บ.ซีแคนูไทยแลนด์ จำกัด บ้าน ร๊อคการ์เด้นท์ 125/461 บ้านทุ่งคา - บ้านสะปำ ต. รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076 528839 - 40 โทรสาร 076 258841 อีเมล์: info@seacanoe.net เว็บไซต์ http://www.seacanoe.net/ Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com / http://tham-manamai.blogspot.com / http://www.parent-youth.net/ http://www.tzuchithailand.org/ http://www.pdc.go.th/ http://www.presscouncil.or.th / http://thainetizen.org/ http://www.ictforall.org

"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

"หม้อหุงข้าว" รุ่นไหน หุงไว กินไฟน้อย : เรานำมาทดลองให้เห็นกันจะจะ



 

วันที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เวลา 08:26:19 น.  มติชนออนไลน์

"หม้อหุงข้าว" รุ่นไหน หุงไว กินไฟน้อย : เรานำมาทดลองให้เห็นกันจะจะ

หม้อหุงข้าวทั้ง 11 รุ่น 3 ขนาด ถูกนำมาทดลองให้เห็นกันจะจะ ทั้งในเรื่องการประหยัดไฟ-เวลา การกระจายความร้อน การเก็บความร้อน รวมถึงวัสดุที่ใช้ผลิต เพื่อให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น หากกำลังมองหาใบใหม่

"ฉลาดซื้อ" ได้หาตัวอย่างหม้อหุงข้าว ที่มีราคาตั้งแต่ 459 - 1,830 บาท แบ่งตามขนาดบรรจุ มาหลายยี่ห้อ ดังนี้

1.หม้อหุงข้าว ขนาด 1 ลิตร     : TOSHIBA รุ่น RC-T 10 AFS (WS), SHARP รุ่น KS-11ET และ HITACHI รุ่น RZ-10 B
2.หม้อหุงข้าว ขนาด 1.5 ลิตร  : PHILIPS รุ่น HD 4733
3.หม้อหุงข้าว ขนาด 1.8 ลิตร  : OTTO รุ่น CR-180 T, MITSUMARU รุ่น AP-618, KASHIWA รุ่น RC-180, TOMEX รุ่น TRC-KR 80, IMAFLEX รุ่น LP-919 A, SKG รุ่น SK-18 F และ PANASONIC รุ่น SR-TEG 18 A

ในการทดสอบครั้งนี้ จะพิจารณาการหุงข้าวเต็มหม้อและการอุ่น โดยหม้อขนาดบรรจุ 1.5 และ 1.8 ลิตร ใช้ข้าวสาร 10 ถ้วยตวง ส่วนหม้อขนาดบรรจุ 1 ลิตร ใช้ข้าวสาร 5 ถ้วยตวง จับเวลาตั้งแต่เมื่อเริ่มหุงจนข้าวสุก และปล่อยให้ข้าวระอุนาน 10 นาที จากนั้นจึงตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าของหม้อแต่ละรุ่น
 

ผลการทดสอบ : เวลาและพลังงานในการหุงข้าว

- หม้อหุงข้าวขนาด 1 ลิตร
พบว่า TOSHIBA รุ่น RC-T 10 AFS (WS) ใช้เวลาหุงน้อยที่สุด 22 นาทีและใช้พลังงานน้อยที่สุดเช่นกัน คือ 0.186 กิโลวัตต์ชั่วโมง ส่วน HITACHI รุ่น RZ-10 B และ SHARP รุ่น KS-11ET ใช้เวลาหุง 24 นาทีเท่ากัน และใช่พลังงานไฟฟ้าประมาณ 0.2 กิโลวัตต์ชั่วโมง

- หม้อหุงข้าวขนาด 1.5 และ 1.8 ลิตร
พบว่า หม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตรของ PHILIPS รุ่น HD 4733 ใช้เวลาหุงนานที่สุด เมื่อเทียบกับหม้อหุงข้าวขนาด 1.8 ลิตร โดยใช้เวลานาน 35 นาที อย่างไรก็ตาม ยังใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุด คือ 0.265 กิโลวัตต์ชั่วโมง ส่วนหม้อขนาด 1.8 ลิตร PANASONIC รุ่น SR-TEG 18 A ใช้เวลาหุงน้อยที่สุดนาน 24 นาที และใช้พลังงานน้อยที่สุด คือ 0.266 กิโลวัตต์ชั่วโมง

จากการทดสอบพบว่า หม้อหุงข้าวทั้ง 11 รุ่น สามารถหุงข้าวได้สุกอย่างทั่วถึงและความนุ่มของข้าวไม่ต่างกัน
 

วัสดุและการเคลือบผิวหม้อ

- วัสดุ
เราสามารถแบ่งหม้อหุงข้าวด้านในเป็น 2 ประเภทตามวัสดุในการผลิต คือ 1.หม้อที่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) และ 2.หม้อที่ทำจากอลูมิเนียม เราพบว่าหม้อหุงข้าวที่นำมาทดสอบเกือบทุกรุ่น จะผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิม ยกเว้นหม้อของ HITACHI รุ่น RZ-10 B

คุณสมบัติของหม้อที่ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิม คือ มีผิวมันแวว ไม่เป็นสนิม เก็บความร้อนได้ดีและมีน้ำหนักมาก ขณะที่หม้อที่ผลิตจากอลูมิเนียม จะมีน้ำหนักเบากว่า ไม่เป็นสนิม ร้อนเร็ว แต่เก็บความร้อนได้ไม่ดีเท่า

- เคลือบผิวหม้อ
มักใช้วัสดุที่เรียกว่า "เทฟลอน" ซึ่งที่จริงแล้วเป็นสารเคมีสังเคราะห์ประเภทหนึ่ง มีคุณสมบัติในการเคลือบผิว ป้องกันการเกาะติดแน่นของตะกรันและข้าว ทนความร้อนและสารเคมี บางครั้งอาจมีการเติมส่วมผสมประเภท "เซรามิค" ลงไปด้วย เพื่อเพิ่มความแข็งแรง หรืออาจมีการเติมวัสดุประเภท "บรอนซ์" เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการนำความร้อน

ข้อควรระวังในการใช้งานของเทฟลอน คือ ไม่ควรเสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้จนทำให้หม้อมีอุณหภูมิสูง เพราะวัสดุเทฟลอนสามารถปล่อยไอระเหยที่เป็นพิษออกมาได้ หากเจออุณหภูมิสูงกว่า 360 องศาเซลเซียส โดยสารพิษดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการเหมือนเป็น "โรคไข้หวัดใหญ่" (Teflon Fever) อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบเราไม่พบว่า หม้อหุงข้าวตัวอย่างให้ความร้อนสูงกว่า 360 องศาเซลเซียส

จากการทดสอบด้วย "ครีมเทียม" พบว่า หม้อที่ไม่เคลือบด้วยเทฟลอน ครีมเทียมที่ไหม้ติดก้นหม้อจะทำความสะอาดยาก เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหม้อเทฟลอน จะทำความสะอาดได้ง่ายกว่า
 

อุณหภูมิสูงสุด - การกระจายความร้อน

การกระจายความร้อนของหม้อที่ดีนั้น ต้องมีความสม่ำเสมอและไม่กระจุกอยู่จุดเดียว เพราะอาจทำให้ข้าวบริเวณดังกล่าวไหม้ได้ จากการทดสอบโดยใช้ครีมเทียมและให้ความร้อนหม้อหุงข้าวจนหุงเสร็จ พบว่า หม้อหุงข้าว OTTO, MITSUMARU, KASHIWA, TOMEX, IMAFLEX, SKG, PANASONIC และ SHARP มีการกระจายความร้อนอย่างสม่ำเสมอและร้อนเร็วที่สุด เมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่น และเมื่อวัดอุณหภูมิที่ก้นหม้อ จะได้ค่าอุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่ 170 - 290 องศาเซลเซียส
 
ส่วนหม้อหุงข้าวที่กระจายความร้อนไม่สม่ำเสมอ คือ
PHILIPS รุ่น HD 4733 และ TOSHIBA ส่วนหม้อหุงข้าวที่กระจายความร้อนช้า คือ HITACHI รุ่น RZ-10 B อุณหภูมิที่วัดได้ คือ 150 องศาเซลเซียส

ติดตามอ่านบทความดีๆ จากนิตยสาร "ฉลาดซื้อ" ได้ที่หมวด คอลัมน์พิเศษ
 

*****************
 
ที่มา นิตยสาร "ฉลาดซื้อ" ฉบับที่ 97  เขียนโดย เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค
(ติดต่อ "ฉลาดซื้อ" ได้ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 4/2 ซ.วัฒนโยธิน แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2248-3734-7 โทรสาร 0-2248-3733 อีเมล webmaster@consumerthai.org)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1241227883&grpid=01&catid=02


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com

รายการบล็อกของฉัน