ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้ Fairy Pitta
คอลัมน์ ประสานักดูนก
โดย น.สพ.ไชยยันตร์ เกษรดอกบัว fvetchk@ku.ac.th
![]() Fairy Pitta : บรรพต กิติกิ่งเลิศ |
แม้จะคิดว่าชื่อเป็นเพียงชื่อ หากในชื่อมีความหมายสื่อนัยยะได้ ก็เพราะชื่อ-สกุลมิใช่หรือที่มนุษย์เช่นเราอุตส่าห์คิดค้นชื่อขึ้นมาเรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใด จึงบอกความแตกต่างของวัตถุสิ่งของได้ ยิ่งถ้าชื่อหนึ่งชื่อนั้นสามารถสื่อความชัดเจนย่อมควรคิดให้มีนัยยะเอื้อการเรียนรู้และเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งนั้น
ก่อนอื่นขอแจงสักนิดว่า "นกแต้วแล้ว" เขียนได้ 2 แบบ หนึ่งถือตามราชบัณฑิตยสถาน สะกดคำว่า แร้ว ด้วย ร เรือ คือ นกแต้วแร้ว
สองถือตามคู่มือนกเมืองไทยของ "คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล บิดาแห่งวงการดูนกไทย" ใช้ ล ลิง ว่า นกแต้วแล้ว ดังนั้น จะอ้างอิงหรือใช้แบบใดก็ตามแต่อัธยาศัย
ส่วนเจ้าแต้วแล้วหน้าใหม่ไฉไลตัวนี้ นักดูนกบางคนเรียกตามๆ กันมาว่า "นกแต้วแล้วนางฟ้า" บ้าง "นกแต้วแล้วหลากสี" บ้าง
ชื่อแรกแปลอย่างถอดความ หรือโดยพยัญชนะจากชื่ออังกฤษ หากรอบคอบในการคิดแล้ว ออกจะเสี่ยงให้งุนงงต่อคนช่างสงสัยไม่น้อย
![]() นกแต้วแล้วธรรมดา : ศุภลักษณ์ กลับดี |
"นางฟ้า" ทั้งคำไทยและคำอังกฤษ มี "เพศ" ยิ่งใช้คำว่า "นาง" (แนมแบบเนียนๆ อีกว่าแต่งงานแล้ว ถ้าเป็นนกแต้วแล้วสาวๆ ล่ะ?) ติดตัวมาด้วย แล้วอย่างนี้ไม่ชวนให้คิดหรือว่า นกแต้วแล้วชนิดนี้มีเฉพาะเพศเมียหรือไง ถ้าเป็นเช่นนั้น ป่านนี้คงสูญพันธุ์หมดแล้วมั้ง จะเรียกนกตัวผู้ว่า "นกแต้วแล้วนายฟ้า" พ่อแต้วฯ คงทำตาปะหลับปะเหลือกน่าดูนิ (ฮา)
ส่วนชื่อสองว่า "หลากสี" ออกจะเก๋เท่ชวนให้จินตนาการ สื่อสีสันของนกแต้วแล้ว
"นับสีบนตัวนกกันจะพบว่านกแต้วแล้วชนิดนี้เหมือนถูกละเลงด้วยเบญจรงค์บวกหนึ่ง คือ สีดำ แดง ฟ้า เขียว น้ำตาลอ่อน และน้ำตาลเข้ม คลับคล้ายคลับคลากับนกแต้วแล้วอีกชนิดที่มองเผินๆ แล้วเหมือนกันอย่างแพะกับแกะ (แต่ก็ไม่ใช่อยู่ดี!) คือ "นกแต้วแล้วธรรมดา" (Blue-winged Pitta)"
ซึ่งสาเหตุที่ตั้งชื่อดาษๆ แบบนี้เพราะพบเห็นบ่อยสุดในบรรดานกแต้วแล้ว 13 ชนิดในบ้านเรา "ชื่อจึงสื่อนัยยะของความชุกในการพบเห็นนกในธรรมชาติ" ซึ่งเป็นหลักการตั้งชื่อนกประการหนึ่ง
นอกนั้นชื่อนกอาจ "สื่อลักษณะเด่นของ "ชุดขน"" เช่น "นกแต้วหูยาว นกแต้วแล้วลาย นกแต้วแล้วสีน้ำเงิน นกแต้วแล้วอกเขียว" และ "นกแต้วแล้วท้องดำ"
สื่อถึง ""รูปลักษณ์"" (jizz/gesture) เช่น นกแต้วแล้วยักษ์ ""ถิ่นอาศัยหรือพื้นที่การแพร่กระจายพันธุ์"" เช่น "นกแต้วแล้วป่าชายเลน"
หรือ ""เป็นเกียรติแด่บุคคล"" (Eponym) อาทิ นักปักษีวิทยา กษัตริย์และราชสกุล ลูกเมียของเพื่อนหรือแม้แต่นายธนาคารก็เคยมี เช่น "Gurney"s Pitta" หรือ "นกแต้วแล้วท้องดำ"
"บางชนิดสื่อนัยยะสองอย่างในชื่อเดียว" เช่น "นกแต้วแล้วเขียวเขมร นกแต้วแล้วแดงมลายู" บ่งบอกทั้งสีสันและถิ่นอาศัยด้วย (แม้อาจจะชี้นำให้เข้าใจผิดได้ว่านกอาศัยอยู่เฉพาะในเขมรและมลายูหรือ หากสื่อแนวคิดของคนตั้งชื่อว่ามองในมุมกว้างและห่างจากตัวตน เพราะในทางกลับกันก็ใช่ว่านกแต้วแล้ว 2 ชนิดนี้จะพบทั่วไปในบ้านเราหากจำกัดอยู่ตามแนวรอยต่อของประเทศข้างต้นเท่านั้น)
หรือบ่งบอกสีสันและรูปลักษณ์ เช่น "นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงิน" และ "นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำตาล"
เมื่อมีคู่คล้ายชวนให้สับสน ระหว่าง "Fairy Pitta" และ "นกแต้วแล้วธรรมดา" ชื่อที่จะเรียกหากันในวงการดูนกควรสื่อนัยยะชี้ชัดความแตกต่าง ไม่คลุมเครือ ใช้เปรียบเทียบระหว่างคู่คล้ายให้ชัดเจนและง่ายต่อการจำแนกชนิด แง่มุมหลักอย่างหนึ่งของการดูนกอย่างสนุกสนานท้าทาย
"หากสังเกตภาพของนกแต้วแล้วสองชนิดนี้ที่หลากสีเหมือนกันไม่มีเพี้ยน จะเห็นความแตกต่างที่เด่นชัด 3 ประการ ได้แก่ คิ้ว ขนสีฟ้าหรือน้ำเงินบนปีก และสีน้ำตาลบนอกและท้อง"
คงต้องอดใจรอและร่วมลุ้นว่าบรรดากูรูในวงการปักษีวิทยาบ้านเรา ในนามคณะกรรมการพิจารณาข้อมูลนกว่าจะขนานนามนกแต้วแล้วนางฟ้าหน้าใหม่ตัวนี้ว่าอะไรครับ
หน้า 21
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01sun02100552§ionid=0120&day=2009-05-10
Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น