเจน ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้จึงเป็น "ไวรัสลูกผสม" จากไวรัสหลายชนิด ซึ่งยังไม่ทราบว่าต้นกำเนิดของการผสมสายพันธุ์ของไวรัสนี้เกิดขึ้นในสัตว์หรือคน แต่เนื่องจากยังไม่พบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ระบาดในสัตว์ชนิดใด จึงตั้งสมมุติฐานเบื้องต้นว่าไวรัสที่อาจจะ "เกิดขึ้นในคน" และได้ปรับตัวมาให้เหมาะสมกับการติดเชื้อและระบาดในคน



ไข้หวัดหมูในเมืองไทย

"ไวรัสไข้หวัดหมู" ในประเทศไทย เป็นสายพันธุ์เดียวกับที่พบส่วนใหญ่ในทวีปเอเชียและยุโรป มีการติดเชื้อในหมูและเกิดการระบาดขนาดเล็กขึ้นเป็นครั้งคราว แต่เป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างจากไวรัสไข้หวัดหมูที่พบในหมูในสหรัฐอเมริกา และแตกต่างจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดในเม็กซิโก แต่มีบางชิ้นส่วนของรหัสพันธุกรรม ได้แก่ยีน N1 และยีน M ของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดที่เม็กซิโกที่อาจจะมีที่มาจากไวรัสไข้หวัดหมูสายพันธุ์เอเชีย/ยุโรป จึงเป็นส่วนที่จะมีความคล้ายกับไวรัสไข้หวัดหมูในประเทศไทย

ความคล้ายกันดังกล่าวไม่ได้ทำให้ไวรัสไข้หวัดหมูในประเทศไทยมีความเป็นอันตรายมากขึ้นแต่อย่างใด เพราะการจะติดเชื้อมาคนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีส่วนผสมของพันธุกรรมหลายๆส่วนที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนของยีน H1 ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก

ไวรัสไข้หวัดหมูในประเทศไทยจึงยังไม่มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการติดเชื้อในคน และไม่เกี่ยวข้องกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่



ข้อปฏิบัติประชาชนทั่วไป

ในระยะที่ยังไม่พบโรคในประเทศ เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือการที่จะพบผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศได้ทันเวลาที่จะป้องกันไม่ให้มีการแพร่เชื้อต่อไปได้

มาตรการของภาครัฐที่จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน คือ การรายงานผู้ที่มีอาการไข้หวัด ซึ่งได้แก่ไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ มีน้ำมูก และเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด หรือมีผู้ป่วยหลายคนที่ใกล้ชิดกันและมีอาการคล้ายๆกัน

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้หรือไม่โดยเร็ว เพื่อควบคุมการแพร่เชื้ออย่างได้ผล หากตัวท่านหรือท่านพบเห็นผู้ที่เข้าข่ายดังกล่าวจะต้องรีบพบแพทย์โดยเร็ว

ในการปฏิบัติตัวทั่วไปหากเกิดการระบาดขึ้นในระดับใดก็ตาม ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีคนอยู่จำนวนมาก การล้างมือบ่อยๆ การไม่เอามือขยี้ตา หรือเอามือเข้าปากจมูก และหากมีอาการหวัด ไอ จามให้อยู่กับบ้านและใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น หรือในกรณีที่ต้องเข้าไปอยู่ในที่ชุมชนในพื้นที่ที่เกิดการระบาดการใช้หน้ากากอนามัยก็มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ



ข้อมูล : สมาคมไวรัสวิทยา(ประเทศไทย)


หน้า 21
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEExTURVMU1nPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOUzB3TlE9PQ==


Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน