บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เพาะพันธุ์นกกระเรียนไทยครบตัวที่ 100

วันที่ 17 พฤษภาคม 2552 เวลา 00:00 น.
 
เพาะพันธุ์นกกระเรียนไทยครบตัวที่ 100
สวนสัตว์เตรียมปล่อยสู่ธรรมชาติ

50 ปีมาแล้วที่คนไทยไม่มีโอกาสพบนกกระเรียนไทยตามพื้นที่ธรรมชาติ ทุ่งนา คลอง หนองบึง ผล จากการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงในการทำนาและทำเกษตรกรรม ทำให้มีสารพิษตกค้างในพื้นที่อยู่อาศัยได้แก่พื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าพรุ ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร สารพิษส่งผลให้ไข่ของนก กระเรียนเปราะบางไม่สามารถฟักตัวออกมาได้ ตลอดจนการล่าและรบกวนนกจึงสูญพันธุ์ไป ต่างกับแนวชายแดนในประเทศเพื่อนบ้าน ในเขมรและพม่ายังพบนกกระเรียนไทยบินเป็นฝูงในสภาพธรรมชาติ เพราะพื้นที่แถบนี้ยังทำเกษตรกรรมแบบไม่พึ่งพาสารเคมี

ประเทศไทยพบนกครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2511 มีผู้พบลูกนกกระเรียน 2 ตัวในเขตติดต่อชายแดนเขมร จ.สุรินทร์ หนึ่งชาวบ้านนำไปเลี้ยงไว้จนอายุ 16 ปี และตายลงในวันที่ 17 ต.ค. 2527 หลังจากนั้นไม่มีผู้พบนกกระเรียนในธรรมชาติของประเทศไทยอีกเลย

นกกระเรียนพันธุ์ไทยจัดเป็นนกน้ำขนาดใหญ่มาก มีน้ำหนักตัวประมาณ 5-12 กิโลกรัม นกกระเรียนพันธุ์ไทยมีลักษณะเหมือนกับนกกระเรียนพันธุ์อินเดียและนกกระเรียนพันธุ์ออสเตรเลียมาก แตกต่างกันตรงที่นกกระเรียนพันธุ์ไทยมีขนาดตัวเล็กกว่าสายพันธุ์อินเดีย แต่ใหญ่กว่าสายพันธุ์ออสเตรเลีย และมีส่วนที่โดดเด่นตั้งแต่ส่วนหัว แก้ม ลำคอส่วนบนมีสีส้มสดจนถึงแดงเข้ม ทั้งเพศผู้เพศเมียคล้ายกันแต่เพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า

นกกระเรียนพันธุ์ไทยเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์เมื่อมีอายุ 2-3 ปีขึ้นไป และเป็นการจับคู่แบบผัวเดียว เมียเดียว ฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่ มิ.ย.-ก.ย. ลักษณะการเกี้ยวพาราสีของนกกระเรียนจะมีลักษณะพิเศษและสวยงาม ตัวผู้และตัวเมียจะเปล่งเสียงร้องประสานกัน ตัวผู้จะร้องเสียงยาวระดับต่ำ ขณะร้องจะยืดคอ และเงยปากสูงขึ้น กางปีก และยกสูงขึ้นเหนือระดับหลัง ส่วนตัวเมียจะยืนข้างตัวผู้ หุบปีก เงยปากไปด้านหน้า และเปล่งเสียงร้องสั้น ๆ 2-3 ครั้ง ประสานเสียงกับตัวผู้

จากผลการสำรวจนกกระเรียนพันธุ์ไทยทั่วโลกเมื่อปี 2533 พบว่าเหลืออยู่ประมาณพันกว่าตัวเท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยจำนวนนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่เหลืออยู่มีเพียงในกรงเลี้ยงของทางองค์การสวนสัตว์ และสถานีเพาะเลี้ยงของทางกรมอุทยานเท่านั้น ดังนั้นนกกระเรียนจึงจัดเป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิดของประเทศไทยตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

ขณะนี้ สวนสัตว์นครราชสีมาจัดเป็นสถานที่เพาะขยายพันธุ์นกกระเรียนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยโดยได้รับบริจาคจากประชาชนในบริเวณชายแดนไทยลาว เขมร ระหว่างปีพ.ศ. 2532-2540 จำนวน 33 ตัว และได้ย้ายไปยังสวนสัตว์อื่น ๆจำนวน 7 ตัว คงเหลืออยู่ในสวนสัตว์นครราชสีมาทั้งหมด 26 ตัว โดยได้เริ่มขยายพันธุ์ทั้งแบบธรรมชาติและการผสมเทียม มาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน

ดร.โสภณ ดำนุ้ย ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ กล่าวว่า การขายพันธุ์นกกระเรียน ได้รับการยอมรับจากมูลนิธินกกระเรียนสากล (Internation Crane Foundation) รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกาว่าเป็นศูนย์การเพาะเลี้ยงนกกระเรียนสายพันธุ์ไทยของโลก ปัจจุบันสวนสัตว์นครราชสีมามีนกกระเรียนพันธุ์ไทยทั้งหมด 99 ตัว และมีพ่อแม่พันธุ์ที่เพิ่งจะทำรังวางไข่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 3 คู่ จึงเตรียมการฉลองต้อนรับการเกิดของลูกนกกระเรียนตัวที่ 100 ในต้นเดือน มิ.ย. นี้

นอกจากทางสวนสัตว์เปิดเขาเขียว และสถานีเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ จ.ชลบุรี ยังสามารถขยายพันธุ์นกกระเรียนได้ไม่ต่ำกว่า 50 ตัว คาดว่าในอนาคตประชากรนกกระเรียนในกรงเลี้ยงของประเทศไทยคงมีไม่ต่ำกว่า 150 ตัว และมีแนวโน้มประชากรจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีความพร้อมในการทดลองปล่อยนกคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำของไทยเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าสงวนของไทยไม่ให้สูญพันธุ์ไปอย่างถาวร

ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์กล่าวต่อว่า จากศักยภาพในการขยายพันธุ์ดังกล่าว จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำนกกระเรียนคืนสู่ธรรมชาติ ทางองค์การสวนสัตว์จึงได้จัดทำเสนอโครงการวิจัยเพื่อปล่อยนกกระเรียนไทยคืนสู่ธรรมชาติ เสนอต่อคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยได้รับงบประมาณจำนวน 11.294 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ ต.ค. พ.ศ. 2551-2556

"ในเบื้องต้นให้ทีมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำรวจวิจัยแหล่งพื้นที่ชุ่มน้ำในการปล่อย นกกระเรียน โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมาย 6 แห่ง อาทิ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบึงโขงหลง จ.หนองคาย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จ.เชียงราย เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ห้วยตลาดและห้วยจระเข้มาก จ.บุรีรัมย์ มั่นใจว่า 80 เปอร์เซ็นต์นกจะสามารถรอดอยู่ในธรรมชาติได้ เพราะมีการศึกษาพื้นที่ และปรับพฤติ กรรมของนกก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ ก่อนหน้านี้เคยมีการปล่อยนกในปี 2533 จำนวน 6 ตัว ในพื้นที่ทุ่งกระมัง จ.ชล บุรี แต่นกตายหมด เพราะขาดประสบ การณ์" ผู้อำ นวยการองค์การสวนสัตว์บอกเล่า

คาดว่าในปี พ.ศ. 2553 จะเริ่มปล่อยนกได้ โดยในปีนี้จะทำการสำรวจพื้นที่ก่อน วิธีการปล่อยนกกระเรียนครั้งนี้ ได้เตรียมความพร้อมและให้ความสำคัญตั้งแต่การฝึกลูกนกโดยวิธี islation-rearing technique โดยการใช้หุ่นมือที่มีรูปร่างเหมือนนกกระเรียนตัวเต็มวัยทำหน้าที่ป้อนอาหารให้ลูกนกจนโตโดยไม่เห็นว่าเป็นมนุษย์ เพื่อไม่เห็นเกิดพฤติกรรมเห็นมนุษย์เป็นพ่อแม่ เทคนิคนี้ได้รับการพัฒนาโดย Internation Carne Foundation (ICF) รัฐวิสคอนซินประเทศสหรัฐอเมริกา และประสบความสำเร็จในการเลี้ยงนกกระเรียนในหลายสปีชีส์

นอกเหนือจากนกกระเรียนแล้วในอนาคตองค์การสวนสัตว์มีความพยายามจะขยายพันธุ์นกน้ำสายพันธุ์อื่นที่สูญพันธุ์ไปเช่น นกกาบบัว นกตะกรุม นกตะกราม ซึ่งชนิดหลังเหลืออยู่ตัวเดียวในสวนสัตว์ จึงมีความต้องการนกตัวเมียเพื่อมาขยายพันธุ์เป็นอย่างมาก จึงฝากบอกใครที่พบนกตะกรามขอให้แจ้งมาทางองค์การสวนสัตว์

โครงการปล่อยนกกระเรียนไทยคืนสู่ธรรมชาติเป็นเรื่องท้าทายและช่วยยกสถานภาพของนกกระเรียนไทยให้กลับมาบินอยู่ภายใต้ฟ้าอาณาเขตของประเทศไทย ในเร็ว ๆ นี้.
 


Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน