บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ลด"โลกร้อน" อย่างเป็นธรรม

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6758 ข่าวสดรายวัน


ลด"โลกร้อน" อย่างเป็นธรรม


สุจิต เมืองสุข




การรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนทั่วโลกยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เพราะความเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศเป็นไปอย่างแปรปรวน และ รุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สิน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่มีฐานะยาก จน เป็นพวกรากหญ้า และกลุ่มคนชายขอบ ที่ไร้การเหลียวแล

การรณรงค์สร้างความร่วมมือระหว่างประ เทศในการลดภาวะโลกร้อน มีกรอบการปฏิบัติ งานภายใต้พิธีสารเกียวโต อันเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายในการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายการรับมือกับภาวะโลกร้อน ตาม อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ United Nations Frame work Convention on Climate Change (UNFCCC)

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่ม 169 ประเทศ ที่ร่วมสัตยาบันลดภาวะโลกร้อน แม้ว่าไทยจะไม่ใช่ประเทศหลักที่เป็นเป้าหมายสำคัญของพิธีสารเกียวโต ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ประเทศพัฒนาแล้ว ให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวแทนชาวบ้านรากหญ้า จากหลากหลายอาชีพ ทั้งประมง ชาวเขา เกษตรกร เครือข่ายคัดค้านเขื่อน และเครือข่ายพลังงานทางเลือก เป็น ต้น มารวมกลุ่มกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมอง ในนามของ "เสียงที่หายไป"



โดยตั้งประเด็นว่า "แก้โลกร้อน ปิดไฟ ใช้ถุงผ้า ตั้งโรงไฟฟ้านิว เคลียร์ ปลูกป่าขาย เรากำลังเดินถูกทางแล้วหรือ?"

ก่อนที่แต่ละกลุ่มและเครือข่ายจะสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะต่อผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่เห็นขัดแย้งกับโครงการลดภาวะโลกร้อนทั้งหลาย ไม่ว่าจะจากภาครัฐหรือเอกชน ที่ทำกันอยู่ในขณะนี้

แต่ทั้งหมดล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธมิได้

น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง กลุ่มรณรงค์และศึกษามลภาวะอุตสาหกรรม และเครือข่ายลดโลกร้อนอย่างเป็นธรรม ระบุว่า การแก้ปัญหาโลกร้อนที่ผ่านมา ภาคประชาชนไม่ มีโอกาสเข้าร่วม ในการกำหนดนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งถูกกำหนดโดยคนเพียงกลุ่มเดียวในภาครัฐ และภาคธุรกิจที่มีผลประโยชน์ ทั้งยังมีแนวโน้มว่าผลของนโยบายจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น

ประเด็นสำคัญที่เครือข่ายทั้งหมดเป็นห่วง คือในเดือนธันวาคมที่จะถึง จะมีการจัดการประชุมของ UNFCCC ที่จะกำหนดสาระสำคัญ เพื่อใช้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศในการแก้ปัญหาโลกร้อน แต่ในความเป็นจริงยังไม่พบว่าจะช่วยให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง



น.ส.เพ็ญโฉมชี้ว่า ตรงกันข้ามกลับกลายเป็นกลไกตลาดเสรี เพื่อเป็นเครื่องมือให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว ผลักดันความรับผิดชอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศตนเอง แต่กลับก่อก๊าซเรือนกระจกขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาแทน

ด้าน นางผา กองธรรม ตัวแทนสมัชชาคนจน กลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ป่าทามแม่น้ำมูน จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า รัฐและภาคธุรกิจมักมองวิธีลดโลกร้อน ด้วยการสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้า โดยไม่มองว่าโครงการขนาดใหญ่มีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการทำลายป่าไม้ และทำลายระบบเกษตรพื้นบ้าน ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรด้านอาหาร และเป็นฐานสำคัญของการรักษาระบบนิเวศ และความอุดมสมบูรณ์ของป่า

ดังนั้น รัฐควรพิจารณาทุกโครงการ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวด ล้อม ควรเก็บภาษีจากโครงการขนาดใหญ่มาให้กับกลุ่มคน หรือชุมชนที่เสียประโยชน์ด้วย

ขณะที่ นายนวพล คีรีรักษ์กุล เครือ ข่ายชนเผ่า จ.เชียงใหม่ รวบรวมข้อเสนอภายในกลุ่มมานำเสนอว่า ไม่เห็นด้วยกับกลไกตลาดที่นำมาใช้ในการจัดการป่า เนื่อง จากการจัดการทรัพยากรธรรม ชาติต้องให้อำนาจสิทธิกับชุมชน ควรปลดล็อกบางข้อบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการระบบโฉนดชุมชน และการให้สิทธิกับชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรม ชาติในชุมชน

จากนั้นไปทางเครือข่ายชาวบ้านต่างๆ จะรวบรวมข้อมูลให้กับคณะทำงานลดโลกร้อนอย่างเป็นธรรม ที่จัดตั้งขึ้นมาเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อเป็นตัวแทนนำข้อสรุปทั้งหมดที่ได้ยื่นต่อรัฐบาลและผู้แทน ที่เข้าร่วมเจรจาในการประชุม UNFCCC ในเดือนธันวาคมนี้

พร้อมทั้งยังรวบ รวมความเห็นในส่วน ของภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ที่จะ ได้หลังจากเชิญให้ร่วมรับฟังมุมมองจากภาคประชาชน ในการจัดการลดก๊าซเรือนกระจกที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายน

น.ส.เพ็ญศรี สรุปว่า การยื่นหนังสือต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง หรือผู้แทนการเจรจาในเวที UNFCCC เพื่อต้องการกระตุ้นให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบ และเปิดกว้างรับฟังความเห็นในภาคประชาชนเท่านั้น ไม่ได้คาดหวังจะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงระหว่างประเทศ

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ คนไทยด้วยกันต้องรับฟังความเห็น และนำไปปรับให้เข้ากับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นส่วนหนึ่งของการลด ภาวะโลกร้อน และต้องเป็นธรรมกับกลุ่มชาวบ้านระดับล่างด้วย

หน้า 5
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน