บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ท่องสวนป่าทองผาภูมิ ดูผลงานความร่วมใจของชุมชนห้วยเขย่ง

Pic_9412

อีกบรรยากาศยามเย็น ของผืน (สวน) ป่า.

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ "ห้วยเขย่ง" มาบ้าง  จากโฆษณาสร้างภาพลักษณ์ของ ปตท.ที่ไปฟื้นฟูธรรมชาติ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า "ห้วยเขย่ง" ที่เห็นในหนังโฆษณานั้น เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอทองผาภูมิ  จ.กาญจนบุรี อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ

ความเป็นมาของชุมชนห้วยเขย่ง จากชาวบ้านที่เคยอยู่ในพื้นที่ลุ่ม  ปัจจุบันกลับกลายมาเป็นคนพื้นที่สูง  เพราะบริเวณที่เคยอยู่กลายเป็นพื้นที่น้ำท่วมจากการก่อสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) ชีวิตชาวบ้านห้วยเขย่งจากที่เคยทำนาหาปลา ก็ต้องย้าย ถิ่นฐานมาอยู่บริเวณเชิงเขาหินปูน  ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเสื่อม โทรมและแห้งแล้ง ซึ่งเมื่อชาวบ้านห้วยเขย่งใช้เงินที่ได้รับชดเชยค่าที่ดินไปจนหมด ความยากจนก็กลับมาเยือน  หลายครอบครัวต้องขายที่ดินที่ได้รับมาใหม่ แล้วหันมามีอาชีพรับจ้างทำไร่และหาของป่าขายเป็นรายได้ยังชีพ

กระทั่ง พ.ศ. 2541 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-สหภาพ พม่า ผ่านพื้นที่ป่าและชุมชนห้วยเขย่ง จึงมีโครงการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้แก่ ชุมชนและฟื้นฟูดูแลอนุรักษ์พื้นที่ป่าทองผาภูมิ

แป๊บเดียว 10 ปีผ่านไป วันนี้ที่ชาวห้วยเขย่งได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิโครงการหลวง  ผ่านสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาดำเนินการตั้งเป็นโครงการขยายผลโครงการหลวงห้วยเขย่ง ด้วยเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือให้คนในชุมชนมีรายได้เพียงพอ ชุมชนเข้มแข็งมีสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน ตามกรอบทำงานที่ดึงพลัง 3 ด้านของการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน คือการสร้างรายได้ การสร้างสิ่งแวดล้อมและการสร้างความมั่นคงทางสังคม  กระทั่งมาถึงวันที่มีความพร้อมก้าวย่างไปได้ ด้วยตัวเอง



โบสถ์วัดท่ามะเดื่อที่จุดเด่นอยู่ตรงเสาทั้งสี่ ใหญ่ขนาดสองคนโอบ.

จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านกับการมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง เมื่อพบว่าในพื้นที่มีทรัพ-ยากรทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสมแก่การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ พวกเขาก็พร้อมแล้วที่จะเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวที่นิยมท่องไพรแบบขาลุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าฝนพรำอย่างนี้ เพราะที่นี่มีทั้งกิจกรรมจากคนเป็นผู้จัดทำ เช่น การล่อง-แก่ง เข้าสวนชิมผลไม้ หรือการเข้าสัมผัสกับธรรมชาติของผืน (สวน) ป่าทองผาภูมิ ที่อยู่ในการดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ซึ่งตลอดเส้นทางมีที่พักแบบรีสอร์ต โฮมสเตย์ของเอกชน หรือจะกางเต็นท์นอนในหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาแหลม ก็มีให้เลือกตามอัธยาศัย  แล้วตื่นเช้าแวะไปทำบุญไหว้พระดูโบสถ์หลังใหม่ของวัดท่ามะเดื่อ  ที่โดดเด่นกับเสาไม้ค้ำทั้ง  4 ที่เชื่อว่าหาไม่ได้ง่ายแล้วในตอนนี้

จากนั้นค่อยเดินทางเข้าสู่ภายในสวนป่า (ปลูก) ที่ อ.อ.ป.เน้นปลูกไม้สักทองกับยางพารา บนเนื้อที่นับหมื่นไร่ใน ต.ห้วยเขย่ง แห่งนี้ มีความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติซุกซ่อนอยู่มากมาย ทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของปูสามสี หรือปูราชินี ที่มักจะขึ้นมาอวดโฉมให้เห็นได้ก็ยามหน้าฝนมาเยือน หรือจะเข้าชมถ้ำ 28 ที่นอกจากหินงอกหินย้อยแล้วยังเป็นที่อยู่ของค้างคาวคุณกิตติสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุดในโลก ต่อด้วยป่าพรุน้ำจืดที่โดดเด่นของห้วยเขย่ง คือเส้นทางศึกษาธรรมชาติพรุหนองปลิง ที่อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้และกล้วยไม้หลากชนิด เดินตามไปสะพานไม้ที่ทอดยาวเป็นระยะทางราว 400 เมตร  ซึ่งสะพานไม้นี้เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านโดยแท้และก็มีเรื่องเล่าจากไกด์ท้องถิ่นว่า แต่ก่อนพรุหนองปลิงแห่งนี้เคยมีปลิงอยู่มากมาย กลายเป็นอุปสรรคสาหัสในการทำสะพาน แต่ไม่รู้ใครเป็นคนต้นคิด ใช้เปลือกทุเรียนโยนลงไปในบึงน้ำ ไม่นานนักปลิงหายเกลี้ยง


สองข้างทางคือสวนยางที่ อ.อ.ป.ปลูก  พิสูจน์ได้แล้วว่าที่ไหนก็ปลูกยางพาราได้.

เดินชมป่าพรุดูปูราชินีเรื่อยไปจนถึงถ้ำ   28 ด้วยเวลาที่จำกัด ทั้งที่ในผืนป่าแห่งห้วยเขย่ง ยังมี บึงน้ำทิพย์  ต้นไม้ยักษ์ ฟอสซิลหอย 280 ล้านปี โป่งพุร้อน น้ำตกสายรุ้งและการนั่งห้างดูช้าง ให้เลือกเที่ยวสารพัด หากมีเวลามากพอ เพราะแต่ละจุดต้องใช้เวลากับความอึดพอสมควรในการเดินทาง เช่น ต้นไม้ยักษ์ จากปากของเจ้าหน้าที่ อ.อ.ป. บอกว่าต้องจอดรถไว้ที่ราบ แล้วเดินต่อไปอีกราว 45 นาที!

คิดเอาเองแล้วกันว่าน่าจะไกลขนาดไหน ยิ่งฝนตก  ถนนที่เป็นทางลูกรังยิ่งเละ  ดังนั้น ต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อถึงเอาอยู่ แต่ถ้าจะเดินทางมารถยนต์ ธรรมดาก็พอไหว จากเมืองกรุงมุ่งหน้ามาทางราชบุรี เข้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 323 จากเมืองกาญจน์ผ่านอำเภอไทรโยค สู่ อ.ทอง-ผาภูมิ จากนั้นเดินทางต่อโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3273 (ทองผาภูมิ-บ้านอีต่อง) ผ่านเขื่อนเขาแหลม ไปประมาณ 20 กม.มีป้ายบอกทางอยู่ขวามือ เลี้ยวเข้าไปราว 500 เมตร ก็ถึงที่ทำการ รวมระยะทางราว 289 กม.

หรือจะแวะเข้าไปที่ อบต.ห้วยเขย่ง ก่อนเพราะตั้งเด่นอยู่ริมทางก็ได้ เพราะไหนๆ คุณชัชชัย อุดม-สถาผล นายก  อบต.ห้วยเขย่ง ก็แอบกระซิบด้วยน้ำเสียงเจือน้อยใจว่า ที่ผ่านมา ที่นี่เหมือนแค่ทางผ่าน เพราะใครๆ ก็จะเลยไปบ้านอีต่องไปปิล๊อกกันหมด....ทั้งที่ "ห้วยเขย่ง" มีของดีรอมาให้ชมตั้งมากมาย  เพียงแต่ที่ผ่านมาเหมือนผืนป่าบังตาซะงั้นแหละ.


หมอกยามเช้าที่ห้วยเขย่ง แต่แปลกอากาศไม่ยักเย็นอย่างที่คิด.


"ปูราชินี" ดาวเด่นของป่าทองผาภูมิ ที่ใครมาก็อยากได้รูป.



หินงอกหินย้อยในถ้ำ 28 ที่มีค้างคาวคุณกิตติเป็นตัวชูโรง.


ทางเดินชมธรรมชาติของพรุหนองปลิง ที่ชาวห้วยเขย่งภูมิใจนำเสนอ เพราะเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชน.
 
http://www.thairath.co.th/content/life/9412



check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน