วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4102
"ดร.กนก" เดินสาย ฟื้นเชื่อมั่น "ต้นกล้าอาชีพ" "แสนรายรอด 2 หมื่นก็ดีแล้ว"
![]() |
ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการการบริหารโครงการต้นกล้าอาชีพยอมรับว่า โครงการนี้ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขทั้งใน เชิงระบบและในส่วนสำคัญๆ หลายส่วน ซึ่งได้ดำเนินการปรับแก้ไปแล้วก่อนการอบรมผู้ฝึกอาชีพรุ่นที่ 2 ทั้งเรื่องการ ยุบรวมหลักสูตรต่างๆ จาก 900 หลักสูตรให้เหลือประมาณ 400 หลักสูตร ส่วนปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณได้แก้ไขความไม่เข้าใจในข้อผิดพลาดด้านการ เบิกจ่าย รวมถึงความล่าช้าในการบริหารจัดการต่างๆ ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ การแก้ปัญหาที่สำคัญ ที่สุดก็คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานอาชีวศึกษา ซึ่งบุคคลที่จบจากสถาบัน เหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในอนาคต ซึ่งเรามีการฝึกอบรมซึ่งเป็นวิทยาลัยอาชีวะหรือวิทยาลัยเทคนิคประมาณ 200 แห่ง ได้มีการทำความเข้าใจเพื่อให้เบิกจ่ายโอนงบประมาณไปให้เร็วขึ้น ซึ่งเชื่อว่าปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าก็น่าจะหมดไป
อย่างไรก็ตาม ดร.กนกสะท้อนว่า หลังจากเกิดอุปสรรคมากมาย ผมเดินสายชี้แจงสื่อรวมทั้งลงพื้นที่ดูของจริงในหลายพื้นที่ สิ่งที่ผมดีใจก็คือ พบว่ามีคนจำนวนมากที่ได้ประโยชน์จากโครงการต้นกล้าอาชีพ เช่น ผมไปตรวจที่ จ.เพชรบุรี พบว่ามีคนว่างงานเพราะตกงาน จำนวนมาก ซึ่งทำงานอยู่จังหวัดอื่น แต่ก็กลับมาฝึกอบรมกับโครงการต้นกล้าที่บ้านเกิด
จากการสอบถามหลายคนพบว่า มีผู้ฝึกอบรมหลายคนตั้งใจมาเรียนวิชา อีคอมเมิร์ซ รายหนึ่งผมถามว่ามาเรียนแล้วจะกลับไปทำอะไร คำตอบที่ได้รับคือ เขาเรียนเพราะเห็นนักท่องเที่ยวที่เพชรบุรีทั้งชาวไทยและต่างชาติ ก็ได้ไอเดียว่าเขาสามารถเอาสินค้าโอท็อปจากจังหวัด ต่างๆ และสินค้าที่มีในเพชรบุรี เช่น เปลือกหอย มาขึ้นเว็บได้ นอกเหนือจากการขายที่หน้าร้านของเขา
คำตอบนี้สะท้อนว่าเป็นการเปิดช่องทางการขายให้กับชาวบ้านมากขึ้น ซึ่งตอนแรกเขาคิดว่าการทำอีคอมเมิร์ซ การนำขึ้นเว็บไซต์ต้องแพงมากหรือทำยาก แต่พอมาเรียนแล้วเขาบอกว่า ไม่ยากอย่างที่คิด เขาทำได้
ผมถามต่ออีกว่า แล้วคุณทำอะไรได้บ้าง ผู้ฝึกอบรมรายนี้ตอบว่า เขาเขียนเว็บ ได้ นำสินค้าถ่ายรูปขึ้นเว็บได้ เปิดใบสั่ง ซื้อได้ ซึ่งผมคิดว่านี่เป็นรูปธรรมของการเรียนจริงๆ ดร.กนกเล่าต่อว่า
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งน่าสนใจมากก็คือ ผมไปดูหลักสูตรเรื่องการซ่อมคอมพิวเตอร์ ผมถามผู้ฝึกอบรมที่มาเรียนรายหนึ่ง ซึ่งเป็นแม่บ้านยังไม่มีอาชีพว่า คุณมาเรียนแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
หญิงสาวรายนี้ตอบว่า แม่สามีเปิดร้านอินเทอร์เน็ต แต่มีปัญหาเรื่องการซ่อมคอมพิวเตอร์ เขาก็เลยคิดว่ามาเรียนซ่อมคอมฯเพื่อที่จะไม่ต้องเสียค่าซ่อมมากนัก เขามาเรียนต้นกล้าอาชีพในหลักสูตรซ่อมคอมพิวเตอร์ เพื่อซ่อมอินเทอร์เน็ตของตัวเอง เพื่อลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายในการดูแล และจะได้ช่วยแม่สามีด้วย
ฉะนั้น ผมคิดว่าคนเหล่านี้ใน 100 คน ถ้าเราได้สัก 20 คน แล้วเขาอยู่รอดได้ เป็นผู้ประกอบการก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี ดังนั้นถ้าเรามีสัก 100,000 คนทั่วประเทศ แล้วอยู่รอดได้สัก 20,000 คน ก็ถือว่าดีมากแล้ว
เพราะอย่าลืมว่า 20,000 คน หากผ่านไปอีก 5 ปี เขาจะสร้างงาน สร้างกิจการเพิ่มขึ้นอีกขนาดไหนให้กับประเทศ แล้วก็จะทำให้ผู้ประกอบการเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจกระจาย ออกไป พื้นฐานเศรษฐกิจก็จะกว้างขึ้น
นี่คือสิ่งที่ผมไปเจอซึ่งก็เป็นกำลังใจว่า สิ่งที่เราทำเป็นประโยชน์ ที่สำคัญสิ่งที่พบมากก็คือ จะชวนญาติพี่น้อง ชวนเพื่อนที่ตกงานมาเรียนกับโครงการต้นกล้าอาชีพ เพราะเห็นประโยชน์
ฉะนั้นเราจะได้คนที่มีประสบการณ์ตรงจากการอบรม บอกกันปากต่อปาก ซึ่งคาดว่าเดือนพฤษภาคมนี้จะมียอดมาสมัครไม่ต่ำกว่า 50,000 คน
หน้า 28
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02pol01040552&day=2009-05-04§ionid=0202
Hotmail® has a new way to see what's up with your friends. Check it out.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น