บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

'ชีวิตทวนกระแส' ของเกษตรกรรุ่นใหม่ บนวิถีไทย 'ไท'

วันที่ 11 พฤษภาคม 2552 เวลา 00:00 น. |
 
'ชีวิตทวนกระแส' ของเกษตรกรรุ่นใหม่ บนวิถีไทย 'ไท'
ในภาวะที่ดูเหมือนว่าคนรุ่นใหม่ล้วนแต่ทิ้งบ้านไปอยู่เมือง ยังมี "คนรุ่นใหม่" หลายคนที่เลือกเส้นทางเดินของชีวิต   "ทวนกระแส" ดังตัวอย่างของเกษตรกรรุ่นใหม่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด  (มหาชน)    
 
"...ผมได้ตัดสินใจที่จะอยู่บ้านหลังเรียนจบ ม.6 และเลือกที่จะศึกษาต่อ ม.สุโขทัยธรรมาธิ ราช ที่เปิดโอกาสให้ผมได้อยู่บ้าน แต่มันก็เป็น เรื่องที่คนในชุมชนไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก เพราะมันอาจเป็นค่านิยมเลยก็ว่าได้ ที่เด็กทุกคนเมื่อเรียนจบ ม.6 ต้องไปเรียนต่อที่ในเมืองหรือไม่ก็ไปทำงานหาลูกหาเมียมาให้แม่ที่อยู่บ้านเลี้ยง..."  ศักดา เหลาเกตุ เยาวชนรักษ์ถิ่นเกิด วัย 19 ปี จากศูนย์การเรียนรู้ชาวดิน  อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ยืนยันถึงการตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตของเขา ศักดาเลือกเรียนในระบบเปิดที่บ้านเกิด แทนที่จะละถิ่นเข้าเมืองเพื่อศึกษาต่อด้านการเกษตรในมหาวิทยาลัย เหมือนเพื่อน ๆ เพราะมองว่าเขาสามารถทำการเกษตรได้แม้อยู่ที่บ้าน อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงบนผืน นาหาใช่การเรียนรู้แต่ทฤษฎีที่ไร้การปฏิบัติจริง  ถึงแม้ว่าการยืนยันที่จะอยู่นอกกรอบนี้จะมีแรงเสียดทานมาก แต่ทุกวันนี้เขาก็ยังสนุกกับการ เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ของชุมชน บนวิถีกสิกรรม   พอเพียง
 
อย่างไรก็ดี การยืนหยัดนอกกรอบของศักดาอาจไม่แข็งแรง หากไม่มี พ่อ "สำเนียง วงศ์พิมพ์" ผู้บุกเบิกศูนย์การเรียนรู้ชาวดิน เป็นแบบ อย่าง รวมทั้งเอื้ออำนวยให้มีกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ร่วมกันกับเพื่อน ๆ พ่อสำเนียงในอดีตมีอาชีพนักมวย และเป็นพระเอกหมอลำ ซึ่งรักอาชีพการทำนาด้วยหลักคิดที่ปู่ฝากไว้แต่เด็กที่ว่า "ไม่ว่าคนจะทำอาชีพอะไร แม้แต่คนขับเครื่องบินก็ยังต้องกินข้าว" อาชีพเกษตร กรรมจึงเป็นอาชีพที่มั่นคง ไม่มีวันตกงาน "การทำนาและข้าว"  ในมโนสำนึกของพ่อสำเนียงจึงเป็นสิ่งล้ำค่าอย่างยากจะหาสิ่งใดเหมือน
 
เพิก "ยุทธศักดิ์ ยืนน้อย" นักเกษตร กรรมรุ่นที่ 3 ของตำบลแม่ทา ถือเป็นอีกกำลังสำคัญของสหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ แต่ก่อน เพิกเคยหวังว่าวุฒิความรู้ ปวส. ด้านการจัดการจะทำให้เขามีอาชีพสุขสบาย ทำงาน โก้ ๆ ในสำนักงาน ไปไหนก็มีคนนับหน้าถือตา แต่เมื่อไม่สามารถหางานมาสร้างคุณค่าและรายได้เลี้ยงปากท้องได้ เพิกจึงต้องหันหลังกลับมาทำงานเกษตรของครอบครัว และได้รู้จักกับวิถีเกษตรกรรมยั่งยืนที่ทำให้เขาปลดเปลื้องหนี้สินของครอบครัว ทั้งยังมีความมั่นคงในชีวิต-อาชีพมากขึ้น
 
เพิกกล่าวว่าเมื่อเขาคิดต่างไปจากอดีตที่วัดคุณค่าของการงานที่ "ตัวเงิน" มาเป็นการวัดคุณค่าที่ "การอยู่อย่างพอเพียง" พึ่งพาตนเองได้ ก็ทำให้งานเกษตรกรรมอันหนักหน่วงที่เปรียบเป็นยาขม กลับกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ที่มีความสุขมากขึ้น หากวันนั้นเขาไม่กล้าคิดทวนกระแส เขาก็ไม่แน่ใจว่าเขาจะมีวันนี้ได้ 
 
ไม่แตกต่างกันนักกับ "วิษณุ ศิริเสน" ทายาทฟาร์มเพาะพันธุ์ปลานิลและปลาดุกรายใหญ่ในอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็เป็นอีกนักปฏิบัติและมีจิตวิญญาณการเกษตรเต็มตัว ด้วยต้นทุนเดิมที่มีอยู่ทำให้วิษณุเติบโต ในเส้นทางเกษตรกรรมได้รวดเร็วจนใคร ๆ แอบฉงนสงสัย ทว่าความจริงเบื้องหลังหน้าฉากอันสวยงาม วิษณุต้องอาศัยความรัก ความทุ่มเท และความพากเพียรพยายามอย่างมากกว่าจะ  เดินตามรอยเท้าของพ่อวินัย ศิริเสน ได้อย่างไม่อายใคร
 
ความบากบั่นของวิษณุไม่ได้เป็นเพียงคำพูดจายกย่องชมเชย ที่ผ่านมา วิษณุคว้ารางวัลด้านการเกษตรมาแล้วหลายรางวัล ขณะที่เรียนอยู่ชั้น ปวช. ที่วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช เขาได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภาค 3 ปีซ้อนจากการแข่งขันทักษะการผสมเทียมปลา ยิ่งกว่านั้นยังเคยได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันทักษะวิชาการขององค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) อีกด้วย     
 
จากเรื่องราวของเกษตรกรรุ่นใหม่ในข้างต้น เห็นได้ว่า การที่คนรุ่นใหม่จะหันกลับคืนสู่วิถีเกษตรในชุมชนนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นได้เพียงเพราะ "แรงขับดันด้านใน" ของแต่ละคนเท่านั้น แต่สิ่งที่จะทำให้พวกเขาสามารถหลุดออกจากวิถีเก่า ๆ ได้ คงต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมาเกื้อหนุนอีกแรง ทั้งที่เป็นฐานของครอบครัว ชุมชน รวม ทั้งผู้สนับสนุนทั้งหลายที่คอยกระตุ้น เติมพลัง ทั้งทุน ความรู้ และกระบวนการเรียนรู้.
 
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=198649&NewsType=1&Template=1


Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน