บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ลำดับโครงการ"ให้เช่าที่ดิน" สรุป 5 ปีรับสิทธิแล้ว 4 หมื่นครัว

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11404 มติชนรายวัน


ลำดับโครงการ"ให้เช่าที่ดิน" สรุป 5 ปีรับสิทธิแล้ว 4 หมื่นครัว





หมายเหตุ : เป็นคำชี้แจงความเป็นมาของการดำเนินโครงการตามนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน ในแผนปฏิบัติการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ กรณีมีการบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งคณะทำงานของนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กำกับดูแลกรมที่ดิน จัดทำขึ้นเพื่อชี้แจงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ภายหลังจากนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ประธานที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย ออกมาทักท้วงโครงการดังกล่าวและให้ชะลอออกไป จนถูกมองว่าเป็นความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล

1.ความเป็นมาของโครงการ

กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมที่ดินดำเนินการจัดที่ดินทำกินและอยู่อาศัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547-2550 มีเป้าหมายดำเนินการจำนวน 2,500 แปลง, 9,200 แปลง, 9,200 แปลง และ 9,100 แปลงตามลำดับ รวม 30,000 แปลง และในปี พ.ศ.2551-2552 กำหนดเป้าหมายการดำเนินการจำนวน 9,100 แปลง กรมที่ดินได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ กรณีมีการบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยคัดเลือกแปลงที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนเลิกใช้ประโยชน์ร่วมกัน และมีผู้บุกรุกเต็มแปลงหรือบางส่วน ซึ่งผู้บุกรุกดังกล่าวต้องเป็นผู้ยากจนไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีน้อยแต่ไม่เพียงพอ และยอมรับการดำเนินการตามนโยบายแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ และได้ลงทะเบียนแสดงความประสงค์ขอที่ดินทำกินไว้ต่อทางราชการแล้วมาดำเนินการจัดที่ดินให้ตามสภาพเดิมที่ครอบครองอยู่ ครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ พร้อมทั้งออกหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ และเสียค่าตอบแทน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ.2547 ลงนามโดยนายโภคิน พลกุล รมว.มหาดไทยในขณะนั้น

2.แนวทางการดำเนินงาน

กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมที่ดินรับผิดชอบดำเนินการตามแผนปฏิบัติการบริหารจัดการที่ดินของรัฐกรณีมีการบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยให้จังหวัดเป็นผู้จัดส่งโครงการให้กรมที่ดินตรวจสอบ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินจากกรมที่ดินสำหรับค่าใช้จ่ายในการรังวัดตรวจสอบหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.) ค่าใช้จ่ายในการรังวัดวางผังแปลงที่ดินและการจัดทำสาธารณูปโภค ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

2.1 คัดเลือกแปลงที่ดินสาธารณประโยชน์ที่มีหลักฐาน นสล.หรือยังไม่มีหลักฐาน นสล. แต่สามารถดำเนินการออก นสล.ไปในคราวเดียวกันที่ประชาชนเลิกใช้ประโยชน์ร่วมกัน และมีผู้บุกรุกเต็มแปลงหรือบางส่วน โดยให้อำเภอ/กิ่งอำเภอจัดทำโครงการจัดที่ดินเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาอนุมัติ

2.2 ผู้บุกรุกดังกล่าวต้องเป็นผู้ยากจนไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีแต่น้อยไม่เพียงพอ

2.3 ผู้บุกรุกต้องยอมรับการดำเนินการตามนโยบายการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ และได้ลงทะเบียนแสดงความประสงค์ขอที่ดินทำกินไว้ต่อทางราชการแล้ว

2.4 ให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ ตรวจสอบคุณสมบัติผู้บุกรุกว่าเป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์และจัดทำประชาคม เพื่อตรวจสอบว่าบุคคลดังกล่าวยากจนและไม่มีที่ดินทำกินหรือมีแต่ไม่เพียงพอ

2.5 ดำเนินการจัดที่ดินให้ตามสภาพเดิมที่ครอบครองอยู่ (ไม่เกินครอบครัวละ 15 ไร่) โดยพิจารณาจากจำนวนสมาชิกในครอบครัว อาชีพ ความสามารถในการผลิตของครัวเรือน

2.6 ออกหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ และเสียค่าตอบแทนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในอัตราไร่ละไม่เกิน 1,000 บาท (โดยส่วนใหญ่ อปท.ได้กำหนดไร่ละ 10, 20 หรือ 100 บาท/ไร่/ปี)

2.7 หนังสืออนุญาตคราวละ 5 ปี และต่ออายุการอนุญาตได้

2.8 กรณีผู้ได้รับอนุญาตถึงแก่กรรม ให้ทายาทโดยธรรมมีสิทธิที่จะขอใช้ที่ดินนั้นก่อนบุคคลอื่น โดยให้แจ้งความประสงค์ภายใน 90 วัน นับแต่ผู้รับอนุญาตถึงแก่กรรม

ระหว่างปีงบประมาณ 2547-2551 ให้สิทธิเช่าแล้ว 42,240 ครัวเรือน จำนวน 51,225 แปลง แยกเป็น

ปี 2547 จัดที่ดินในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท นครราชสีมา นครสวรรค์ ปัตตานี พิษณุโลก ยะลา ร้อยเอ็ด สงขลา สุพรรณบุรี และสุรินทร์ จัดได้ 3,268 ครัวเรือน จำนวน 3,829 แปลง

ปี 2548 จัดที่ดินในพื้นที่ 27 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ เชียงราย ตรัง นครปฐม นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นราธิวาส พะเยา พิจิตร พัทลุง พิษณุโลก ร้อยเอ็ด ราชบุรี ลพบุรี ลำพูน ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี และมหาสารคาม จัดได้ 10,118 ครัวเรือน จำนวน 12,155 แปลง

ปี 2549 จัดที่ดินในพื้นที่ 27 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เชียงราย ชัยภูมิ ชุมพร ตาก นครพนม นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ปัตตานี แพร่ พิจิตร พิษณุโลก มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ลำพูน ลพบุรี ศรีสะเกษ สงขลา สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์-หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี อุทัยธานี และอุตรดิตถ์ จัดได้ 10,521 ครัวเรือน จำนวน 13,280 แปลง

ปีงบประมาณ 2550 จัดที่ดินในพื้นที่ 24 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น จันทบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ราชบุรี ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ แม่ฮ่องสอน สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ สุโขทัย สงขลา อุดรธานี อุตรดิตถ์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จัดได้ 10,166 ครัวเรือน จำนวน 12,075 แปลง

ปี 2551 จัดที่ดินในพื้นที่ 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ร้อยเอ็ด ราชบุรี เลย สงขลา สุรินทร์ ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุดรธานี อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุทัยธานี จัดได้ 8,157 ครัวเรือน จำนวน 9,886 แปลง

ปี 2552 ขณะนี้มีจังหวัดจัดส่งโครงการให้กรมที่ดินพิจารณา รวม 27 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ขอนแก่น ชัยนาท เชียงราย เชียงใหม่ ชุมพร นครปฐม นครศรีธรรมราช นครราชสีมา น่าน บุรีรัมย์ พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สงขลา สุโขทัย สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุบลราชธานี

ขณะนี้กรมที่ดินได้อนุมัติโครงการจำนวน 6,448 แปลง อยู่ระหว่างเสนอกรมที่ดินพิจารณา 1,040 แปลง คาดว่าจะจัดส่งโครงการให้กรมที่ดินพิจารณาอีก 2,256 แปลง ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด เลย และศรีสะเกษ คาดว่าในปีงบประมาณ 2552 จะดำเนินการจัดที่ดินให้แก่ราษฎรได้ทั้งสิ้น 9,744 แปลง

3.ปัญหา-อุปสรรค

3.1 ราษฎรผู้ยากจน กลุ่มเป้าหมายที่รัฐจะแก้ไขปัญหาให้ เรียกร้องจะขอรับแต่เอกสารสิทธิในที่ดินเท่านั้น ทั้งๆ ที่ยอมรับในเบื้องต้นแล้วว่าเข้าอยู่อาศัยในที่สาธารณประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องทำความเข้าใจกับราษฎรเหล่านี้ให้ยอมรับการดำเนินการจัดที่ดินตามโครงการดังกล่าว

3.2 ราษฎรผู้ยากจนที่ต้องการได้ที่ดินทำกินมีจำนวนมาก แต่ทรัพยากรที่จะนำมาดำเนินการมีจำนวนจำกัด ต้องนำมาใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ไว้เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันในอนาคตด้วย ประกอบกับแปลงที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ดำเนินการอยู่อย่างกระจัดกระจายบางแปลงมีแนวเขตไม่ชัดเจน

3.3 โครงการนี้เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน จำเป็นต้องเน้นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลสำเร็จของโครงการ และประโยชน์แก่ราษฎรผู้ยากจน

3.4 การดำเนินการจัดที่ดินดำเนินการในพื้นที่ที่มีการบุกรุก การดำเนินการรังวัดแบ่งแปลงและการจัดทำสาธารณูปโภคต้องได้รับความยินยอมจากผู้บุกรุกด้วย

3.5 ในการดำเนินการจัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ในช่วงไตรมาสที่ 1 และที่ 2 เป็นระยะเวลาเริ่มต้นโครงการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ที่มีการบุกรุกเพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท โดยอำเภอ/กิ่งอำเภอ จะดำเนินการสำรวจและคัดเลือกแปลงที่ดินซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากราษฎรในพื้นที่ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อได้รับความเห็นชอบจึงเสนอโครงการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติ จากนั้นจึงส่งเรื่องให้กรมที่ดินพิจารณาและจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดดำเนินการ โดยให้สำนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา เป็นหน่วยงานสนับสนุนในการรังวัดและจัดทำข้อมูลรายแปลง สำหรับผลการดำเนินการจะนับเมื่อสำนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา ได้ดำเนินการรังวัดวางผังแบ่งแปลงและส่งผลการรังวัดให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ ดำเนินการต่อไป โดยในขั้นตอนการดำเนินการรังวัดบางพื้นที่เกิดปัญหาอุปสรรค เนื่องจากสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีฝนตกซุก ซึ่งในภาพรวมทั้งหมด งานดังกล่าวจะดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมายภายในไตรมาสที่ 3 และที่ 4 ของปีงบประมาณ

4.แนวทางการแก้ไข

การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาชนบท ควรให้ผู้ปกครองท้องที่ในพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ราษฎรได้รับทราบว่าทางราชการไม่สามารถออกเอกสารสิทธิให้แก่ผู้ที่อยู่ในที่สาธารณประโยชน์ได้อย่างแน่นอน แต่การเข้าร่วมโครงการราษฎรจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้อยู่ในที่สาธารณประโยชน์ โดยทางราชการออกหนังสืออนุญาตให้เป็นหลักฐาน และจะดำเนินการในที่ที่มีการบุกรุกแล้วเท่านั้น และจำกัดเนื้อที่ซึ่งอนุญาตครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ หากถือครองเนื้อที่เกินจะต้องยอมคืนเพื่อนำไปจัดให้กับครอบครัวอื่น โดยจะไม่นำที่สาธารณประโยชน์ที่ไม่มีการบุกรุกมาดำเนินการแต่อย่างใด

5.แนวทางการเสริมสร้างความเป็นอยู่ของประชาชนในโครงการ

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นชอบให้มีการบูรณาการร่วมกันอย่างจริงจังของทุกหน่วยงานไม่ว่าจะอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแจ้งให้หน่วยงานดังกล่าวให้การสนับสนุนโครงการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ที่มีการบุกรุก เพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท และพิจารณาจัดทำโครงการสนับสนุนให้มีการต่อยอดโครงการ

เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินไปแล้วสามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินได้จริงและใช้ที่ดินได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

หน้า 2
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0103310552&sectionid=0101&day=2009-05-31

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน