บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สิมิลัน หวั่นไหว/ปิ่น บุตรี

สิมิลัน หวั่นไหว/ปิ่น บุตรี
โดย ปิ่น บุตรี 29 เมษายน 2552 17:51 น.
       โดย : ปิ่น บุตรี

หินเรือใบและหาดทรายอันสวยงามที่เกาะแปด
       สิมิลัน หมู่เกาะที่นานๆผมจะไปเยือนสักครั้ง
       
       แต่ว่าไปแต่ละครั้ง ธรรมชาติความงามที่สิมิลันไม่เคยสร้างความผิดหวัง
       
       สายน้ำยังคงใสแจ๋ว ช่วงน้ำตื้นมองเห็นปะการังฝูงปลาแหวกว่าย หาดทรายยังคงขาวเนียน วิวทิวทัศน์ยังคงสวยงาม นกชาปีไหน-ปูไก่ ยังปรากฏกายให้เห็น
       
       ในความงามเหล่านี้ ผมพบว่ามีคนเล็กๆอยู่กลุ่มหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ปิดทองหลังพระ ปิดทองข้างหลังความงาม เพื่อปกป้อง อนุรักษ์หมู่เกาะสิมิลันให้คงความงามอยู่คู่โลกไปอีกนานเท่านาน
       
       ผู้ปิดทองหลังเต่า
       

       การไปสิมิลันครั้งนี้นอกจากความงามของธรรมชาติดังที่กล่าวมาแล้ว ผมเจอเต่าทะเลตัวเป็นๆ ถึง 3 ตัว(ที่เกาะสี่ 1 ตัว เกาะแปด 2 ตัว)ว่ายน้ำมาให้เห็นกันจะจะ ใกล้ตาถนัดถนี่
       
       แม้จะเป็นความบังเอิญผสมความโชคดี(มาก) แต่ว่าเมื่อมองย้อนลึกเข้าไปก็พบว่า ในสถานการณ์ที่เต่าทะเลสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ มีความหวังเล็กๆจากโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลหมู่เกาะสิมิลัน ซึ่งจัดตั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์เต่าขึ้นมาที่เกาะหนึ่งหรือเกาะหูยง
       
       ที่นั่นเป็นพื้นที่หวงห้าม(เป็นเกาะเพื่อการอนุรักษ์ ไม่ใช่เกาะเพื่อการท่องเที่ยว)เนื่องจากเป็นจุดเต่าทะเลวางไข่จุดสำคัญของทะเลอันดามัน มีกองทัพเรือ(โดยความร่วมมือของกรมอุทยานฯ)เป็นผู้ดูแลพื้นที่

วันนี้ของเต่าทะเลสิมิลัน ค่อนข้างโชคดีที่มีโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์
       บนเกาะหนึ่งมีเจ้าหน้าที่เฝ้าประจำการเป็นผลัด ผลัดละแค่ 3 คน ปฏิบัติการเป็นกะ กะละ 15 วัน อยู่กินการตามอัตภาพ ที่สำคัญคือต้องมีความอดทนและความพยายามอย่างสูงในการปฏิบัติภารกิจ เพราะบนเกาะหนึ่งไม่มีไฟฟ้า น้ำมีจำกัด นานๆจะได้กินน้ำแข็งเย็นสักที ถ้าโชคดีมีเรือประมงแวะผ่านมา แล้ววิทยุบอกเจ้าหน้าที่ให้ขับเรือเล็กออกไปรับน้ำแข็ง อาหารการกินก็ไม่ได้สะดวกสบาย ยิ่งเป็นหน้ามรสุมนี่ยิ่งแล้วใหญ่ ความยากลำบากจะเพิ่มเป็นเท่าตัว เพราะคลื่นลมฝนแห่งอันดามันบริเวณเกาะสิมิลันนั้นมันไม่ธรรมดาเอาเสียเลย
       
       พวกเขาแม้เป็นชายฉกรรจ์ แต่ว่าก็ต้องทำหน้าที่ประหนึ่ง "แม่นม(ของ)เต่า"เลยทีเดียว
       
       แม่นมเต่า มีหน้าที่คอยดูแลฟูมฟักลูกเต่าทะเลอย่างใกล้ชิด เริ่มตั้งแต่เดินตรวจตราในช่วงเช้ามืดของแต่ละวันหรือที่เจ้าหน้าที่เรียกว่า"เดินเต่า" ดูว่าวันไหนมีแม่เต่าตัวไหนขึ้นมาวางไข่บ้าง เมื่อเห็นไข่เต่าก็นำไปฝังทรายไว้ในบ่อพัก แล้วรอเวลาประมาณ 2 เดือน ลูกเต่าจะฟักตัวออกมาดูโลก แต่ภารกิจของแม่นมเต่ายังไม่จบสิ้นเพราะต้องดูแลอีกสักพักให้ลูกเต่าแข็งแรงก่อนส่งไปยังศูนย์อนุบาลเต่าที่ทับละมุต่อไป
       
       แม่นมเต่าคนหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า ทุกครั้งที่เห็นเต่าที่อนุบาลไว้ถูกปล่อยลงทะเล เขาจะเกิดความรู้สึกปีติอย่างบอกไม่ถูก เพราะนั่นหมายถึงหนึ่งภารกิจของเขาได้เสร็จสิ้นไป รอภารกิจดูแลลูกเต่าชุดใหม่มาเยือนอีกครั้ง

เต๊ะ ศตวรรษ กับภารกิจวางทุ่นใต้น้ำ (คนซ้ายผูกผ้าพันคอกู้ชาติสีเหลือง)และกลุ่มเพื่อนอาสาลงไปผูกทุ่นใต้ทะเล
       ผู้ปิดทองใต้ทะเล
       

       หมู่เกาะสิมิลันขึ้นชื่อนักในเรื่องแหล่งดำน้ำลึกที่สวยงามติดอันดับโลก ถึงกระนั้นปะการังน้ำตื้นที่สิมิลันก็สวยใช่ย่อย
       
       ทุกปีช่วงฤดูท่องเที่ยวจะมีเรือจำนวนมากพานักท่องเที่ยวมาดำน้ำ ในอดีตเรือจะใช้การทิ้งสมอเพื่อลอยลำอันเป็นหนึ่งในตัวการทำให้ปะการังพังเสียหาย นับเป็นวิธีการที่ค่อนข้างล้าสมัย ทำให้ปัจจุบันมีการเปลี่ยนรูปแบบหันมาใช้วิธีผูกทุ่นลอยลำแทน
       
       หมู่เกาะสิมิลันได้ทำการวางทุ่นเพื่อจอดเรือมาตั้งแต่เมื่อ 15 ปีที่แล้ว และดำเนินการวางทุ่นเรื่อยมาเพราะแต่ละปีจะมีทุ่นชำรุด สูญหาย ซึ่งหากมองด้วยตาเปล่าเห็นลูกทุ่นลอยน้ำอยู่ไหวๆ มันดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ทว่าถ้ามองลึกลงไปใต้ทะเลถึงตัวฐานของทุ่น มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะนำฐานทุ่นปูนไปวางไว้ใต้ทะเล แต่สำหรับทีมวางทุ่นใต้ทะเลนั้น นี่คือภารกิจปิดทองใต้ทะเลเพื่ออนุรักษ์แนวปะการัง และให้นักท่องเที่ยวสามารถดำน้ำชมโลกใต้ทะเลกันได้อย่างเพลิดเพลินใจ
       
       การวางทุ่นใต้ทะเลนั้นมันไม่ใช่เรื่องสวยงาม สบายๆเหมือนการท่องเที่ยวดำน้ำดูปะการัง แต่มันคือความยากลำบากอย่างหนึ่ง ซึ่งก่อนการวางทุ่นต้องมีการสำรวจพื้นที่ การเตรียมตัวและซักซ้อมกันเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันสิ่งไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นใต้น้ำได้
       
       จากนั้นเมื่อถึงขั้นตอนการนำฐานทุ่นลงไปวางใต้ทะเล นี่แหละคือความยากลำบาก เพราะทุ่นปูนมันทั้งใหญ่ทั้งหนัก(เป็นตันๆ)
       
       เรื่องนี้ผู้ที่เคยผ่านการดำน้ำลงไปวางทุ่น อย่าง เต๊ะ ศตวรรษ เศรษฐกร นักร้องนักแสดง ในฐานะอาสาสมัครโครงการวางทุ่นได้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้ฟังว่า การวางทุ่นที่สิมิลันเป็นการดำน้ำวางทุ่นครั้งแรก เต๊ะมีภารกิจต้องดำลงไปเปลี่ยนเอาทุ่นเก่าออก แล้วนำทุ่นใหม่ขนาดกลาง(สีส้ม)ลงไปผูกข้างล่าง ที่บริเวณเกาะสี่(เกาะเมียง)ที่ระดับความลึกประมาณ 31 เมตร
       
       "ผมคิดว่าพื้นฐานของการวางทุ่นนี้ไม่ยากเพียงแต่ว่าต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการผูกเงื่อน การคล้องเงื่อน คือถ้าเกิดคล้องบนบกมันไม่มีปัญหาเพราะเราใช้เวลาเท่าไรก็ได้ แต่พอลงไปใต้น้ำเรื่องของเวลา เรื่องของอากาศ เป็นข้อจำกัดมาก ต้องมีการซ้อมไม่เช่นนั้นอาจจะเป็นอันตรายกับตัวเราได้ ซึ่งสำหรับกิจกรรมนี้ผมคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ดี ถึงแม้ว่าเราลงไปในครั้งนี้ไม่ได้ไปเชิงสันทนาการหรือว่าท่องเที่ยวเท่าไร แต่มันก็เป็นเชิงอนุรักษ์ที่แบบว่าอย่างน้อยทุกครั้งที่เรามาที่นี่ เราก็รู้ว่าทุ่นนี้เราเป็นคนวางนะ อย่างน้อยเราก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ทำให้ปะการังตรงนี้บริเวณนี้ยังคงสมบูรณ์อยู่"
       
       เต๊ะเล่าพร้อมกับฝากไปถึงนักท่องเที่ยวว่า เวลาดำน้ำต้องช่วยกันอนุรักษ์ดูแลปะการังด้วย

ในความสวยงามของสิมิลันมีคนเล็กๆทำหน้าที่เป็นผู้ปิดทองหลังพระอยู่
       ผู้ปิดทองหลังเกาะ
       
       หมู่เกาะสิมิลันเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ เป็นหมู่เกาะในฝันของใครหลายๆคน อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
       
       ในจำนวน 9 เกาะของหมู่เกาะสิมิลันนั้น มีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าดูและอยู่ใน 2 จุดหลักๆคือที่เกาะแปด(เกาะสิมิลัน) และเกาะสี่(เกาะเมียง)
       
       พี่ไหว พิทักษ์ป่าอาวุโสแห่งเกาะสิมิลันเล่าให้ผมฟังว่า ในช่วงฤดูท่องเที่ยวนั้นเกาะสิมิลันจะสวยปานสวรรค์ ตรงกันข้ามกับช่วงมรสุมที่พายุกระหน่ำ บางวันฝนตกปานฟ้ารั่ว บางวันคลื่นแรงออกเรือไม่ได้ บางวันลมแรงพัดกิ่งไม้หักระนาว พัดหลังคาปลิวว่อน
       
       "ช่วงมรสุมนั้นอาหารหลักของเราก็มีพวกน้ำพริก ปลากระป๋อง เพราะมันออกไปไหนไม่ได้" พี่ไหวเล่า ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าหน้ามรสุมนั้น มันคือนรกกลายของคนอยู่เกาะห่างไกลเลยทีเดียว
       
       อย่างไรก็ตามในช่วงฤดูท่องเที่ยว คลื่นลมสงบ น้ำใส ฟ้าสวย แต่พิทักษ์ป่าหลายครั้งหลายหนก็ต้องปวดหัวกับพฤติกรรมแย่ๆของนักท่องเที่ยวไทยบางคน ไม่ว่าจะเป็น ไม่เคารพกฎเกณฑ์ของทางอุทยานฯ เอะอะ เสียงดัง เอาแต่ใจ ทิ้งขยะเรี่ยราด นำอาหารไปกินในเต็นท์จนงูหนูเข้าไปกินตาม และพฤติกรรมแย่ๆอีกสารพัด
       
       เท่าที่ผมสำรวจพูดคุยกับเจ้าหน้าที่พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีพฤติกรรมยอดแย่มากที่สุดคือ กลุ่มผู้มีตำแหน่งมีอำนาจ อาทิ ข้าราชการ ฝ่ายปกครอง(มีอายุ) พวกนี้จะทั้งเบ่ง กร่าง ตามสันดานของคนมักมากในอำนาจ
       
       "เดี๋ยวนี้พิทักษ์ป่า นอกจากจะต้องดูแลป่า ดูแลทะเลแล้ว ยังต้องทำหน้าที่บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย บางคนกางเต็นท์ไม่เป็น เราก็ต้องไปกางให้ บางคนบาดเจ็บจากการเล่นน้ำเราก็ไปช่วย แถมบางคนยังบ่นหาความสะดวกสบายทั้งๆที่รู้ว่า มานอนเกาะ มานอนอุทยานฯ ไม่ได้นอนโรงแรม"
       
       พี่ไหวเล่าให้ฟัง พร้อมบ่นให้ฟังว่านักท่องเที่ยวหลายคนยังเสียนิสัยคือทิ้งขยะเรี่ยราด สูบบุหรี่ก็โยนทิ้ง กินเหล้าเบียร์(นำไปเอง)ก็วางทิ้งเกลื่อนไว้ตรงนั้นแหละ เจ้าหน้าที่ต้องมาตามเก็บให้
       
       "ผมอยากให้นักท่องเที่ยวนำอะไรมาบนเกาะ ก็ให้นำกลับไปด้วย เพื่อจะได้แก้ปัญหาขยะบนเกาะ หรืออย่างน้อยก็ให้ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง"พี่ไหวเล่าในค่ำคืนที่เราตั้งวงพูดคุยกัน
       
       ..................................
       
       เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ผมตื่นขึ้นมาเห็นพี่ไหวเดินเก็บก้นบุหรี่ ขวดเหล้า กระป๋องเบียร์ กระป๋องน้ำอัดลมที่นักท่องเที่ยวกินทิ้งไว้
       
       ผมเห็นภาพนี้แล้วก็อดสะทกสะท้อนใจไม่ได้ เพราะถ้านักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งยังมีพฤติกรรมทิ้งขยะเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทางอย่างนี้ ต่อให้ 10 พี่ไหว 100 พี่ไหว เก็บยังไงมันก็"ไม่ไหว"อยู่ดี
       


http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000048160


Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน