บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

"ชีวิตชายเลน"สมุทรสาคร "วิถี..ชาวบางโทรัด"วัน"ป่ามี-ป่าหมด-ปลูกป่า"

วันที่ 10 พฤษภาคม 2552 เวลา 00:00 น. |
 
"ชีวิตชายเลน"สมุทรสาคร "วิถี..ชาวบางโทรัด"วัน"ป่ามี-ป่าหมด-ปลูกป่า"
"ถามว่าเหนื่อยไหม ? ไม่เหนื่อย การพัฒนาชุมชน การร่วมกันปกป้องดูแลธรรมชาติของเรานั้น มันอยู่ที่ใจ เพราะฉะนั้นจึงไม่เหนื่อย เมื่อเราลงมือทำเพื่อธรรมชาติ" ...เป็นเสียงของ "คนปลูกป่าชายเลน" ที่ทีม "วิถีชีวิต" มีโอกาสได้สนทนาด้วย ระหว่างไปดูโครงการ "999 ต้นกล้า คืนสู่ป่า เฉลิมพระเกียรติ"

วันนี้มาสัมผัสกับบางแง่มุมของ "คนปลูกป่าชายเลน"

ณ พื้นที่ชายเลนบริเวณปากอ่าวที่ ต.บางโทรัด จ.สมุทรสาคร พื้นที่นี้ชาวบ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด มีการจัดทำโครงการ "999 ต้นกล้า คืนสู่ป่า เฉลิมพระเกียรติ" ปลูกป่าชายเลน รักษาสิ่งแวดล้อม-ลดภาวะโลกร้อน โดยการสนับสนุนของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ

ท่ามกลางความร้อนของอุณหภูมิที่สูงเกือบ 40 องศาเซลเซียส ท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนแรงของสายวันหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้งชาวบ้าน ทั้งตัวแทนผู้สนับสนุน รวมแล้ว 100 กว่าชีวิต กำลังลงลุยในเลนที่สูงถึงเอวเพื่อช่วยกันปลูกต้นโกงกาง คืนป่าให้ธรรมชาติ เพื่อเป็นการสร้างเกราะคุ้มกันให้กับโลก แม้แดดจะร้อน เหงื่อไหลเป็นลิตร ๆ เนื้อตัวเปื้อนเลน แต่ทุกคนกลับมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มร่าเริง ด้วยทุกคนตระหนักดีว่าป่าชายเลนนั้นมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมโลก และยังมีความสำคัญกับชาวบ้านที่ทำอาชีพประมงในพื้นที่นี้ด้วย เพราะป่าชายเลนมี...สัตว์น้ำก็มี ป่าชายเลนหมด...สัตว์น้ำก็หาย เมื่อไม่มีสัตว์น้ำให้จับ...ชาวบ้านที่ทำอาชีพประมงก็จบ

"ผมไม่ได้เกิดที่นี่ แต่ก็อยู่ที่นี่มานานพอที่จะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ พื้นที่ป่าชายเลนมันลดลงไปมากมายจนน่าเป็นห่วงว่าสักวันหนึ่งจะไม่เหลือ ถ้าไม่มีการปลูกทดแทน สิ่งที่ดีในเมืองเกิดขึ้นมากมาย แต่ธรรมชาติของที่นี่กลับลดลงอย่างน่าเป็นห่วง" เป็นเสียงของ วิเชียร บริบูรณะ อายุ 57 ปี ซึ่งเป็นชาวบ้าน อบต.บางโทรัด ที่อยู่ในพื้นที่นี้มานานกว่า 30 ปี

วิเชียรบอกอีกว่า เมื่อพื้นที่สูญเสียธรรมชาติป่าชายเลนไป ผลกระทบอะไรหลาย ๆ อย่างก็ตามมา โดยเฉพาะความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เพราะสมัยก่อนตอนมีป่าเยอะแถบนี้มีสัตว์น้ำเยอะมาก ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา เต็มไปหมด ช่วงนั้นออกหากุ้งคืนหนึ่งได้กุ้งเป็นร้อย ๆ กิโลฯ แต่เดี๋ยวนี้หาได้ไม่เกิน 1 กิโลฯต่อคืน

"ชาวบ้านที่นี่รู้ดีแล้วว่าป่าชายเลนสำคัญแค่ไหน ทุกคนช่วยกันปกป้อง ปลูกเพิ่ม เพราะถ้าไม่ปลูกเพิ่มก็มีแต่จะหมดไป ซึ่งการที่ทางภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วย เข้ามาทำโครงการปลูกป่าที่นี่ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นก็ต้องมีการทำอย่างต่อเนื่อง มีการดูแลปลูกเพิ่มกันทุกปี มันถึงจะได้ผล ขอแค่ทุกคนช่วยกันคนละนิดคนละหน่อย ก็ยังดีกว่าไม่คิดทำอะไรเลย เพราะไม่คิดทำอะไรเลยก็มีแต่จะยิ่งสูญเสีย" วิเชียรกล่าว

ด้าน นัฏฐ์ธนินท์ นิลโนรี หัวหน้าส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บางโทรัด เล่าย้อนเกี่ยวกับพื้นที่บางโทรัดให้ฟังว่า สมัยเมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมานั้น ชาวบ้านที่มีอาชีพเลี้ยงกุ้งสามารถเลี้ยงกุ้งแบบธรรมชาติได้สบาย ๆ เพราะกุ้งมีอยู่มากมายในธรรมชาติ เพียงแค่ดันน้ำเข้าบ่อเลี้ยงก็มีกุ้งเข้าไปมากมาย แต่ทุกวันนี้ป่าชายเลนที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด เริ่มหมดไป สัตว์น้ำก็ลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด อย่างปูแสมที่เคยมีอยู่มากมาย อยากกินเมื่อไหร่ก็จับกินแบบสบาย ๆ ปัจจุบันก็เริ่มหายาก

"ป่าโกงกางชายเลนสามารถยึดหน้าดินได้ดี เมื่อมีเยอะก็ช่วยชะลอการซัดของน้ำทะเลที่ทำให้พื้นที่ทำกินหายไป ช่วยให้สภาพอากาศดี ที่สำคัญสัตว์น้ำก็จะเกิดขึ้นมา ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพสร้างรายได้ ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมามีการร่วมมือกันระหว่างชาวบ้าน ภาครัฐ และเอกชน เข้ามาทำการปลูกป่าที่นี่ โดยปลูกไป 1 ไร่ มาถึงปีนี้ก็เหลืออยู่ประมาณ 20% ปีนี้ก็มีการเข้ามาปลูกเพิ่มอีก ก็เป็นเรื่องที่ดี ที่มีการทำอย่างต่อเนื่อง

ที่สำคัญชาวบ้านที่นี่จะต้องมีการรวมกลุ่มคอยดูแลโดยเฉพาะ คอยเฝ้าระวังป่าโกงกางที่ปลูก เพราะป่าโกงกางที่ปลูกทดแทนขึ้นมานอกจากจะเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนแล้ว ชาวบ้านที่อยู่ตรงนี้ก็จะได้ประโยชน์โดยตรงด้วย พวกเราเกิดมากับธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเราจะต้องรักและหวงแหนธรรมชาติของเรา" นัฏฐ์ธนินท์กล่าว

ขณะที่ เสงี่ยม ฉนุนเฉียว อายุ 70 ปี ชาวบ้านที่ทำอาชีพประมงอยู่ที่ ต.บางโทรัด ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่พื้นที่ป่าชายเลนลดหายไป ก็เล่าย้อนว่า มาอยู่ที่พื้นที่นี้ตั้งแต่อายุประมาณ 15 ปี ทำอาชีพประมงมาหลายสิบปี อยู่ที่นี่มานาน เมื่อก่อนตอนที่ป่าชายเลนยังมีอยู่เยอะ สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ก็มีเยอะ ทำมาหากินได้สบาย ๆ อย่างปูทะเลเมื่อก่อนออกไปหาแป๊บเดียวแบกกลับบ้านแทบไม่ไหว แต่ทุกวันนี้เมื่อป่าน้อยลง วันหนึ่งหาแทบไม่ได้สักตัว และไม่เฉพาะปูที่ลดหายไป แต่สัตว์น้ำทุกชนิดที่เคยมีอยู่มากก็ลดปริมาณลงทุกปี

ชาวบ้านที่นี่มีอยู่ประมาณ 20 กว่าหลังคาเรือน มีประชากรหลายร้อยคน ปัจจุบันการทำมาหากินโดยการจับสัตว์น้ำเริ่มยากลำบาก ทำมาหากินไม่ได้ ชาวบ้านหลายคนก็ต้องย้ายออกจากพื้นที่ไปทำงานตามโรงงาน ทุกวันนี้คนที่นี่ต่างรู้ถึงความสำคัญของป่าชายเลน มีการร่วมมือกันระหว่างชาวบ้าน ภาครัฐ ภาคเอกชน ในการปลูกป่าชายเลนขึ้นมาทดแทนตั้งแต่ปีที่แล้ว และปีนี้มีโครงการอีกก็เป็นสิ่งที่ดีที่ชาวบ้านทุกคนพร้อมจะช่วยกันทำ

"ตั้งแต่มีการปลูกป่าชายเลน สิ่งแวดล้อมที่นี่ก็เริ่มดีขึ้น ระบบนิเวศแบบเก่า ๆ ของแถบนี้ก็เริ่มกลับมา เมื่อป่าชายเลนเริ่มดีขึ้น ขุมทรัพย์ทางทะเลก็เริ่มกลับมาให้เห็น" เป็นเสียงของเสงี่ยม ชาวประมงวัย 70 ปี กับ "ขุมทรัพย์ทางทะเล" ที่ชาวบ้านในพื้นที่นี้ต่างกำลังรอคอยให้หวนกลับมาล้นหลาม

พร้อม ๆ กับฟื้นสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับสังคมไทยโดยรวม.

///////////////////////////////////////////

999 ต้นกล้า คืนสู่ป่า เฉลิมพระเกียรติ

สมพงษ์ รอดดารา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร บอกว่า "ป่าชายเลน" ของพื้นที่นี้ ปัจจุบันถูกกระแสน้ำกัดเซาะหายไปเป็นจำนวนมาก ลดน้อยลงไปกว่าแต่ก่อนมาก เกิดผลกระทบทั้งต่อสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศ รวมไปถึงชาวบ้านในพื้นที่ด้วย เพราะป่าชายเลนที่เป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำหมดไป สัตว์น้ำก็หมดไป ชาวบ้านที่มีอาชีพประมงก็ทำมาหากินลำบาก

"การมีโครงการปลูกป่าทดแทน นอกจากจะช่วยลดโลกร้อนแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านโดยตรงอีกด้วย โครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างมหาศาล ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต" สมพงษ์ระบุ

ด้าน ฤาชา สิงขรรัมย์ ผู้แทนบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ระบุว่า บริษัทให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม มีการจัดทำกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับชุมชนต่าง ๆ สนับสนุนการปลูกป่าชายเลนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มาตั้งแต่ปี 2536 และได้ร่วมมือกับชาวบ้าน อบต.บางโทรัดจัดโครงการ "999 ต้นกล้า คืนสู่ป่า เฉลิมพระเกียรติ" ขึ้น ณ ศูนย์การอนุรักษ์ธรรมชาติบางโทรัด

"โครงการนี้มีบุคลากรซีพีเอฟ อบต. และชาวบ้าน รวมแล้วประมาณ 100 คน ช่วยกันนำต้นโกงกางจำนวน 999 ต้น ปลูกในพื้นที่ริมทะเล ช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบนิเวศ และยังช่วยกระตุ้นจิตสำนึกรักและหวงแหนป่า ใส่ใจดูแลรักษาป่าที่ร่วมกันปลูกให้เติบโตอย่างยั่งยืน" ฤาชากล่าว.


บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : รายงาน

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=198594&NewsType=1&Template=1


Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน